รวมเทคนิคที่หัวหน้าใช้ต่อรองไม่ให้ลูกน้องลาออก

เคยไหม? เรารู้สึกเสียดายคนคุณภาพ เพราะลูกน้องคนโปรดจู่ๆ มายื่นใบลาออกเอาดื้อๆ แบบไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้า

ความจริงแล้ว ถ้าไม่ใช่เพราะอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น ปัญหาสุขภาพคนในครอบครัวเลยต้องลาออกไปดูแล…การลาออกของลูกน้องที่เหมือนเกิดขึ้นทันทีทันใด ย่อมมีสัญญาณล่วงหน้าเสมอ เพียงแค่เรามองไม่เห็นหรือมองไม่ออกเองต่างหาก และบ่อยครั้งที่สัญญาณนั้น สาเหตุมาจากตัวหัวหน้าแบบเราเองด้วยซ้ำ! ยิ่งสร้างความเสียใจเข้าไปใหญ่

 

แต่แล้วก็เป็นตัวหัวหน้าเองเช่นกัน! ที่มีบทบาทปรับเปลี่ยนตัวเอง สร้างกลไก หรือทำทุกอย่างเพื่อ “รั้ง-ยื้อ-ดีเลย์” การยื่นใบลาออกของลูกน้องไปให้ได้นานที่สุด

 

เรามาดูกันว่า หัวหน้าควรทำอย่างไร เพื่อที่จะ รั้ง-ยื้อ-ดีเลย์ จนลูกน้องยอมเปลี่ยนใจไม่ลาออก

 

1)เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง

 

ย้อนกลับไปที่ต้นทาง นี่คือการป้องกันการเกิดปัญหาลาออกในระยะยาว ด้วยการเฝ้าสังเกตอาการ ค้นหา “สัญญาณ” ล่วงหน้า 

 

หัวหน้าที่เฝ้าระมัดระวังต้องคอยสังเกต 3 เรื่องนี้ในตัวลูกน้องให้ดี เพื่อให้แฟร์ยุติธรรมกับลูกน้อง

 

  • เรื่องงาน – ลูกน้องอาจเจอกับงานหนักจน burnout หรืองานไม่ใช่ทางไม่ตรงจุดกับ skill ตัวเอง หรืองานที่ต้องดีลกับคนเยอะเกินไปจนตัดสินใจเองไม่ได้ หรือแม้แต่งานที่สเกลเล็กเกินไปสำหรับกลุ่ม Top talents ที่ไม่ได้สร้าง impact มากพอ

 

  • คน – เป็นอีกเรื่องเซนซิทีฟที่ต้องอย่ามองข้ามรายละเอียด อย่าเอาจริตชุดความคิดของเราเป็นที่ตั้ง แต่ต้องมี empathy มากในมุมมองพนักงานคนนั้น สิ่งที่หัวหน้ามองข้ามไป ก็คือ บางทีปัญหาคนอาจไม่ได้มาจากความสัมพันธ์ส่วนบุคคลหรือเคมีที่ถูกจริตกันระหว่างพนักงานเสมอไป แต่มาจาก “ระบบการทำงาน” ที่ขั้นตอนเยอะเกินไป ต้องขอ approve จากสมาชิกทีมเยอะเกินไป นำมาสู่ความล่าช้าและเบื่อหน่ายในการทำงานได้

 

  • ผลตอบแทน – เรื่องนี้หัวหน้าต้องดีลกับฝ่าย HR อยู่เสมอ เงินเดือนพนักงานเก่งๆ คนนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปรึเปล่า? หรือเงินเดือนขึ้นตามมาตรฐานรึเปล่า? ผลงานดีและผลประกอบการบริษัทดีก็ต้องให้โบนัสสมน้ำสมเนื้อแค่ไหน

 

คนที่ตัดสินใจด้วยอารมณ์หรือสภาพวะการทำงานบ่าสุด เช่น งานหนักเกินไปจนเริ่มกระทบวันหยุด…เคสนี้ยังพอแก้ไขได้



2) ทอล์ค ทอล์ค ทอล์ค

 

หัวหน้าต้องอย่าเอาแต่สั่งงาน สั่งงาน สั่งงาน แต่ลองพูดคุย small talk กับลูกน้องบ้าง หัดเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์เปิดกว้าง ผลวิจัยเผยว่า small talk เล็กๆ น้อยๆ ที่ดูเหมือนไร้สาระในการทำงาน กลับช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกันเอง และระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง

 

นอกจากนี้ เพราะยิ่งคุย จึงยิ่งรู้ปัญหา รู้ unmet want รู้ insight ทั้งเรื่องการงาน เรื่องส่วนตัว ครอบครัวความสัมพันธ์ ซึ่งแม้ในระดับมืออาชีพเราจะพูดเสมอว่า ให้แยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องงาน แต่ชีวิตจริงพนักงานหลายคนไม่สามารถทำแบบนั้นได้ 

 

ในบริบทนี้ หัวหน้าจึงไม่ใช่แค่หัวหน้าสั่งงานอีกต่อไป แต่กลายเป็นเสมือนที่ปรึกษา เมนเตอร์ หรือแม้แต่ที่พึ่งทางจิตใจ

 

การพูดคุยเยอะๆ ยังหมายถึงพูดคุยเพื่อรั้งชะลอการลาออกด้วยในกรณีที่เจ้าตัวมาปรึกษาขอลาออก หัวหน้าช่วยจุดนี้ได้มากด้วยการช่วยไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ค้นหาสาเหตุปัญหาที่ทำให้อยากลาออก

 

3)สร้างเป้าหมายใหม่

 

โดยเฉพาะกับกลุ่ม Top talents ที่ลาออกเปลี่ยนงานบ่อยเพราะชอบหาความท้าทายใหม่ๆ และเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ 

 

หัวหน้ารั้ง-ยื้อ-ดีเลย์กลุ่มนี้ได้ด้วยการตั้งเป้าหมายใหม่ๆ ที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง เปิดโปรเจคท์ใหม่ที่กินเวลาตลอดทั้งปี โดยกำชับว่า โปรเจคท์จะสำเร็จได้ ต้องมาจากความร่วมมือของทุกคน

 

วิธีทางลัดที่น่าสนใจคือ ให้ “ต่อยอด” จากผลงานความสำเร็จของตัวลูกน้องคนนั้นไปเลย เช่น สมมติว่าเป็นเอเจนซี่การตลาด ปีที่ผ่านมาได้ปั้นช่อง TikTok ให้กับ Influencer เจ้าหนึ่งโดยเน้นขายสินค้าตรงๆ จนสำเร็จแล้ว ก็ต่อยดสู่การ “เปิดช่องใหม่” โดยเน้นที่ Lifestyle ชีวิตส่วนตัวของ Influencer คนเดิม 

 

วิธีนี้ช่วยให้พนักงานคนนั้นเห็นไอเดียตัวเองผลิบานออกสู่ตลาดจริง และแทนที่จะลาออก อาจจะอยู่ต่อยาวๆ เลยกรณีที่ประสบความสำเร็จอีกครั้ง



4)ทำให้รู้สึกเป็นคนสำคัญ

 

ในการทำงาน ลูกน้องทุกคนลึกๆ อยากได้รับการยอมรับ ถูกเอ่ยถึง ถูกเอ่ยชม…หรือพูดให้ถูกคือ ทุกคนต้องการรู้สึกเป็น “คนสำคัญของทีม” ไม่มากก็น้อย ตัวเอง belong เป็นส่วนหนึ่ง ตัวเอง contribute สร้างคุณค่าดีๆ ให้ทีม

 

หัวหน้าต้องมีวาทศิลป์ในการพูดจาและตั้งคำถาม เช่น

  • “ผมช่วยอะไรคุณได้บ้าง?” – การที่หัวหน้าขอความช่วยเหลือจากลูกน้อง ทำให้ลูกน้องรู้สึกเป็นคนสำคัญ หัวหน้าถึงขนาดต้องมาขอความช่วยเหลือ

 

  • “ผมไว้ใจคุณให้ทำงานนี้นะ” – เป็นการสร้าง trust โดยตรงกับลูกน้องว่าหัวหน้าไว้วางใจคุณนะ และยังมีความรู้สึกแฝงด้วยว่า ถ้าเกิดผลลัพธ์ออกมาผิดพลาด ก็จะร่วมแก้ปัญหาไปด้วยกัน

 

  • “ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าต้องทำยังไง” – มองเผินๆ วิธีนี้แสดงออกถึงความอ่อนแอ แต่ผลวิจัยเผยว่า คนที่อยู่ตำแหน่งสูงและเปิดเผยความอ่อนแอ หรือความไม่รู้ออกมาบ้าง กลับทำให้ผู้คนทั่วไปรู้สึกเข้าถึงได้ รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน และพร้อมยื่นมือช่วยเหลือ

 

  • “ปิดท้ายด้วยการขอบคุณบ่อยๆ” – วิธีเบสิคที่เรียบง่ายและเวิร์คมากๆ คือการ recognize ลูกน้องด้วยการพูดขอบคุณไปตรงๆ คำขอบคุณเป็นคำสั้นๆ ที่ทรงพลัง สร้างแรงบันดาลใจ บิ้วด์ลูกทีมให้รู้สึกมีค่า ไม่อยากลาออกแต่อยากลุยงานต่อกันไป

 

เพียงหัวหน้าลองเปลี่ยนตัวเองและทำตามแบบนี้ ลูกน้องหลายคนก็ต้องครุ่นคิดเปลี่ยนใจไม่ลาออกกันบ้างหน่า!

 

แม้สุดท้ายแล้ว ลูกน้องเกิดเหตุสุดวิสัยต่างๆ นานาที่ทำให้ก็ยังต้องลาออกอยู่ดี หัวหน้าก็ควรซัพพอร์ต ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ในเส้นทางของเขาต่อไป

 

และที่สำคัญ ควร keep connection กันไว้ เพราะหลังลาออกไปแล้ว อนาคตอาจได้ร่วมงานกันในบริบทอื่น ไปเจอกันตามงานอีเวนต์ ใช้บริการลูกค้าเจ้าเดียวกัน เจอปัญหาในอุตสาหกรรมเหมือนกัน เพราะอนาคตเส้นทางการทำงานมีโอกาสกลับมาโคจรตัดกันได้อยู่นั่นเอง



อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 66