อยากรู้บริษัทที่มีคนยื่นสมัครงานมากกว่า 1.3 ล้านคน ทำอะไร? – L’Oreal

ความสำเร็จทั้งหมดนี้ เบื้องหลังล้วนขับเคลื่อนด้วย “คน” …คำถามน่าสนใจต่อไปคือ แล้ว L’Oreal มีวิธีดึงดูดคนเก่งให้มาร่วมงานอย่างไร?

บริษัทด้านเครื่องสำอางความเบอร์ 1 ของโลกคือบริษัทอะไร? คำตอบคือ L’Oreal Group ผ่านแบรนด์ชั้นนำที่เราคุ้นเคย เช่น L’Oreal Paris / Maybelline / Lancôme / Biotherm / Yves Saint Laurent / ที่ขายอยู่ 150 ประเทศทั่วโลก เคาะยอดขายทั่วโลกปี 2022 ไปเบาะๆ ราว 1.4 ล้านล้านบาท

 

แต่ความสำเร็จทั้งหมดนี้ เบื้องหลังล้วนขับเคลื่อนด้วย “คน” …คำถามน่าสนใจต่อไปคือ แล้ว L’Oreal มีวิธีดึงดูดคนเก่งให้มาร่วมงานอย่างไร?

 

โดย L’Oreal Group ได้เปิดรับ 25,000 ตำแหน่งทั่วโลก แต่มีคนสมัครงานเข้ามากว่า 1,300,000 คน เรียกว่าล้นทะลักก็ไม่ผิด ทำให้อัตราการรับตกไปอยู่ที่ 2% เพราะคนสมัครมาเยอะกว่าที่คิด บริษัทระดับโลกขนาดนี้ทำอย่างไรถึงดึงดูดให้คนทำงานสมัครงานมามากมายมหาศาลขนาดนี้ ถึงขั้นเป็น magnet แถวหน้าในอุตสาหกรรมก็ไม่เกินจริง? 

 

สานต่อปณิธานผู้ก่อตั้ง

 

“บริษัทไม่ใช่กำแพงและเครื่องจักร แต่คือ…ผู้คน ผู้คน ผู้คน” (A company is not walls and machines, it’s people, people, people.) คือคำพูดของคุณ Eugène Schueller ผู้ก่อตั้ง LÓreal Group 

 

ย้อนกลับไปอดีต ในโลกยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทุกอย่างรายล้อมไปด้วยเครื่องจักร เครื่องจักร เครื่องจักร เพื่อผลิตๆ ให้ได้เยอะที่สุด แนวคิดนี้ของผู้ก่อตั้งจึงเป็นอะไรที่แตกต่างและหัวก้าวหน้ามากแม้กาลเวลาจะล่วงเลยมานับศตวรรษแล้ว แต่ก็ยังสอดคล้องกับคนทำงานรุ่นใหม่อย่างไม่เสื่อมคลาย

 

ประโยคที่ให้ความสำคัญคุณค่าของครในองค์กรนี้ จะถูกส่งต่อให้พนักงานใหม่ที่พึ่งเข้ามาทำงาน แปะเป็นคำคมสั้นๆ ตามฝาหนัง ถูกบรรจงเขียนอยู่ในเวปไซต์บริษัท ถูกประชาสัมพันธ์ผ่านทุกช่องทางเป็นพื้นฐานคุณค่าที่แบรนด์โฟกัส

 

องค์กรแห่งความหลากหลาย  

 

องค์กรตั้งภารกิจ “Beauty for All” ซึ่งมาจากคำถามเซนซิทีฟที่ได้รับฟังเสียงจากลูกค้าทั่วโลกว่า “ทำไมเครื่องสำอางถึงยังไม่เข้ากับเฉดสีผิว?” เรื่องนี้สะท้อนมาจากลูกค้าตัวจริงที่มีความหลากหลายไม่แพ้กัน องค์กรจึงต้องหลากหลายตามให้ได้เทียบเท่าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ

 

บริษัทยังมีนโยบายกำหนด “โควต้า” ในทุกประเทศที่ไปดำเนินการว่าต้องเปิดรับกลุ่มคนเพศสภาพ LGBT+ และกลุ่มคนพิการ เข้าร่วมทีมด้วย องค์กรต้องการป็นแบบอย่างเพื่อโปรโมตแนวคิดความเท่าเทียม (Equality & Inclusivity) ที่หยั่งรากลึกลงเรื่อยๆ ในวัฒนธรรมการทำงานของคนรุ่นใหม่ 

 

และในมุมเชิงการแข่งขัน การเปิดกว้างเปิดรับผู้คนหลากหลายเข้ามานี้ยังสร้าง “แต้มต่อ” ให้ทีมมีคสามคิดที่หลากหลาย ตกผลึกไอเดียความคิดรอบด้าน อุดช่องโหว่ที่มักเกิดขึ้นถ้าปราศจากกลุ่มคนหลากหลายนี้ เช่น

 

  • งานโฆษณาที่ใส่ใจรายละเอียดกลุ่ม LGBT+ ผ่านการแต่งกายและภาษาคำพูด
  • การออกแบบร้านที่คำนึงถึง Universal design รองรับคนพิการนั่งวีลแชร์

 

ดังที่เราพอจะสัมผัสได้ผ่านผลิตภัณฑ์เจ๋งๆ ในเครือขององค์กร เพราะความหลากหลายสร้างนวัตกรรมี่เหนือความคาดหมาย การตลาดสุดครีเอทีฟ และกลยุทธ์ธุรกิจอันแยบยล จะว่าไปแล้ว L’Oreal Group ไม่ได้จำกัดแค่เพศเท่านั้น แต่รวมถึงเชื้อชาติ วัฒนธรรม และไอเดียความคิดซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน

 

สวัสดิการโดนใจ

 

ด้านสวัสดิการก็เจ๋งและครอบคลุมหลากหลายตามความต้องการของพนักงานไม่แพ้กัน พนักงานมีสิทธิพิเศษในการทำประกันกลุ่มของบริษัทและแพกเกจตรวจสุขภาพให้กับคู่ชีวิตในราคาพิเศษ 

 

ในด้านวันลา มี Flex Leave สูงสุด 15 วัน หยุดลาไปทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องแจ้งรายละเอียด ซึ่งเพิ่มเติมทบต้นไปอีกจากวันลาพักร้อนมาตรฐานที่ 12 วัน ทั้งนี้ พนักงาน LGBTQ+ ยังสามารถใช้สิทธิ์ขอลาเพื่อไปอุปการะบุตรบุญธรรมได้ด้วย พร้อมมีงบทุนการศึกษาให้ด้วย

 

องค์กรยังใส่ใจรายละเอียดที่เซนซิทีฟ เช่น ไม่ใส่คำนำหน้าชื่อพนักงานเมื่อต้องติดต่อคุยงานกันภายในองค์กร เวลา candidate ส่งเรซูเม่สมัครงานก็ไม่ต้องระบุเพศ

 

พนักงานมีส่วนร่วม

 

องค์กรมีนโยบาย Worldwide Employee Share ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทิศทางใหญ่ๆ ที่องค์กรจะเดินไป มีส่วนในการได้ตัดสินใจ มีโปรแกรมรับฟังเสียงความต้องการให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ให้ทำงานแบบรู้สึกมีความหมายและมีความสุข โดยเชื่อว่า ถ้าพนักงานทำงานแบบมีความสุขจริงๆ พวกเขาจะทำงานเกินเงินเดือนที่จ่ายให้ด้วยซ้ำ

 

ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความเป็นรูปธรรมให้ชัดเจนขึ้น องค์กรยังมอบสิทธิพิเศษให้พนักงานสามารถซื้อหุ้นบริษัทในราคาส่วนลด 20% จากราคาปกติ เพราะการซื้อหุ้นแสดงถึงความเป็นเจ้าของร่วมในบริษัทนี้

 

องค์กรแห่งความยั่งยืน

 

L’Oreal ประกาศชัดถึงคุณค่า Sustainable Development การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ไม่ได้มองเป็นแค่เทรนด์ หรือทำในสเกลเล็กๆ แต่ตั้งใจเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างทั้งองค์กร 

 

มีการปักธง “L’Oreal for the Future” ต้องการเป็นผู้นำที่สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมความงามอย่างยั่งยืน เช่น ภายในปี 2030

  • ส่วนผสมกว่า 95% ต้องมาจากแหล่งชีวภาพ (Bio-based)
  • พลาสติกที่ใช้ในแพกเกจจิ้ง ต้องรีไซเคิลได้ 100%

 

พอเป็นแบบนี้ คนทำงานโดยเฉพาะพนักงานรุ่นใหม่ก็สัมผัสได้ถึง Sense of Purpose ที่องค์กรเอาจริงเอาจังและตั้งเป้าหมายเพื่อบรรลุให้ได้จริง ตัวเองในฐานะคนทำงานจึงรู้สึกถึงงานที่เป็น meaningful job งานที่มีความหมายและสร้างประโยชน์ให้สังคม

 

เพราะนี่คือการดึงดูดคนเก่งให้มาร่วมงานที่สตรองเข้มแข็งมาจากภายในองค์กร โดนใจคนรุ่นใหม่ หลากหลายครอบคลุมทุกความต้องการ จนคนสมัครงานเข้ามากว่า 1,300,000 ล้านคนต่อปี และดูเหมือนว่ามีแต่จเพิ่มขึ้น!

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 66