หลีกเลี่ยงการตัดสินใจผิดพลาด เพราะชอบด่วนสรุป ด้วยการรู้ทัน Conjunction Fallacy กับดักทางความคิด

Conjunction Fallacy
Conjunction Fallacy คือ การที่มนุษย์เราชอบด่วนสรุป โดยเชื่อขัอมูลที่ละเอียดมากกว่าข้อมูลตื้นๆ จนทึกทักไปเองว่า ข้อมูลที่มีรายละเอียดมักจะเป็นจริงมากกว่าจนนำไปสู่ความเข้าใจที่บิดเบือนหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาด

Emma อายุ 32 ปี เป็นผู้หญิงฉลาด มั่นใจ พูดจาตรงไปตรงมา จบด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกาตั้งแต่เป็นนักศึกษา เธอสนใจความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาเชิงโครงสร้าง และเรียกร้องสิทธิสตรีอยู่หลายครั้ง

คำถาม: ปัจจุบัน Emma ทำงานอะไรอยู่? A และ B คุณคิดว่าข้อไหนมีโอกาสถูกมากกว่ากัน?

  • A: Emma เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
  • B: Emma เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และ เป็นแกนนำด้านสิทธิสตรี (Feminist movement)

เมื่อเรารู้ข้อมูลมาขนาดนี้ คนส่วนใหญ่มักตอบ B พร้อมติดกับดัก Conjunction Fallacy ทันที!!

ปี 1982 คุณ Daniel Kahnerman และ Amos Tversky ได้เสนอทฤษฎี Conjunction Fallacy ว่า สมองมนุษย์เราแบ่งการคิดออกเป็น 2 แบบ

1. สมองคิดช้า – ใช้เหตุผล เกิดการขบคิดวิเคราะห์ จะไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

2. สมองคิดเร็ว – ใช้อารมณ์ เกิดขึ้นอัตโนมัติ สัญชาตญาณ

สมองคิดเร็วนี่แหละ คือตัวการที่กระโดดเข้าหา Conjunction Fallacy ก่อนใครเพื่อน และติดกับดักในที่สุด จากตัวอย่าง Emma พอเราเปลี่ยนมาใช้ “ตรรกะเหตุผล” คิดวิเคราะห์ สุดท้ายจะหันมาตอบ A ซึ่งมีโอกาสถูกต้องมากกว่า

จากตัวอย่าง Emma เมื่อเราลองนั่งลง และใช้เวลาขบคิด จะพบว่าตัวเลือก A ประกอบเพียงอาชีพเดียว (อาจารย์) ขณะที่ตัวเลือก B จะต้องประกอบอาชีพมากถึง 2 บทบาทในเวลาเดียวกัน (อาจารย์ + แกนนำ) ตามหลักการ จำนวนคนที่เป็น A น่าจะมากกว่า B โอกาสที่จะเกิด A จึงมากกว่า B ตามไปด้วยนั่นเองถ้า B ถูก…ยังไง A ก็ต้องถูกตามด้วยแต่ถ้า A ถูก…B อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ไม่มีใครรู้

แต่การตัดสินใจหลายครั้งของมนุษย์ในทุกเรื่อง ทั้งการลงทุนในหุ้น การเลือกอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ การออกกำลังกาย การตัดสินใจต่างๆ ที่นำไปสู่ความสุขล้วนแต่ถูกอิทธิพลของข้อมูล ณ เวลานั้นมาโน้มน้าวให้เราคล้อยตาม กระตุ้นสมองคิดเร็วให้ทำงานและเข้าครอบงำสมองคิดช้า จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือ อาจเรียกว่าเรา “ด่วนสรุป” ไปก่อนเอง และใช้ “อารมณ์” อยู่เหนือเหตุผลนั่นเอง

Conjunction Fallacy เกิดขึ้นรอบตัวเราทุกวัน และผู้นำองค์กรหลายคนก็มักเผลอพลั้งตกหลุมพรางอยู่บ่อยๆ

  • การพิจารณาลงทุนในหุ้น เมื่องบการเงินบริษัทในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเป็นบวก พร้อมกับผู้บริหารออกมาประกาศวิสัยทัศน์ชัดเจน อาจทำเราคล้อยตามเกิดสนใจในหุ้นบริษัท ณ เวลานั้น จนไม่ได้วิเคราะห์ผลประกอบการบริษัทย้อนหลังหลายปี หรือ มองข้ามปัจจัยอื่นนอกเหนือจากตัวเลขคุณ

Daniel Kahnerman ยังเสริมด้วยว่า คนเรามักหลงกลไปกับเรื่องเล่าที่รื่นหู หรือ Harmonious Story ที่ปะติดปะต่อกันได้อย่างไหลลื่น แถมฟังดูมีเหตุมีผล หรือพูดง่ายๆ ว่าคนเรามักถูกจริตชอบเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความรู้สึกมากกว่าข้อมูล จนบางครั้งมองข้ามตรรกะเหตุผลในเชิงสถิติไปเลย

หากคุณได้ฟังเรื่องราวหรือโฆษณาเชิญชวนต่างๆ ที่ใส่ข้อมูลละเอียดยิบเพิ่มเข้ามาโน้มน้าวจิตใจ ขอให้ระวังไว้ ดึงสติตัวเองให้กลับมาใช้ “สมองคิดช้า” ขบคิดวิเคราะห์ ก่อนตัดสินใจ

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 66