เปิดฟาร์มวิจัยและพัฒนาของสายพันธุ์มันฝรั่งของ Frito Lay ในโปรเจค People Behind the Brand จาก PepsiCo

ปีนี้ทาง PepsiCo มีแคมเปญที่จะพาเหล่ามนุษย์เงินเดือนไปรู้จักกับส่วนงานต่างๆภายในบริษัท ที่ไม่ได้มีแค่การสร้างแบรนด์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงตั้งแต่การเพาะปลูกมันฝรั่ง ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย และซัพพลายเชนอีกด้วย ภายใต้ชื่อโครงการว่า People Behind the Brand

CareerVisa เลยขอเลือกพาทุกคนมาดูงานในฟาร์มวิจัยและพัฒนาของสายพันธุ์มันฝรั่งของ Frito Lay ซึ่งถือเป็นโอกาสหายากมากๆในฐานะแฟนพันธุ์แท้ของมันฝรั่งเลย์ เราอยากรู้มานานว่า เบื้องหลังการทำงานจะเป็นอย่างไรกันบ้าง มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง โดยเฉพาะเนื้องานในสายวิทยาศาสตร์!

PepsiCo (ซึ่งจริงๆมีผลิตภัณฑ์หลายแบรนด์มากกว่าแค่น้ำเป๊ปซี่ และเลย์เป็นหนึ่งในนั้น) เปิดเผยว่า ส่วนงานภาคการเกษตร ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียนที่เป็นแหล่งคัดเลือกสายพันธุ์มันฝรั่งของ Frito Lay เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อให้ได้มันฝรั่งชั้นดี เพื่อออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ “เลย์ – ผลิตจากมันฝรั่งแท้” ที่ทุกคนชื่นชอบ

ก่อนจะมาเป็น “เลย์” มีวิธีการคัดมันฝรั่งอย่างไรบ้าง?

ผู้เชี่ยวชาญของ PepsiCo ให้ข้อมูลว่า “มันฝรั่ง” เป็นพืชเมืองหนาว ต้องการอากาศเย็นในการปลูก ถ้าอุณหภูมิเฉลี่ยสูงมากกว่า 25 องศาเซลเซียส จะทำให้มีการเจริญทางลำต้นอย่างรวดเร็วและมีการลงหัวน้อย ส่งผลให้ผลผลิตไม่ดี ยิ่งไปกว่านั้นมันฝรั่งเป็นพืชที่ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่งในการปลูก เนื่องจากมีโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญหลายชนิด เช่น โรคใบไหม้ โรคเหี่ยวเขียว โรคแข้งดำ โรคราเม็ดผักกาด โรคขี้กลาก โรคไวรัส ประเทศไทยของเราตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น พื้นที่ส่วนใหญ่มีภูมิอากาศที่ไม่อำนวยในการปลูกพืชเมืองหนาว แต่ก็ยังมีบางพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเช่นภาคเหนือ และพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่าระดับน้ำทะเล 700 เมตร ที่สามารถทำการเพาะปลูกพืชเมืองหนาวได้ รวมถึงมันฝรั่งด้วย ดังนั้น เพื่อให้การปลูกมันฝรั่งได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีสายพันธุ์มันฝรั่งที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ คือ ต้องเป็นสายพันธุ์เบา สามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 90 วัน ให้ผลผลิตสูงมีความต้านทานหรือทนต่อโรคและแมลง ทนต่อการเกิดตำหนิภายในหัวมันฝรั่งเมื่อเจอสภาพอากาศที่ร้อน เก็บเกี่ยวในห้องเย็นได้นานโดยค่าน้ำตาลในหัวมันไม่ขึ้น ให้เปอร์เซนต์แป้งสูง

กว่าจะมาเป็นสายพันธุ์มันฝรั่งของเลย์ได้ ต้องได้ครบ 3 ผ่าน

ในทุกปีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาของแผนกส่งเสริมการเกษตรจะทำการคัดเลือกสายพันธุ์มันฝรั่ง “ FL variety” จากส่วนงานปรับปรุงพันธุ์ในประเทศอเมริกา (FLNA: Frito-Lay North America) จำนวน 12-20 สายพันธุ์ เพื่อนำมาปลูกทดสอบในฟาร์มทดลองของเลย์ ประเทศไทย ซึ่งมีเนื้อที่กว่า 1,000 ไร่ หน่วยงาน R&D นี้จะทำการปลูกทดสอบสายพันธุ์มันฝรั่งต่างๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ปี ตามมาตรฐานการทดสอบสายพันธุ์ของ Frito Lay Global จนมั่นใจว่าได้สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติครบ 3 ผ่าน

  • ผ่านที่ 1 การประเมินในแปลง (ให้ผลผลิตสูง เปอร์เซ็นต์แป้งสูง ต้านทาน/ทนต่อศัตรูพืช ตำหนิในแปลงน้อย)
  • ผ่านที่ 2 การประเมินส่วนโรงงาน (ผลผลิตมีความเสียหายน้อย)
  • ผ่านที่ 3 การประเมินส่วนผู้บริโภค (อาทิ รูปทรง สี รสชาติ)

ภารกิจที่สำคัญที่ทีม R&D ของ PepsiCo ต้องดูแล

คือการทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ในการพัฒนาสายพันธุ์และการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งเข้าร่วมการพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบพันธุ์พืชใหม่ของมันฝรั่งกับสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร และในปี 2021 นี้จะเป็นปีแรกที่แผนกส่งเสริมการเกษตรทำการยื่นขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่จำนวน 5 สายพันธุ์ การพัฒนาสายพันธุ์มันฝรั่งนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะเพิ่มโอกาสให้การปลูกมันฝรั่งอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ด้วยสายพันธุ์ที่ดีนี้จะส่งผลให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่สูงขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่ดี

แล้วมันฝรั่งของเลย์ มาจากที่ไหนกันบ้าง?

  • 30% เป็นมันฝรั่งที่นำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศที่นำเข้าตามข้อกำหนดของรัฐบาลไทยเพื่อการแปรรูป ได้แก่ เยอรมัน จีน แคนาดา อเมริกา และออสเตรเลีย
  • 70% ของมันฝรั่งที่ป้อนเข้าโรงงานเป็นผลผลิตโดยเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน ตาก แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ สกลนคร และนครพนม

ด้วยข้อจำกัดของการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจากต่างประเทศทั้งในด้านราคา อายุทางสรีรวิทยาของหัวมันฝรั่ง ความไม่แน่นอนของคุณภาพหัวพันธุ์ที่เกิดจากระยะเวลานานในการขนส่งทางทะเล โครงการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งเพื่อใช้เองในประเทศไทยของเลย์ จึงได้เริ่มขึ้นในปี 2548 โดยกล่มผู้บุกเบิกสำคัญของส่วนงาน ส่งเสริมเกษตร ของประเทศไทย คือ ดร.ทรงยศ เรืองสกุลราช คุณชวาลา วงศ์ใหญ่ ร่วมกับเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญการปลูกมันฝรั่ง คุณบุญศรี ใจเป็ง โดยเริ่มแรกได้ผลิตจากหลักสิบตัน จนปัจจุบันสามารถผลิตได้เกือบ 5,000 ตันโดยมีการพัฒนารูปแบบและกระบวนการปลูกเพื่อให้ได้หัวพันธุ์ที่มีคุณภาพดีมาอย่างต่อเนื่อง

การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งของเกษตรกรที่อยู่ในระบบเกษตรพันธะสัญญาของเลย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และสกลนคร จะปลูกในฤดูหนาว ปลูกทันทีเมื่ออากาศเริ่มเย็นและสามารถเตรียมพื้นที่เพาะปลูกได้ ในปลายเดือนตุลาคม-ธันวาคม และเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ซึ่งต้องเก็บให้ทันก่อนเข้าฤดูร้อน เพื่อลดความเสียหายของผลผลิตและคุณภาพ

8 ขั้นตอนในการควบคุมคุณภาพหัวพันธุ์มันฝรั่งเลย์

พนักงานของ Pepsio ต้องพิถีพิถันทุกขั้นตอนในการควบคุมคุณภาพหัวพันธุ์มันฝรั่ง ตั้งแต่การตรวจสอบคุณภาพหัวพันธุ์ที่จะใช้ในการผลิตหัวพันธุ์รุ่นถัดไป การดูแลจัดการในแปลงปลูก การคัดเกรด ตลอดจนกระบวนการเก็บรักษาไปจนถึงการขนส่งให้ถึงมือเกษตรกรที่อยู่ในระบบเกษตรพันธสัญญาของเลย์ ได้ถูกวางระบบไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจาก

  1. พัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อที่ติดมากับหัวพันธุ์ เพื่อให้สามารถตรวจประเมินคุณภาพของหัวพันธุ์จากหลากหลายแปลงผลิตหัวพันธุ์ของเกษตรกรในประเทศและหัวพันธุ์จากต่างประเทศในระยะเวลาอันสั้น
  2. จัดตั้งห้องปฏิบัติการโรคพืชเบื้องต้น
  3. พัฒนาวิธีและรูปแบบการทดสอบคุณภาพหัวพันธุ์แบบ grow out test
  4. พัฒนารูปแบบการตรวจสุขอนามัยพืช (plant phytosanitary inspection) ในแปลงปลูกหัวพันธุ์มันฝรั่ง และทำการตรวจกับแปลงเกษตรผู้ผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งให้เลย์ 100%
  5. จัดทำฐานข้อมูลคุณภาพหัวพันธุ์อย่างครบวงจร
  6. จัดทำฐานข้อมูลการระบาดของโรคและแมลงในแปลงปลูกหัวพันธุ์เพื่อการจัดการพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืน
  7. พัฒนารูปแบบและวิธีการควบคุมโรคทางดินซึ่งเป็นปัญหาหลักใหญ่สำคัญในการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งของประเทศไทย ด้วยวิธีการใช้ชีวภัณฑ์อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักการการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management; IPM) ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นโครงการหนึ่งในความภาคภูมิใจเพราะเป็นโครงการที่เห็นผลทันทีในปีแรกที่ได้ปรับใช้ และทำให้เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้น เกษตรกรมีความมั่นใจและเชื่อมั่นกับเลย์ในการช่วยหาแนวทางและวิธีการในการจัดการกับปัญหา
  8. ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคในการปลูกให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ การดูแลควบคุมจัดการกับโรคและแมลงศัตรูพืช การการปลูกพืชหมุนเวียน การเกษตรอย่างยั่งยืน การทำบัญชีครัวเรือน อย่างต่อเนื่อง

ในพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ของฟาร์มทดลองวิจัย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการโรคพืช ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการเก็บรักษาสายพันธุ์มันฝรั่ง โรงเรือนทดลองปลูกพืชอัจฉริยะแบบปรับอากาศในพื้นที่กว่า 9 ไร่ แล้วยังรวมถึงห้องเย็นที่ใช้ในการเก็บรักษาหัวพันธุ์มันฝรั่งในพื้นที่กว่า 12 ไร่ และรองรับหัวพันธุ์มันฝรั่งได้ถึง 6,000 ตัน ในระหว่างเก็บรักษามีการตรวจสอบคุณภาพทุกเดือนโดยทีมโรคพืชและทีมควบคุมคุณภาพ

การดำเนินงานในทุกกิจกรรมของฟาร์ม มีการคำนึงถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงานเป็นหลัก โดยยึดถือการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยฯ ของเป๊ปซี่โค ที่เรียกว่า GEHSMS: Global Environmental Health and Safety Management System ซึ่งใน 2 ปีที่ผ่านมา ทีมส่งเสริมการเกษตร ประเทศไทย เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ได้เข้าร่วม GEHSMS Cross Plant Audit และในปี 2563 ที่ผ่านมาสามารถผ่านการ Audit ด้วย score 928 ซึ่งถือเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมและภาคภูมิใจของ ทีมส่งเสริมการเกษตร ประเทศไทย

“เลย์” ตระหนักถึงความสำคัญของการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขณะที่ธุรกิจเติบโตขึ้น ดังนั้น จึงเน้นใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างความยั่งยืนในการทำการเกษตร โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกษตรกับเกษตรกรในท้องถิ่น ซึ่งความรู้ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาได้ถูกถ่ายทอดไปยังเกษตรกรเพื่อทำให้การทำเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

สำหรับใครที่อยากศึกษาข้อมูลการทำงานในสาย Agro Capacity & Development หรือสนใจข้อมูลตำแหน่งงานสายอื่นๆของ PepsiCo บริษัทสัญชาติอเมริกันที่มีแบรนด์ที่หลากหลายกว่าที่หลายคนคิด มีทั้งทั้ง เลย์ ตะวัน โดริโทส ชีโตส มิรินด้า เป๊ปซี่ และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถดูต่อได้ที่ https://www.facebook.com/pepsicojobsthailand

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 66