บริษัท Minor Group ดีไหม? ปั้นคนคนสไตล์พี่ใหญ่

Minor Group มีพนักงานในเครือกว่า 75,000 คนทั่วโลกที่ทำงานในองค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม นี่คือองค์กรขนาดยักษ์ที่ทำธุรกิจรอบด้านมากๆ ทั้งร้านอาหาร รีเทล โรงแรม สำนักงาน และอีกเพียบ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรจึงน่าจะต้องมีมาตรฐานสูงมากและมีความเป็นสากลสูง น่าสนใจไม่น้อยว่า Minor Group มีวิธีปั้นคนในองค์กรยังไงบ้าง?

พัฒนาคนแบบยั่งยืน

 

อันดับแรก Minor นำเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลบรรจุอยู่ใน 5 ค่านิยมขององค์กร (5 Core Values) โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

 

1.สมาชิกในชุมชนด้อยโอกาส

 

ไม่ใช่แค่บริจาคการกุศลหรือทำ CSR แต่มีการลงทุนในชุมชนทั้งด้านการศึกษาและสาธารณูปโภค การบริจาคการกุศลคิดเป็นเพียง 15% ส่วนที่เหลือ 84% คือการลงทุนกับชุมชน

 

และให้โอกาสเปิดรับการจ้างงาน เมื่อคนเรามีงานทำ ชีวิตมีเปิาหมาย ลดปัญหาอื่นๆ ได้ลงตามมา ไม่แปลกที่พนักงานหลายคนในเครือ Minor เองจะออกมาร่วมเป็นจิตอาสาทำงานโดยไม่มีค่าตอบแทนมากกว่า 10,300 คนเลยทีเดียว

 

2.พนักงาน

 

เปิดรับความหลากหลาย Diversity ทั้งทางเพศสภาพหรือเชื้อชาติ รู้หรือไม่ว่า พนักงานของ Minor เป็นผู้หญิงถึง 51% และมีกว่า 171 เชื้อชาติ 

 

มีการตั้งโปรเจคท์ “More You” ยกระดับคุณภาพชีวิตและศักยภาพของพนักงาน สร้างมาตรฐาน Safety standard ขั้นสูงในการทำงาน สุขอนามัยระดับสูง ไม่ใช่แค่ลูกค้า แต่ออกแบบสภาพแวดล้อมหลังบ้านให้เหมาะกับการทำงานอย่างแฮปปี้

 

บริษัทเติบโตขึ้นทุกปี จึงต้องมีพนักงานมาร่วมงานเสมอ องค์กรจุงได้จัดตั้ง Minor Corporate University (MCU) โครงการฝึกอบรมนักศึกษา 1-2 ปี และเปิดโอกาสให้เข้าสู่การเป็นพนักงาน Minor

 

3.ผู้บริหารระดับสูง

 

เปิดกว้างด้าน career path เพื่อพัฒนาและรักษา talents เก่งๆ โดยในปีที่ผ่านมา มีการโปรโมทปรับพนักงานขึ้นเป็นระดับบริหารถึง 51% เลยทีเดียว เมื่อคนเก่งเหล่านี้อยู่ในตำแหน่งที่สร้าง impact ได้ใหญ่ขึ้น องค์กร ลูกค้า สังคมก็ได้ประโยชน์ตามไป

 

ตำแหน่งนี้คือผู้กำหนดทิศทางใหญ่ขององค์กร จึงมีการบริหารทรัพยากรบุคคลกลุ่มนี้อย่างเป็นระบบ เช่น 

  • จัดตั้งโปรเจคท์ M-Lead แก่ผู้บริหารระดับสูงสุด 25 คนจากทุกกลุ่มธุรกิจทั่วโลก มาเทรนเข้มข้นติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน 
  • หรือ โปรเจคท์ NGT เทรนเข้มข้น 3 เดือน ที่ถูกออกแบบมาเพื่อปั้นผู้บริหารรุ่นใหม่ในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยี AI สู่การเป็นความหวังใหม่ขององค์กรในอนาคต

 

เฟรมเวิร์คมืออาชีพ

 

เรียกได้ว่าในทุกขั้นตอนปั้นคนในทีมของ Minor จะอยู่ภายใต้หลักการ “เฟรมเวิร์ค” ในแทบทุกเรื่อง เพราะนี่คือองค์กรใหญ่ระดับสากล ต้องมีแม่แบบตัวกลางที่นำไปทำซ้ำได้ สื่อสารได้ เป็นที่ยอมรับในสากล

 

ตัวอย่างเบื้องต้น เช่น แม้แต่ในขั้นตอนการทำงานของพนักงาน มีเฟรมเวิร์ค “4R” ได้แก่ 

  • Refine – ด้านการเงิน ทำตามกฎหมายของแต่ละประเทศ จ่ายค่าจ้างเป็นธรรม มีแผนส่งเสริมวินัยการเงินของพนักงาน 
  • Risk – สถานที่ทำงานต้องปลอดภัย ลดอุบัติเหตุ มีมาตรฐาน safety standard มีการนำศาสตร์ ergonomics มาใช้
  • Review – ครอบครัวและสังคม องค์กรซัพพอร์ตความเป็นอยู่ของครอบครัวพนักงาน
  • Respond – ร่างกายและจิตใจ เทคแคร์สุขภาพพนักงาน มีการจัดโปรแกรมด้านสุขภาพกายใจและโภชนาการ

 

วัดที่ผลงาน

 

ไม่ต้องเป็นระดับผู้บริหารขั้นสูง…ก็โตในไมเนอร์ได้ คนระดับหัวหน้างานที่นี่มีทัศนคติที่ encourage ให้พนักงานทุกคนฉายแสงในแบบตัวเองโดยไม่ต้องรอให้ใครมาสั่งถึงค่อยทำ ไม่ต้องรอโอกาสแต่สร้างโอกาสขึ้นมาเอง

 

เปรียบเสมือนเป็นการจ้าง 100 แต่เล่น 1,000,000 ทั้งนี้ทั้งนั้น องค์กรก็แฟร์มากพอ ไม่ได้เอาเปรียบ แต่ต้องคอยสังเกตมองเห็น ถ้าเจอคนที่ใช่ก็ต้องมอบ career opportunity ให้อย่างแฟร์ๆ เพราะถ้าไม่ทำ ในระยะยาว คนเก่งแบบนั้นก็คงย้ายไปทำที่อื่น สูญเสียทรัพยากรเก่งๆ ไปอย่างไม่ควรเกิดขึ้น

 

มีวัฒนธรรมที่กำลังเบ่งบานอย่าง Reverse mentoring คือให้ผู้บริหารรุ่นใหม่ x รุ่นใหญ่ มาแลกเปลี่ยนกัน รุ่นใหม่ได้มุมมองประสบการณ์สุดเก๋าจากรุ่นใหญ่ที่หาไม่ได้และตัวเองอาจไม่ต้องเดินตามรอยผิดพลาด ส่วนรุ่นใหญ่ได้ลิ้มรสมุมมองโลกใบใหม่ที่ไม่คุ้นเคย พฤติกรรมคนที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ไม่ชำนาญ เป็นการแลกเปลี่ยนที่ win-win ทั้งคู่

 

วัฒนธรรมองค์กร

โดยเฉพาะคนระดับ “หัวหน้างาน” ที่จะได้การปลูกฝัง people mindset หัวหน้างานที่นี่อาจจะต้องเก่งงานมากกว่าเก่งคนด้วยซ้ำ อย่างเช่น

 

  • รู้วิธีสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกทีมที่ท้อแท้ ผ่านชุดคำถามที่ถูกออกแบบมาเพื่อ inspire และผ่านเทคนิคต่างๆ เช่น visualization 

 

  • เปิดเผยตรงไปตรงมา ถ้าลูกน้องเดินเข้ามาแล้วบอกว่า “อยากเป็นแบบหัวหน้า , อยากทำตำแหน่งหัวหน้า(มาแทนที่)” หัวหน้าต้องอธิบายเส้นทางการเติบโต 1-2-3-4 ได้ว่าเขาควรทำยังไง

 

  • ไม่ใช่แค่ soft skills แต่หัวหน้าต้องดู hard skills ของลูกน้องออก และค้นหาทางสร้าง competitiveness ที่เป็นจุดแข็งสุดๆ เพื่อใช้แข่งขันได้ในระยะยาว

 

  • ต้องใส่ใจรายละเอียด รู้วิธีในการ recognize ลูกน้องที่ทำผลงานได้ดี และมอบพื้นที่ให้เขาได้รับการชื่นชม

 

ในภาพรวม Minor Group มีแนวทางการสร้าง People Development อย่างเป็นระบบและเป็นสากล มีส่วนผสมของศาสตร์และศิลป์อย่างลงตัว เมื่อคนเก่ง องค์กรก็พร้อมโต นี่จึงเป็นกรณีศึกษาชั้นเยี่ยมที่พวกเราน่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ไม่มากก็น้อย

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 38