เทรนด์ HR ที่น่าสนใจ รู้ไว้ก่อนเข้าปีใหม่ 2024

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปีเทรนด์ที่เกิดขึ้นในมุมของ HR ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย มาลองดูกันว่า สิ้นปีนี้ จะมีเทรนด์ HR อะไรบ้างที่น่าสนใจ และเป็นที่น่าติดตามในปี 2024 ที่กำลังจะถึง

ในปี 2024 ต้องบอกเลยว่าเทรนด์ของการบริหารทรัพยากรบุคคล หรือเทรนด์ HR จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการบริหารคนรูปแบบใหม่ มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น มีการพัฒนาด้านความหลากหลายและความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล เพื่อที่ทำให้บาลานซ์ในบริษัทนั้นดีขึ้น 

 

นอกจากการบริหารบุคคลหลาย การนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในงานของ HR ก็จะเป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ AI Tools เข้ามาช่วยจัดระบบและบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการ ลำดับทรัพยากรความสำคัญใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือรูปแบบที่ชัดเจนมาก ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า โลกของ HR กำลังจะมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย

 

มาดูกันว่า 10 HR Trends ที่น่าสนใจ ที่ควรรู้ไว้ก่อนปี 2024 จะมีอะไรบ้าง 

 

10 HR Trends ที่น่าสนใจ ต้อนรับปี 2024

 

การเพิ่มบทบาทการนำให้กับพนักงาน

ลดความหลากหลาย และทำให้รูปแบบการทำงานนั้น Flat หรือมีลำดับขั้นที่ลดลงมากยิ่งขึ้น หลายคนมีโอกาสออกเสียงในการทำงาน หรือเสนอความคิดและไอเดียมากขึ้น ถึงแม้ตำแหน่งงานอาจจะไม่ได้สูงมากก็ตาม

 

ข้อจำกัดด้านร่างกาย มีผลน้อยลงกับการเป็นผู้นำ

หลายบริษัทลดช่องว่างเรื่องความแตกต่างในการทำงานมากยิ่งขึ้น และทำให้ความแตกต่างเป็นที่ยอมรับ และทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้หากมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้น ๆ โดยที่มองข้ามเรื่องเชื้อชาติหรือข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น

 

พิจารณาด้านความเป็นธรรมและความโปร่งใสในการจ่ายเงินมากยิ่งขึ้น

ความแฟร์และความโปร่งใสเป็นสิ่งที่พนักงานหลายคนมองหาในการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากบริษัทมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ HR จะให้ความสำคัญในส่วนนี้ และสามารถพูดคุยกับพนักงานได้อย่างตรงไปตรงมา

 

Generative AI เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ในกฎของบริษัทหลาย ๆ บริษัทเริ่มมีการให้ความสำคัญด้านข้อมูลและความปลอดภัยของข้อมูลบริษัทมากขึ้น เนื่องจากอิทธิพลของ AI ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย และสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของบริษัทได้อย่างรวดเร็วถ้าหากว่าพนักงานป้อนข้อมูลหรือความลับของบริษัทให้กับ AI

 

HR Technology ได้รับการอัพเกรดมากขึ้น

ระบบของ HR ใช้ Technology หรือ AI เข้ามาช่วยในการจัดการระบบมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Recruiting Process ไปจนถึงขั้นตอนเรื่องการจัดการเงินเดือน

 

การให้ความสำคัญพนักงานเรื่องรางวัลและสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น

นอกจากเรื่องเงินเดือนที่สมน้ำสมเนื้อ พนักงานมองหาบริษัทที่ให้ความสำคัญเรื่อง Incentives หรือ Well-being ของพนักงาน สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานหลาย ๆ คน

 

การทำงานจากบ้าน ยังเป็นปัญหาในการจัดการของหลายบริษัท

เนื่องจากพนักงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ทำให้ฐานระบบบางครั้งก็ไม่สามารถที่จะอัพเดทตามพนักงานได้ทัน หลายคนมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ไปเรื่อย ๆ หรือบ่อยกว่าที่ควรจะเป็น จึงทำให้เกิดความสับสนกับบริษัท และติดตามตัวพนักงานได้ยากมากยิ่งขึ้น

 

การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายจากรัฐบาล เป็นผลต่อการจัดการของ HR ในบริษัทมากขึ้น

เนื่องจากโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอด และชุดการจัดการทางภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งขึ้น ส่วนนี้ทำให้กฎของบริษัทต้องเปลี่ยนแปลงให้ทัน เพื่อตามการเปลี่ยนแปลงของรัฐ และปรับตัวให้เข้ากับสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น วันลาพักร้อน ลาหยุด หรือว่าลาเลือกตั้ง ก็ตาม

 

ทักษะทางอารมณ์เข้ามาเป็นปัจจัยในการคัดเลือกพนักงานมากยิ่งขึ้น

เป็นเหมือนทักษะทางความลับที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เพียงแค่สัมภาษณ์ แต่มันกลายเป็นทักษะที่หลายบริษัทให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือทักษะด้านการจัดการอารมณ์ของพนักงาน ซึ่งหลายครั้งที่ตำแหน่งไม่ได้ถูกเติมเต็มเนื่องจากยังไม่สามารถหาพนักงานที่จัดการอารมณ์ตัวเองได้ดีมากพอ และยังขาดทักษะหลาย ๆ อย่างที่ต้องดูเป็นปัจเจกบุคคลไป

 

เส้นทางอาชีพแบบเดิม เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

จากที่คนเข้าใจว่าต้องมีใบปริญญาโทเท่านั้น ถึงจะเติบโตได้มากกว่าคนอื่น ตอนนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการรับรู้ของการรับสมัครไปอย่างมากมาย หลายที่มีเกณฑ์การรับสมัครที่ต่างกันและค่อนข้างหลากหลาย ทำให้บริษัทสามารถเปิดกว้างและรับคนทำงานที่มีความแตกต่างกันได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ได้เจอคนเก่งมากขึ้นอีกด้วย 

 

อ้างอิง: https://www.adp.com/spark/articles/2023/11/10-hr-trends-to-follow-in-2024.aspx

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 66