P-E-O-P-L-E Framework แค่พลิกวิธีคิด & คุย การงานก็โตระเบิดแล้ว

ปัญหาเรื่องคนเป็นอะไรที่ปวดหัว ปวดใจ และอาจรุนแรงกว่าปัญหาเรื่องงานด้วยซ้ำ โดยหนึ่งในปัญหาคลาสสิคคือการ “สื่อสาร” ที่ไร้ประสิทธิภาพ
  • หัวหน้าไม่มีศาสตร์และศิลป์ในการตำหนิผลงานลูกน้อง ทำให้ลูกน้องไม่มีกำลังใจ เกิดการผิดใจกัน ไม่ Trust กัน ปวดหัวกับการทำงานยิ่งขึ้นไปอีก

 

  • ในมุมกลับกัน ลูกน้องไม่กล้าวิจารณ์หัวหน้า เมื่อหัวเรือเสีย ทุกอย่างบนเรือก็พังตาม 

 

  • หรือความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร ทำให้การส่งงานดีเลย์ ลูกค้าต่อว่า จนไปถึงไม่ต่อสัญญา

 

ทุกวันนี้หัวหน้างานคนไหนที่เก่งด้านการสื่อสารจึงมีแนวโน้มจะเติบโตในหน้าที่การงานได้มากกว่า แก้ปัญหาให้ทีมได้ดีกว่า ทำให้ทุกคนทำงานอย่างมีความสุขได้มากกว่า

 

แต่การสื่อสารให้เก่งเป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่อาจทำค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม มีอยู่เฟรมเวิร์คหนึ่งที่ช่วยจัดระเบียบความคิดให้หัวหน้าสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับพนักงานทุกระดับในองค์กรได้ 

 

เฟรมเวิร์คนั้นเรียกว่า P-E-O-P-L-E Framework

 

P-E-O-P-L-E Framework มีอะไรบ้าง?

 

P-E-O-P-L-E Framework ประกอบด้วย 6 คีย์เวิร์ดเป็นแก่นคิดให้เราใช้ในการสื่อสารได้อย่างทรงพลัง ประกอบด้วย

 

P – People Oriented

 

อันดับแรกเลย เราต้องเข้าใจก่อนว่า เราไม่ได้กำลังคุยกับหุ่นยนต์ แต่กำลังดีลกับมนุษย์คนเป็นๆ ที่มีหัวใจ มีอารมณ์ มีความเซนซิทีฟ หรืออาจมีปัญหาส่วนตัวของเค้า ณ ตอนนั้นรายล้อมชีวิตอยู่

 

เวลาคุยงานอะไรกัน เราไม่ได้เอาแค่ผลลัพธ์เป็นที่ตั้งปลายทางเสมอไป แต่บางทีเราต้องชนะใจอีกฝ่ายเสียก่อน ต้องเกิดการ “ซื้อใจ” กันก่อนบ้าง เค้าถึงค่อยซื้อสินค้าบริการเรา

 

เนื้อหาข้อความที่คุณส่งไป จึงไม่ใข่แค่ตัวอักษรบนหน้าจอ หรือคำพูดคำจา แต่มันต้องรวมถึงประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทุกอย่างที่อีกฝ่ายสัมผัสได้ 

 

  • เช่น คุณอาจจำเป็นต้องตามงานลูกน้องในในขณะที่เค้างานล้นจนเกือบจะ Burnout แต่ถ้าคุณพูดด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน แววตาที่คอยเป็นห่วงอย่างเข้าใจ ย่อมให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าจี้ตามงานแบบปกติแน่นอน

 

นอกากนี้ P ตัวแรกนี้ยังเตือนสติคนส่งสารเองว่า “อย่าลืมความเป็นคน” ในตัวคุณเอง เราอยากให้คนอื่นปฏิบัติดีๆ กับเรา เราก็ต้องทำดีกับอีกฝ่ายด้วย

 

E – Empathy

 

บางองค์กรยก Empathy ขึ้นมาก่อนใครเพื่อน เพราะ P ตัวแรกเมื่อกี้จะได้ผล ต้องมี E ตัวนี้นำมาก่อน มองว่าการจะเข้าใจปัญหาได้ ต้องเข้าใจบริบทคนๆ นั้นซะก่อน วลีคลาสสิคอย่าง “เอาใจเขามาใส่ใจ” เรายังคงใช้ได้เสมอ

 

Empathy เป็นการพยายามเอาตัวคุณเองไปอยู่ในสถานการณ์ของอีกฝ่าย และต้องสังเกตสิ่งที่อีกฝ่ายไม่ได้พูดออกมาด้วย เริ่มได้ง่ายๆ ด้วยการทำ Deep listening เปิดอกเปิดใจรับฟังอีกฝ่ายโดยไม่รีบด่วนตัดสิน

 

  • เช่น คุณเห็นลูกน้องในทีมคนหนึ่งที่ปกติทำงานดีมาตลอด แต่จู่ๆ กลับเริ่มมาสาย ส่งงานผิด และเหม่อลอยในเวลางานบ่อยครั้ง หัวหน้าที่มี Empathy จะไม่รีบกระโดดไปด่าว่า แต่จะหาเวลาคุยแบบส่วนตัว บางทีสาเหตุมาจากชีวิตส่วนตัวอย่าง “แมวที่บ้านพึ่งตาย” จะเห็นว่าเรื่องนี้กระทบจิตใจคนเราไม่น้อย หัวหน้าที่มี Empathy จะให้เวลาทำใจ และอาจยื่นมือลงไปช่วยทำงานเลยด้วยซ้ำ  

 

O – Open Mind

 

เป็นการเปิดใจรับฟัง ไม่ใช่แค่ให้อีกฝ่ายมีโอกาสได้พูดกับเรา แต่หมายถึงตัวเราเองต้องรับฟังอย่างไร้อคติ ไม่มีอีโก้ ไม่ด่วนตัดสิน วางสิ่งที่ตัวเองรู้ลงไปก่อน และเปิดใจฟังมุมมองอีกฝ่าย

 

ถ้าเกิดเรามีการปักธงในใจ รอให้อีกฝ่ายพูดจบแล้วตัวเองค่อยพูดในสิ่งที่อยากพูด…นี่ไม่ใช่ Open Mind

 

อย่างไรก็ตาม หัวหน้างานที่ผ่านประสบการณ์มาเยอะ อาจเจออุปสรรคในการทำ Open Mind ไม่น้อยเพราะประสบการณ์ค้ำคออยู่ เทคนิคคือลองคิดให้ตัวเองย้อนวัยกลับไปสมัยเป็นเด็กจบใหม่ และรับฟังพี่ๆ ผู้ใหญ่ทั้งหลายด้วยหัวสมองที่เปิดโล่งสดใหม่ นอกจากจะเปิดใจมากขึ้นแล้ว ยังอาจได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่มองข้ามมาตลอด

 

P – Positive

 

อันที่จริง การสื่อสารที่นำไปสู่พฤติกรรมที่คาดหวังเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเชิงลบและเชิงบวก เพียงแต่ในระยะยาว เชิงลบอาจนำไปสู่ภาวะ Toxic และความเครียดในที่ทำงาน ขณะที่เชิงบวก มักมีความสร้างสรรค์ กระตุ้นแรงบันดาลใจให้กับทีมมากกว่า (ต้องไม่ลืมว่าแต่ละคนมีความอ่อนไหวต่อคำพูดคำจาต่างกัน) 

 

ตัวอย่างเวลาหัวหน้าฟีดแบคผลงานลูกน้องที่มีข้อตำหนิ เช่น

 

  • เชิงลบ – “นี่น้องทำงานแบบนี้ออกมาได้ยังไง ใช้อะไรคิดกันเนี่ย”
  • เชิงบวก – “พี่รู้ว่าเราทำได้ดีกว่านี้แน่นอน ลองเอากลับไปแก้มาใหม่นะ”

 

เราจะเห็นว่าการพูดเชิงบวก กระตุ้นแรงบันดาลใจ จุดประกายความฮึกเหิม แถมยังรักษาน้ำใจกันและกันไว้ได้อยู่

 

L – Listen Actively 

 

ฟังแบบเชิงลึก ฟังแบบจด ฟังแบบตั้งคำถามต่อยอด คนพูดจะสัมผัสได้ว่าคนฟังอยู่กับเรา ณ ปัจจุบันตลอด ไม่มีเล่นมือถือ ไม่เปลี่ยนประเด็นไปมา

 

Active listening จะไม่ได้ฟังคำที่อีกฝ่ายพูดออกมาอย่างเดียว แต่ฟังและสังเกตภาษากายด้วย เช่น แววตาที่มีวิสัยสทัศน์ การชี้ไม้ชี้มือที่มั่นใจ 

 

สิ่งสำคัญและมาควบคู่กันคือ การฟังแบบ Active listening จำเป็นต้องใช้ สติ & สมาธิ สูงมากๆ การเตรียมร่างกายล่วงหน้าก่อนรับฟังจึงสำคัญไม่น้อย

 

หัวหน้างานที่สามารถรับฟังแบบนี้ได้ดี สามารถพัฒนาไปสู่การศาสตร์การ Coaching ลูกน้องได้เลยทีเดียว

 

E – Engage

 

สร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกทีม นำไปสู่ความผูกพันและ Trust ไว้เนื้อเช่อใจกัน  

 

Engage เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดด้วยการลงมือทำทันที เช่น 

 

  • ลูกน้องฟีดแบคว่าขั้นตอนการทำงานมี Hierarchy มากเกินไป ใช้เวลาเยอะ ไม่ทันกิน คุณจึงนัดประชุมเหล่าผู้บริหารทั้งหมดให้เร็วที่สุดทันที 

 

  • เด็กจบใหม่เสนอไอเดียให้ลองใช้ AI อย่าง Midjourney ในการทำรูปภาพ Mockup เสนอลูกค้า หัวหน้าแบบคุณจึงเรียกประชุมทีม และให้เด็กจบใหม่คนนั้นได้สาธิตวิธีใช้แก่ทุกคนในทีม

 

ทำไมต้องทำ P-E-O-P-L-E Framework?

 

เราจะเห็นว่า P-E-O-P-L-E Framework ไม่ใช่สูตรลับเฉพาะ ไม่ใช่เคล็ดลับที่มีความแฟนซี แต่มันให้ความสำคัญย้อนกลับไปที่พื้นฐานสำคัญของการสื่อสารระหว่างคนด้วยกัน




มีความเรียบง่าย จำง่าย มีชื่อที่ทุกฝ่ายเข้าใจได้ในตัวมันเองเวลานำไปใช้ในทีทมสเกลใหญ่ และที่สำคัญ เป็นการสื่อสารอันทรงพลังที่ให้ผลลัพธ์แบบ Win-Win หลีกเลี่ยงข้อบาดหมางโดยไม่จำเป็น ประสานรอยร้าว พร้อมทำให้ทีมโตไปข้างหน้าอย่างสตรอง!

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 38