“เมอร์เซอร์” เผยรายงานเทรนด์ตลาดพนักงานที่มีศักยภาพสูงทั่วโลกในปี 2566 พบว่านายจ้างในประเทศไทยเดินหน้าเรื่องแผนงานการสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน แต่ยังขาดการดูแลสวัสดิภาพและทักษะของพนักงาน

  • ผู้บริหารสายงานทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของพนักงานแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงการดูแลด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของพนักงาน
  • นอกเหนือจากการบ่งชี้ปัญหาช่องว่างทางทักษะของพนักงานแล้ว บริษัทควรมีแผนงานในการเสริมสร้างทักษะความสามารถที่เหมาะสมให้กับพนักงาน

วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566 (ประเทศไทย) — 6 ใน 10 ของผู้บริหารในภาพรวมคาดการณ์ว่า แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังไม่สดใสมากนัก แต่องค์กรของตนเองจะสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงหรือมีการเติบโตที่ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ดีหากคำนึงถึงแผนธุรกิจสำหรับในปีนี้ ผู้บริหารส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียยังคงมีความกังวลในเรื่องต้นทุนของการลงทุนและหนี้สินของบริษัท และภาวะตลาดแรงงานที่ตึงตัว อันมีผลต่อการแข่งขันเพื่อดึงดูดพนักงานที่มีทักษะและความสามารถโดดเด่น และจากรายงานแนวโน้มตลาดแรงงานที่มีทักษะศักยภาพสูงทั่วโลกในปี 2566 ซึ่งจัดทำโดยเมอร์เซอร์ (Global Talent Trends (GTT) Study 2023) ได้สำรวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร โดยมีผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลประมาณ 2,500 คนทั่วโลกเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม และพบว่าผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกับทิศทางในภาพรวมของรายงานเช่นกัน

ทั้งนี้ ผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลเกือบ 100 บริษัทที่เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ พบว่าประมาณ 47% มีความกังวลเกี่ยวกับภาวะการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถและทักษะที่องค์กรต้องการในอนาคต และ 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจ มีความเห็นว่า พนักงานมีภาระหน้าที่ที่อาจจะต้องรับผิดชอบมากเกินไปจนทำให้พนักงานไม่มีสมาธิมากพอในการบริหารจัดการในแต่ละชิ้นงาน และ 38% กล่าวว่า องค์กรจำเป็นต้องสร้างความสมดุลระหว่างแผนงานการปรับเปลี่ยนขององค์กรไปพร้อม ๆ กับการสร้างกระบวนการทางความคิดในเชิงบวกของพนักงาน เพื่อให้องค์สามารถเดินหน้าต่อไปได้

รายงานฉบับนี้ ได้มีการเปิดเผยการออกแบบการทำงานในรูปแบบใหม่และการสร้างบรรยากาศสถานที่ทำงานขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ  ที่สอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ และยังมีการระบุแนวโน้มที่เกี่ยวกับบุคลากรที่มีความสามารถในมิติต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการนำพาองค์กรให้สามารถเติบโตในสภาพแวดล้อมการงานแบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยผลสรุปของรายงานหลัก ๆ ในปีนี้ ได้แสดงถึงความจำเป็นที่นายจ้างในประเทศไทย จะต้องสร้างวิถีการทำงานในรูปแบบใหม่ให้แก่พนักงาน และมุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในการสร้างทักษะของพนักงาน เพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานต่อไป

การทำงานที่เสมือนเป็นหุ้นส่วนกับพนักงาน : ผ่านระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นและผลตอบแทนที่ดีแก่พนักงาน 

ประมาณ 7 ใน 10 ของพนักงานกล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา[1] องค์กรที่ไม่มีความยืดหยุ่นให้พนักงานทำงานที่ใดก็ได้หรือไม่มีนโยบายการปฏิบัติงานในรูปแบบกึ่งออนไลน์อย่างเป็นการถาวร จะเป็นปัจจัยชี้ขาดของพนักงานว่าจะร่วมงานหรืออยู่ทำงานต่อที่องค์กรนั้น ๆ โดยในประเทศไทย จากผลสำรวจพบว่า นายจ้างประมาณ 61% ที่เข้าร่วมการสำรวจ ได้ให้ทางเลือกการทำงานแบบยืดหยุ่นแก่พนักงานในระดับต่าง ๆ  ซึ่งสะท้อนในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของนายจ้างภูมิภาคเอเชียซึ่งอยู่ที่ 50% และสูงค่าเฉลี่ยของภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกที่ระดับ 56% อีกด้วย อย่างไรก็ดี มีการแนะนำว่า ควรจะผลักดันให้นายจ้างในส่วนที่ยังไม่ปรับปรุงระบบการทำงาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานแบบยืดหยุ่นเพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้กับองค์กรต่อไป

ทั้งนี้ ในด้านการรองรับผลกระทบจากเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น นายจ้างในประเทศไทยประมาณ 27% ที่เข้าร่วมตอบแบบผลสำรวจ (ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยจากการสำรวจในจ้างทั้งภูมิภาคเอเชีย) มีการปรับเพิ่มค่าตอบแทนให้แก่พนักงานที่ได้รับเงินเดือนน้อยกว่าค่ากลางของตลาด นอกจากนั้น ยังมีองค์กรธุรกิจในประเทศไทยกว่า 30% ที่ตอบแบบสำรวจ (ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่ระดับ 22%) มีการปรับเพิ่มเฉพาะในส่วนของเงินทดแทนค่าใช้จ่ายในการยังชีพ หรือเพิ่มค่าจ้างในส่วนอื่น ๆ ซึ่งนับเป็นการบริหารจัดการค่าตอบแทนขององค์กรที่ยั่งยืนกว่า

ส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดีในองค์รวมแก่พนักงาน: มุ่งเน้นสวัสดิการที่มีความหมายอย่างแท้จริง 

องค์กรต่าง ๆ ต้องสร้างความแตกต่างที่นอกเหนือจากการมีนโยบายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ แต่ต้องให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในองค์รวมด้วย ซึ่งรวมถึงด้านกายภาพ ด้านจิตใจ ความเป็นอยู่ที่ดีทั้งด้านสังคมและการเงิน โดยจากผลสำรวจของเมอร์เซอร์พบว่า 9 ใน 10 ขององค์กรในประเทศไทย กำลังมุ่งเน้นที่จะให้สวัสดิการแก่พนักงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และเพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรและพนักงานให้ดีขึ้นในปี 2566 โดยเห็นได้ว่าองค์กรจำนวน 48% มีแผนงานที่จะปรับปรุงการสวัสดิการพนักงานให้ดีขึ้นในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของนายจ้างในภูมิภาคเอเชียที่ระดับ 40% อย่างไรก็ดี ในด้านการดูแลพนักงานที่ไม่ได้มีสถานะเป็นพนักงานประจำ ประมาณ 46% ขององค์การที่ตอบแบบสำรวจ ยังไม่พิจารณาแผนงานสร้างความมั่นคงในหน้าที่การงานให้แก่พนักงานรับจ้างชั่วคราว ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชีย

 

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของนายจ้างในประเทศไทยในด้านการให้ความช่วยเหลือพนักงานเมื่อเกิดวิกฤตเหตุการณ์ต่าง ๆ ยังคงตามหลังทวีปเอเชียในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านสุขภาพจิต ซึ่งมีองค์กรเป็นจำนวนเพียง 13% ที่มีกลไกช่วยเหลือพนักงานในการบริหารจัดการวิกฤตที่มาจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนายจ้างในภูมิภาคเอเชียที่มีค่าเฉลี่ยในระดับ 21% นอกจากนี้ จากผลสำรวจ ฯ มีองค์กรประมาณ 23% ในประเทศไทย ที่สามารถให้พนักงานเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตผ่านระบบออนไลน์ได้ตามความประสงค์ของพนักงาน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่อยู่ที่ระดับ 26%

 

การเสริมสร้างขีดความสามารถของพนักงาน: จากความเข้าใจในทักษะที่มี สู่การการสร้างทักษะให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน

อีกหนึ่งความท้าทายที่นายจ้างในประเทศไทยต้องเผชิญในแง่ของการพัฒนา คือการทำให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยทักษะ (ให้ทักษะเป็นศูนย์กลาง) โดยนายจ้างจำนวน 60% เทียบกับค่าเฉลี่ยของเอเชียที่ 56% มีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถโดดเด่นในองค์กร แต่ผู้บริหารสายงานทรัพยากรบุคคลอาจจะยังไม่สามารถพัฒนาและสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถได้ตามแผนงานที่วางไว้ได้ ซึ่งมีเพียงประมาณ 3 ใน 10 ของนายจ้างไทยที่มีหน่วยงานที่สรรหาบุคลากรที่มีความสามารถภายในองค์กรเทียบกับ 40% ในเอเชีย และมีนายจ้างเพียงประมาณ 33% เท่านั้นที่สนับสนุนให้พนักงานเข้ารับการฝึกอบรมทักษะตามความประสงค์ของพนักงานเพื่อพัฒนาอาชีพการงาน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 60% ของนายจ้างในภูมิภาคเอเชีย

ในด้านของการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อวัดและประเมินทักษะของพนักงานในองค์กร บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยยังคงตามหลังค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียในภาพรวมเช่นกัน โดยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเอเชียที่ 41% มีนายจ้างไทยเพียง 22 % เท่านั้น ที่ใช้แพลตฟอร์มข้อมูลด้านบุคลากรที่ขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ และมีเพียง 43% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 53% ของเอเชียที่ใช้เครื่องมือการวัดเชิงจิตวิทยาเพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากร

นายจักรชัย บุญยะวัตร ประธานและกรรมการ บริษัท เมอร์เซอร์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ผมมีความดีใจที่ได้เห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นของนายจ้างในบ้านเรา เริ่มมีการพิจารณาหาวิถีการทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องและสนองตอบกับความต้องการของพนักงานที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ รูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นในมิติต่าง ๆ ได้ถูกนำมาใช้ในหลายองค์กรอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพัฒนาในภาพรวมเท่านั้น เรายังให้คำแนะนำแก่นายจ้าง พิจารณาให้ความสำคัญในการสร้างประสบการณ์โดยรวมของพนักงาน โดยลดความเหนื่อยล้าจากการทำงานของพนักงาน และพยายามออกแบบรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ โดยอาจจะเริ่มต้นจาก พื้นฐานความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานเป็นสำคัญ นอกจากนั้น ผู้บริหารสายงานด้านทรัพยากรบุคคล ควรมีแนวคิดในเชิงรุกในการเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเพิ่มพูนทักษะของพนักงาน โดยลงทุนในการพัฒนา สร้างเสริม และการเปลี่ยนแปลงทักษะของบุคลากรให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา”

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 38