อยากเป็นเป็ดพรีเมียม อัปเกรดตัวเองอย่างไร?

ในวงการคนทำงาน มีมนุษย์พันธุ์หนึ่งที่เราเรียกว่า “เป็ด” โดยมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษหลากหลายไม่ว่าจะ Generalist, Jack-Of-All-Trades, หรือ Multi-Potentialite

เรารู้กันดีว่ามนุษย์เป็ดเป็นคนที่ทำงานได้รอบด้านหลากหลายมากๆ เพียงแต่ว่าหลายเรื่องที่ทำได้ พวกเค้ามักทำได้แค่พอเป็น ทำได้ในระดับพื้นฐาน ทำได้แค่ตามมาตรฐานทั่วๆ ไป

 

เรื่องนี้ไม่มีอะไรผิด เพียงแต่ว่าในปัจจุบัน มาตรฐานที่หลายองค์กรคาดหวังในตัวมนุษย์เป็ดเริ่มสูงขึ้นมาก เป็นเอฟเฟกต์จากยุคโควิดที่บริษัทปลดพนักงาน เพื่อลดค่าใช้จ่าย แถมตลาดหางานมีการแข่งขันสูง ต้องการงานลักษณะ Multi-function ในคนๆ เดียว และเพราะใครๆ ต่างก็พยายามเป็นมนุษย์เป็ดกันหมด เกิดสิ่งที่เรียกว่า Skill Inflation คือใครๆ ก็มีสกิลที่ทำได้เหมือนเราหมด จนสกิลเจ๋งๆ ที่เราเคยมี…กลายเป็นของธรรมดาที่คนอื่นก็ทำได้กันหมด

 

จึงเริ่มมีมนุษย์เป็ดธรรมดาทั่วไปที่ต้องการกลายร่างเป็น “เป็ดพรีเมียม” ที่โดดเด่นแตกต่างจากเป็ดทั่วไป เพื่อให้องค์กรยังเห็น value และเรียกอัพค่าตัวหรือเลือกจ้างได้ต่อไป

 

  • เป็ดทั่วไป…มีสกิลรอบด้านแต่ละเรื่องราว 50-60%
  • เป็ดพรีเมียม…ต้องมีสกิลรอบด้านแต่ละเรื่องเพิ่มขึ้นเป็น 70-80%

 

คำถามสุดท้าทายคือ…แล้วเราจะอัปเกรดตัวเองให้เป็นเป็ดพรีเมียมได้อย่างไร?

 

เป็ดพรีเมียมต้อง Set priorities

 

อันดับแรก เราต้องจัดเรียงลำดับความสำคัญตามความต้องการของตลาดหรือองค์กร  ในการรับรู้ (Perception) ของคนอื่น ความพรีเมียมขึ้นอยู่กับว่า เรามีสกิลบางอย่างที่ตลาดเวลานั้นต้องการเป็นพิเศษด้วยรึเปล่า?

 

เช่นตอนนี้ เป็ดคนไหนที่มีสกิลความเป็น Prompt Engineer ในการป้อนคีย์เวิร์ดลงตาม ChatGPT-4 และ Midjourney ก็จะเป็นที่ต้องการและมีภาพลักษณ์พรีเมียมเป็นพิเศษ

 

บูรณาการสกิลรอบด้านเข้าด้วยกัน

 

ดึงจุดแข็งทุนเดิมของความเป็นเป็ดที่รู้รอบด้านและเชื่อมโยงสกิลหรือองค์ความรู้เข้าด้วยกัน เป็ดพรีเมียมไม่จำเป็นต้องโฟกัสเจาะลึกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขนาดนั้น แต่ให้มองที่ภาพรวมเป็นหลัก ให้ประกอบร่างจิ๊กซอว์เล็กๆ เข้าด้วยกันจนเป็นภาพที่สวยงาม

 

ถ้าปกติคุณใช้งาน ChatGPT-4 และ Midjourney พอเป็นในระดับพื้นฐาน แต่ใช้งานแยกขาดจากกัน ทีนี้ ก็ให้คุณลองนำทั้งสองมาบูรณาการคอมโบกัน เช่น ใช้ ChatGPT-4 ในการช่วยสร้างคำอธิบายที่ครอบคลุมรอบด้าน ก่อนนำผลลัพธ์คำอธิบายนั้นมาใช้เป็น Prompt ป้อนเข้าสู่ Midjourney เพื่อสร้างผลงานรูปภาพที่โดดเด่นแตกต่าง

 

เมื่อนำสิ่งธรรมดาอันหลากหลายมาคอมโบเข้าด้วยกัน ก็ทำให้มันพิเศษพรีเมียมขึ้นได้บ้างแล้ว

 

เลือกดันบางสกิลให้โตระเบิด

 

เสมือนการอัปเกรดจากชั้นที่นั่ง Economy สู่ Premium Economy มันจะยังมีพื้นฐานองค์ประกอบบางอย่างที่เหมือนเดิม ขณะที่มีบางเรื่องอย่างเช่น ฟังก์ชั่นการใช้งาน หรืองานบริการที่ได้รับ…ที่พรีเมียมขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด 

 

การเลือกดันบางสกิลให้เก่งขึ้นเป็น 80% ยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แรงต้านน้อย และลดโอกาสยอมแพ้กลางคันเมื่อเทียบกับการพยายามเก่งขึ้นทุกเรื่องในเวลาเดียวกัน!

 

แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าควรดันสกิลไหน? คำตอบอยู่ที่การบาลานซ์ระหว่าง 

  • สิ่งที่คุณชอบ รู้สึกถูกจริต (จะเรียกว่า Passion ก็ได้)
  • สิ่งที่คุณเก่ง ทำได้ดี มีพรสวรรค์
  • สิ่งที่ตลาดแรงงานต้องการ

 

เป็ดพรีเมียมต้องมีแบรนด์?

 

เมื่อถึงจุดนึง เป็ดพรีเมียมจำเป็นต้องสร้าง “แบรนด์ตัวตน” (Personal branding) ของตัวเอง แบรนด์คือการสร้างการรับรู้ในมุมของลูกค้า (Customer perception) ว่าเค้ามองแบรนด์หรือมองคุณเป็นอย่างไร? 

 

ไม่ต่างจากสินค้า 2 อย่างที่คล้ายกัน คุณภาพเท่ากัน สินค้าในอุตสาหกรรมหนึ่งที่หาความแตกต่างได้ยาก คุณภาพสินค้าของแต่ละแบรนด์ใกล้เคียงกันหมด แต่แบรนด์นึงตั้งราคาพรีเมียม แต่สุดท้ายกลับขายได้ดีกว่า ส่วนนึงเป็นเพราะแบรนด์แข็งแกร่งกว่าจนลูกค้ายอมจ่ายรึเปล่า?

 

การมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งและมีชื่อเสียง ยังสร้างข้อได้เปรียบเหนือเป็ดธรรมดาคนอื่นๆ ในท้องตลาด โดยคุณอาจเริ่มง่ายๆ จากการเป็น TikToker ในเรื่องที่ถนัด หรือเอาตัวเองไปสมาคมกับ Community เดื่อสร้างคอนเนคชั่นและอำนวยความสะดวกให้คุณมีช่องทางเติบโตมากขึ้น

 

ทัศนคติต้องพรีเมียมด้วย

 

พลังใจสำคัญกว่าที่คิด การอัปเกรดเป็นเป็ดพรีเมียมเป็นการเดินทางไกล เป็นเหมือนการวิ่งมาราธอนที่ต้องใช้เวลา ค่อยๆ ไต่ระดับจากเก่งทั่วไป 50% เป็นเก่งพรีเมียม 80%

 

ในเส้นทางการพัฒนาตัวเองนี้ ทัศนคติของเราต้องเป็นพลังบวกให้ตัวเอง อย่ามองว่าทำไม่ได้ เหนื่อยได้ ท้อได้ แต่ขอให้พัก อย่าล้มเลิกกลางคัน เพราะเป็ดพรีเมียมเหมือนน้ำครึ่งแก้วที่พร้อมพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด

 

ขอให้ระลึกว่า แม้คุณจะไม่ได้เก่งเพอเฟกต์เหมือน Specialist ที่เก่งสุดโต่งแบบเฉพาะทางไปเลย แต่ขอให้คิดว่าตัวเราเองก็เก่งพรีเมียมตั้งหลายด้าน ควรภูมิใจกับตัวเอง และก้าวไปต่ออย่างมีความหวังและความสุข

 

เราจะเห็นว่าการอัปเกรดจากเป็ดธรรมดาเป็นเป็ดพรีเมียม ยังเป็นสิ่งที่พอเอื้อมถึง ไม่ไกลเกินความสามารถของเราหรอก ขอแค่พัฒนาแบบมีกลยุทธ์ชั้นเชิง ทุ่มเทให้เวลากับมัน และมีทัศนคติพลังใจเป็นบวก ปลายทางสู่การเป็นเป็ดพรีเมียมก็คงอยู่ไม่ไกล!

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 38