10 เหตุผล ทำไมการทำงานหนักมากจนเกินไป ถึงทำให้ชีวิตของคู่รักพังลง

หลายคนอาจจะมองว่าการทำงานหนักจะช่วยเรื่องการเติบโตของตนเอง ช่วยให้ได้พัฒนาความรู้และทักษะการทำงาน จะว่าไปมันก็มีข้อดีหลายอย่างแหละ แต่ถ้ามองถึงข้อเสียมันก็มีเช่นกัน แบบที่เห็นได้ชัดเลยอาจจะเป็นในเรื่องของการทำงานหนักมากเกินไปจนกระทบความสัมพันธ์กับคนรอบตัว ซึ่งมักจะเป็นปัญหาใหญ่โดยเฉพาะในชีวิตคู่

ในช่วงวัยทำงานสิ่งที่เราโฟกัสมีอยู่ไม่กี่อย่าง ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน การเงิน เพื่อนฝูง ไปจนถึงครอบครัวและคนรัก ซึ่งบอกเลยว่าถ้ามนุษย์งานบางคนแบ่งเวลาไม่ถูกต้อง หรือให้ความสำคัญกับอะไรบางอย่างมากไปจนกระทบกับสิ่งอื่น ๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องใหญ่ และเกิดปัญหาตามมาภายหลังได้

 

ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตการทำงาน คือการที่เราทำงานหนักจนลืมนึกถึงคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนฝูง ครอบครัว ไปจนถึงคนรัก ซึ่งหลายครั้งการที่เราให้ความสำคัญกับงานมากจนเกินไป จนลืมเรื่องการใช้ชีวิตของตนเอง และการให้เวลาคนรอบข้าง ก็เกิดเป็นปัญหาใหญ่ และนำไปสู่การทะเลาะกับคนรอบตัวได้

 

พึ่งผ่านวาเลนไทน์ไปได้ไม่นาน วันนี้ CareerVisa จึงอยากจะมาพูดถึง 10 เหตุผล ที่บ่งชี้ว่าการทำงานหนักมากจนเกินไป สามารถทำให้ชีวิตคู่ที่หวานชื่นของเราพังลงได้ มาลองดูกัน

 

[10 เหตุผล ทำไมการทำงานหนักมากจนเกินไป ถึงทำให้ชีวิตของคู่รักพังลง]

1) เราให้ความสำคัญกับงานมากที่สุดจนลืมคนข้าง ๆ : หลายครั้งเวลาไปเที่ยวกับคนรัก เราก็มักจะพกคอมไปทำงานด้วยเสมอ หรือเวลามีนัดกับคนรักหลายครั้งก็ต้องเบี้ยวนัดเพราะว่างานเข้ากะทันหัน หรือไม่สามารถวางงานตรงหน้าลงได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบกับความสัมพันธ์และก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตทั้งนั้น

 

2) เหนื่อยกับการทำงาน จนไม่อยากใช้เวลากับคนรัก : ให้ระวังว่าเราจะใช้พลังกับการทำงานเยอะมาก จนหมด จนทำให้เราเลือกที่จะพักมากกว่าทำกิจกรรมสานสัมพันธ์กับคนรอบตัว ซึ่งปัญหานี้ก็ถือเป็นปัญหาของการจัดความสำคัญ และจัดการเวลาเช่นเดียวกัน

 

3) พูดแต่เรื่องงานกับคนรัก : สิ่งน้ีสำคัญมาก บางทีคนข้าง ๆ ของเราก็อยากคุยเรื่องอื่น ๆ บ้าง หรือว่าคุยเรื่องที่ไม่เครียด ทำกิจกรรมอื่น ๆ แต่มีแต่เราที่เลือกที่จะพูดเรื่องงานหรือปรึกษาเรื่องงานกับคนรักอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะเกิดปัญหาการนำความเครียดมาสู่คนรักได้ และจบที่การเลิกราในที่สุด

 

4) ไม่ยอมฟังเรื่องของคนรัก : เพราะการทำงานมันเครียด เราเลยอยากเป็นฝ่ายพูด หรือเล่าให้คนรักของเราฟัง จนอาจจะลืมเรื่องของการฟัง หรือการคุยกันในเรื่องของคู่ของเราบ้าง ซึ่งการพูดแต่เรื่องของตนเองไม่ฟังเรื่องของคนรักของเรา ก็อาจจะทำให้คนรักของเราเบื่อ หรือว่ารู้สึกไม่ดีได้

 

5) ไม่ค่อยอดทนกับการอยู่ร่วมกับคนรอบตัว : ความเครียดจากงาน หรือการทำงานหนักจนเกินไป อาจจะทำให้อารมณ์ของเราไม่ค่อยมั่นคง เมื่ออยู่กับคนรักหรือคนรอบตัวก็อาจจะทำให้เราเป็นคนที่มีความอดทนต่ำ หรือว่าอารมณ์ร้อนใส่คนรอบตัว ซึ่งเป็นปัญหาที่ใหญ่มากเหมือนกัน

 

6) มักจะชวนทะเลาะเวลาไม่เห็นด้วย : บางทีการทำงานหนัก หรือการทำงานที่เราต้องทำงานกับคนอื่นมีการต่อล้อต่อเถียง หรือให้เหตุผลในความคิดของตัวเองตลอดเวลา สิ่งนี้อาจจะทำให้เราติดนิสัยมาใช้กับคนรักของเรา หลายครั้งเลยอาจจะทำให้เราชวนคนรักเราทะเลาะหรือเมื่อไม่พอใจในความคิดเห็น เราก็จะใส่อารมณ์ทันที

 

7) ไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต : การทำงานหนักหรือการคุ้นชินกับชีวิตที่เอื้อต่อการทำงานแล้ว ทำให้หลายครั้งถ้าคนรักเรานึกอยากจะทำอะไรใหม่ ๆ หรือเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิต เราจะรู้สึกไม่เห็นด้วย และมองว่ามันกระทบกับการทำงาน เช่น การย้ายที่อยู่อาศัย การแพลนเที่ยว เป็นต้น

 

8) ติดสังคมที่ทำงานมากกว่าจนลืมสังคมที่บ้าน : เมื่อทำงานหนักหลายครั้งเราก็จะหาเรื่องออกไปสังสรรค์หลังเลิกงานกับที่ทำงานเพื่อคลายเครียด หรืออาจจะรู้สึกสนิทกับที่ทำงานมากกว่าคนรักของตัวเอง และสบายใจที่จะใช้เวลากับเพื่อนร่วมงานมากกว่า ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่เราจะมีเวลาให้คนรักของเราน้อยลงได้

 

9) ลืมนึกถึงความรู้สึกของคนรัก : เพราะเราคิดถึงแต่เรื่องตัวเอง เรื่องงานและมองว่าเราเครียดมาก บางครั้งก็อาจจะลืมนึกถึงคนรักของตัวเอง หรือนึกถึงอารมณ์ความรู้สึกของเขา และมองข้ามมันไปแบบไม่ได้ตั้งใจ

 

10) ลืมวางแผนอนาคตกับคนรักของตัวเอง : การทำงานหนักทำให้เรานึกถึงตัวเองเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตในการทำงาน การพัฒนาตนเอง จนหลายครั้งอาจจะมองเรื่องแผนของชีวิตคู่ แผนการแต่งงาน การทำอะไรร่วมกัน และทำให้คู่ของเรารู้สึกไม่ดีก็เป็นได้

 

ไม่ผิดที่เราจะทำงานหนัก หรือว่าให้ความสำคัญกับการทำงานและพัฒนาตัวเอง แต่อย่าลืมว่าคนข้าง ๆ ของเราก็สำคัญเหมือนกัน อย่าลืมแบ่งความสำคัญในชีวิตของตัวเองให้ดี และให้เวลากับสิ่งต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน

 

อ้างอิง : https://www.businessinsider.com/signs-your-job-is-ruining-your-marriage-2016-3#spending-little-time-with-your-spouse-because-youre-always-busy-with-work-11

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 66