ข้อดีของการทำงานที่ไหนก็ได้ ทักษะการเป็นผู้นำที่ได้จากการท่องเที่ยว

ในปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากนิยมท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ เรียนรู้ที่จะสื่อสารกับคนที่พูดคนละภาษา เรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย จาการศึกษาของบริษัท Brightspark Travel พบว่า 94% ของผู้นำชาวอเมริกัน ต่างเห็นด้วยว่า “การท่องเที่ยวช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ให้แก่พวกเขาในที่ทำงาน” เพราะพวกเขาได้นำทักษะการเป็นผู้นำต่างๆที่ได้เรียนรู้ในระหว่างการท่องเที่ยว มาใช้ในการทำงาน

Matt Wilson ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Under30.com เว็บไซต์ที่ช่วยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้ประสบความสำเร็จด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆกล่าวว่า ทักษะการเป็นผู้นำที่เขาใช้บริหารงานทุกวันนี้ ได้มาจากประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ประเทศไทย และการได้นำทีมไปเที่ยวที่ Florida ในฐานะหัวหน้ากลุ่มองค์กรลูกเสือแห่งอเมริกา (Boy Scouts of America) 

นอกจากนี้ ในหลายประเทศฝั่งตะวันตก เด็กๆที่จบมัธยมนิยมใช้เวลา 1 ปี (Gap Year) ในการท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ ทดลองทำกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบและสนใจ รวมถึงเรียนรู้ทักษะต่างๆ ก่อนจะเข้ามหาลัย

การท่องเที่ยวต่างประเทศช่วยเพิ่มทักษะที่สำคัญ ที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในหน้าที่การทำงาน 

84% ของผู้ตอบแบบสำรวจของ American Gap Association

เรามาดูกันว่าทักษะการเป็นผู้นำอะไรบ้าง ที่เราได้จากการท่องเที่ยว 

 

ทักษะที่ 1 : การสื่อสาร

การสื่อสารในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการสื่อสารโดยการใช้ภาษาพูด (Verbal Communication) เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการสื่อสารทุกชนิด เมื่อเราต้องเดินทางไปในประเทศที่เราไม่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้ การพยายามสื่อสารกับผู้คนที่นั่นโดยใช้ภาษากาย (Body Language) การทายคำศัพท์ต่างๆที่เขาต้องการจะสื่อ จะช่วยเพิ่มทักษะในการสื่อสารของเรา หรืออาจจะทำให้เราได้เรียนรู้ภาษาใหม่ๆก็เป็นได้

ทักษะในการสื่อสารนี้ จะช่วยให้เรามีความสามารถในการสื่อสารกับคนจากหลากหลายวัฒนธรรม สามารถประสานงานกับเพื่อนร่วมงานต่างชาติได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงโอกาสในการร่วมงานกับบริษัทข้ามชาติ (Global Company) ที่รวบรวมผู้คนจากทั่วโลก

 

ทักษะที่ 2 : การทำงานเป็นทีม

ทักษะการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตการทำงาน ในขณะท่องเที่ยว เราจะได้เรียนรู้ทักษะต่างๆเพื่อที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆในทีมระหว่างการเดินทาง เช่น การประนีประนอม การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การร่วมด้วยช่วยกัน และการเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ

 

ทักษะที่ 3 : การเปิดรับวัฒนธรรมที่หลากหลาย

การท่องเที่ยวช่วยให้คุณเรียนรู้วัฒนธรรมที่หลากหลาย ระเบียบกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมของสังคม (Social Norms) ที่ต่างออกไป เมื่อคุณเข้าไปทำงานในบริษัทที่รวบรวมผู้คนจากทั่วโลก เราจะมีทักษะในการเปิดรับความแตกต่างนี้ และสามารถทำงานร่วมกับทุกคนได้เป็นอย่างดี 

Sabrina Cendral ผู้บริหาร Club Med Resort รีสอร์ตที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก กล่าวว่าการท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดและวัฒนธรรมใหม่ๆ ช่วยให้เราเปิดรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม เปิดรับมุมมองใหม่ๆ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้คน ที่มีความแตกต่างกัน

 

ทักษะที่ 4 : คิดนอกกรอบ

การได้ไปเที่ยว และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ทำให้เห็นโอกาสใหม่ๆในการทำงาน 

Wilson ผู้ก่อตั้งบริษัท Under30.com

การท่องเที่ยวช่วยให้เราเรียนรู้ที่จะคิดนอกกรอบ (Think outside the box) กล้าที่จะคิดต่างจากเดิม

G Adventures
บริษัทที่เชื่อว่า การได้ท่องเที่ยวทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ มากกว่าการให้พนักงานนั่งทำงานในออฟฟิศที่มีผนังล้อมรอบ

บริษัทท่องเที่ยว G Adventures ซึ่งก่อตั้งโดย Bruce Poon Tip ออกเงินให้พนักงานไปเที่ยวฟรีที่ไหนก็ได้ทั่วโลก ปีละหนึ่งครั้ง และจากการสนับสนุนพนักงานให้ไปเที่ยวนี้ พนักงานจึงเกิดความคิด ในการออกแบบ Local Living Program การท่องเที่ยวที่พาลูกค้าไปสัมผัสการใช้ชีวิตในฟาร์มที่ประเทศอิตาลี ชิลี หรือ สัมผัสการใช้ชีวิตของชนเผ่าเร่ร่อนในมองโกเลีย (Mongolia Nomad) ซึ่งโครงการนี้เป็นที่ชื่นชอบเป็นอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยว

ทักษะที่ 5 : การตัดสินใจ

ในขณะที่ท่องเที่ยว ทักษะการตัดสินใจจำเป็นต้องถูกนำมาใช้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเลือกที่จะพักโรงแรมไหน ไปเที่ยวสถานที่ไหนบ้าง เดินทางด้วยรถยนต์ หรือรถประจำทาง ในการตัดสินใจสิ่งเหล่านี้ เราต้องมีการเปรียบเทียบระหว่างข้อดี และข้อเสีย รวมถึงมองเห็นถึงผลลัพธ์ในการตัดสินใจนั้นๆ ซึ่งทักษะเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งในการเป็นผู้นำในองค์กร

 

ทักษะที่ 6 : การบริหารเวลา

การบริหารเวลาที่ไม่ดีอาจจะทำให้เราตกรถไฟ พลาดที่จะไปสถานที่สำคัญบางที่ ดังนั้น ในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง เราจะต้องวางแผนตารางของเราให้ดี ควรออกจากโรงแรมในตอนเช้ากี่โมง เผื่อเวลาในการเดินขึ้นรถบัสกี่นาที รายละเอียดเล็กๆเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มทักษะการบริหารเวลาของเรา และทำให้งานของเราไม่ผิดพลาด และสำเร็จลุล่วงไปได้

 

ทักษะที่ 7 : ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น

ในการเดินทาง มักจะมีสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเสมอ เช่น รถไฟไม่สามารถวิ่งได้เนื่องจากหิมะถล่ม รถเสียระหว่างทาง เพื่อนป่วยเพราะกินอาหารที่ไม่คุ้นเคย สิ่งเหล่านี้ทำให้การเดินทางอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนบ้าง เช่น ตัดสถานที่ท่องเที่ยวบางที่ที่ไม่น่าสนใจออก เพื่อที่จะสามารถไปขึ้นรถไฟให้ทัน ทักษะในการเรียนรู้ที่จะปรับตัวและยืดหยุ่นเมื่อเกิดปัญหา ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะบางอย่างเราก็ไม่สามารถควบคุมได้ และคิดแผนสำรองขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้น เป็นทักษะการเป็นผู้นำที่สำคัญ ที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ในการทำงาน

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 38