จะรับมืออย่างไร เมื่อสภาพจิตใจพังเพราะทำงานหนัก

การทำงานให้อะไรเราหลายอย่าง ทั้งความรู้ด้านการทำงาน เพื่อนร่วมงานที่ดี แต่นอกจากแง่บวกแล้วอย่างหนึ่งที่การทำงานให้เราได้เหมือนกันก็คือ “ความเหนื่อยล้า” บางคนรู้สึกเหนื่อยกับงาน กับสังคมที่ทำงานจนเข้าสู่โหมดใจพัง หรือ “Emotional Breakdown” มาดูกันว่าเราจะรับมือกับอาการนี้ได้อย่างไรบ้าง

“Emotional Breakdown” หรืออาการที่คน ๆ หนึ่ง เหนื่อยกับอะไรบางอย่างจนไม่อยากที่จะทำสิ่งนั้น หรือรู้สึกว่าอารมณ์ของเราในตอนนี้ ไม่พร้อมรับกับอะไรรอบตัวทั้งสิ้น เพราะเราได้รับแรงกดดันมามากพอแล้ว ตอนนี้ขอแค่ได้พักเยอะ ๆ ก็คงจะดี

หลายคนอาจจะมองข้ามเรื่องของสุขภาพจิตของตัวเอง ไม่ได้คิดว่าเราจะไปถึงจุดที่อารมณ์หรือความแข็งแกร่งทุกอย่างพังทลายลง แต่บอกเลยว่าอารมณ์และความรู้สึกของเรานี่แหละคือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะการมีสุขภาพจิตที่ดี คือสิ่งที่ทำให้เราสามารถทำกิจกรรมหรือทำงานรอบตัวได้อย่างเต็มที่ และทำผลงานออกมาได้ดี 

หากสุขภาพจิตพังหรือใจพัง บอกเลยว่างานที่ต้องทำหรือกิจกรรมรอบตัว ต้องออกมาอย่างไม่เต็มที่ การใช้ชีวิตเราก็จะดำเนินไปแบบไม่มีความสุขด้วยเช่นกัน

วันนี้ CareerVisa จึงอยากจะมายกวิธีแก้ปัญหา หากเรากำลังเผชิญหน้ากับสภาพจิตใจพังจากการทำงาน มาดูกันว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้างให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

วิธีรับมือกับ Emotional Breakdown

 

ลองพักอยู่กับตัวเองสักแปป

หลายคนทำแต่งาน ไม่เคยมีเวลาพักให้ตัวเองหรือให้เวลาตัวเองได้ผ่อนคลาย เพราะฉะนั้นลองพักสักแปป ได้ทำอะไรอย่างอื่นนอกเหนือจากงานบ้าง อาจจะทำให้รู้สึกดีขึ้น

 

ทำ To-do list ให้สั้นลง

ส่วนใหญ่แล้วคนที่บ้างานหรือทำงานหนัก จะมี To-do list เยอะแยะไปหมด และไม่ได้ยืดหยุ่นให้ตัวเองได้พักขนาดนั้น เพราะฉะนั้นลองตัดทอนสิ่งที่ตัวเองต้องทำต่อวันหลัง เพื่อบาลานซ์เวลางานกับเวลาส่วนตัวให้เหมาะสม

 

ระบุปัจจัยความเครียดของตัวเอง

รู้ตัวเองว่าอะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้เราเครียดหรือจิตตก แล้วหลีกเลี่ยงหรือหาวิธีรับมือกับมัน หากเราสามารถระบุปัญหาได้ การที่จะหาวิธีแก้ไข ก็จะง่ายขึ้นเช่นกัน

 

อยู่กับปัจจุบัน

หลายครั้งที่ความรู้สึกจิตตก หรือใจพัง มักจะมาจากการที่เรายึดติดกับอดีตหรือสิ่งที่เคยทำผิดพลาด จนลืมมองว่าปัจจุบันคือเวลาที่เราสามารถแก้ไขหรือพัฒนาตัวเองได้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นหากเราเคยมีสิ่งที่ผิดพลาด ให้นำมาเป็นจุดปรับปรุง และอยู่กับปัจจุบันให้มากขึ้นก็จะทำให้สมองเราหนักน้อยลง

 

ค่อย ๆ จัดการไปทีละเรื่อง

อย่าเอาปัญหาทุกอย่างมาคิดพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน บอกเลยว่าต้องปวดหัวมากแน่ ๆ ให้ค่อย ๆ คิดและแก้ไขปัญหาไปทีละอย่าง เพื่อที่เราจะได้จัดการตัวเองและความคิดของตัวเองได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ไม่เครียดจนเกินไป

 

ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

อย่าคิดว่าเราอยู่คนเดียว มันจะต้องมีบางคนที่สามารถให้ความช่วยเหลือเราได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากไม่สามารถรับมือได้ ให้ลองคิดที่จะขอคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือจากคนรอบข้างและคนที่ไว้ใจได้ ก็จะทำให้เราไม่เครียดมากจนเกินไป อีกทั้งยังมีที่ระบายอารมณ์อีกด้วย

 

 

สุขภาพจิตและอารมณ์ของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ อย่ามองข้ามไม่ว่าจะกับเรื่องของการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว หมั่นทำให้สุขภาพจิตของตัวเองมั่นคงอยู่เสมอ ทุกปัญหาในชีวิตก็จะผ่านไปได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน

 

อ้างอิง : https://blog.manahwellness.com/dealing-with-an-emotional-breakdown-at-work/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 38