Leadership Tips

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง

Career Wish อีกเคล็ดลับพาทีมขึ้นลิฟต์ แทนการวิ่งขึ้นบันได

เราอยู่ในยุคที่การทำงานทุกประเภทถูกวัดผลด้วย data ได้อย่างแม่นยำ อย่างเช่นทีม Marketing ยิง ads ออกไปยังไง มี metrics ชี้วัดเช็คได้ละเอียดทุกอย่างเท่าที่อยากรู้

How to ราดน้ำมันใส่คนที่กำลังหมดไฟ

หน้าที่หลักของหัวหน้ามักคือการ inspire ราดน้ำมันใส่ไฟแห่งแรงบันดาลใจในตัวลูกน้อง คอยรดน้ำสม่ำเสมอไม่ให้ไฟดับ แต่ตัวหัวหน้าเองเป็นคนเป็นลูกจ้างเหมือนกันที่ไฟในการทำงานขึ้นๆ ลงๆ ได้ไม่ต่างจากคนอื่น

หัวหน้ารู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้องคนไหนถือว่าเก่ง

“น้องในทีมคนนี้มีของ” คือคำที่หัวหน้าแบบเราๆ น่าจะเคยสัมผัสมาบ้าง แต่บางทีเรื่องนี้ก็ใช้ความรู้สึกประเมิน ดูเป็นนามธรรมจับต้องไม่ค่อยได้

5 คำถามที่ลูกน้องอยากให้หัวหน้าถามตัวเองมากที่สุด

อยากเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้น ให้ลูกน้องรัก? บางครั้งคนเป็นหัวหน้าแบบเรา แทนที่จะเอาแต่พูดจาแนะนำหรือออกคำสั่งลูกน้องในทีม ต้องหันกลับมา “ตั้งคำถาม” กับตัวเอง

Job Demotion – กลยุทธ์ที่หัวหน้ามองข้าม แต่อาจทำให้คนทำงานแฮปปี้ขึ้น

ปกติเวลาเราพูดว่า ต้องการทำให้องค์กร productive / creative / scalable ขึ้น กลยุทธ์มักโฟกัสไปที่การ “เพิ่ม” เข้าไปให้มากขึ้น ใหญ่ขึ้น ถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น โดยลืมไปว่า บางเรื่องอาจจะ Less is more ทำน้อยแต่ได้มาก…น้อยๆ แต่เน้นๆ อาจจะดีกว่า

Servant Leadership – ผู้นำที่สร้าง “ผู้นำ” คนอื่นให้ฉายแสงกว่า

ปกติแล้ว เรามักเคยชินกับนิยามของ “ผู้นำ” ที่ดีว่าต้องสามารถสร้าง “ผู้ตาม” ได้เยอะ ผู้นำต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล มีทักษะบริหารดีเยี่ยม และต้องมีเสน่ห์บางอย่างที่ชวนให้ผู้คนได้เดินตามรอย

แต่ในศาสตร์ภาวะความเป็นผู้นำ ยังมีหลาย Leadership Style เอามากๆ ทั้งผู้นำแบบเผด็จกาจที่ชี้นิ้วสั่งให้เดินตามทุกกระเบียดนิ้ว หรือผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนตกผลึกทางความคิดด้วยตัวเอง

แต่ทั้งหมดนี้ มีอยู่สไตล์หนึ่งที่เรียกว่า Servant Leadership “ผู้นำที่รับใช้คนอื่น” ซึ่งถูกยกขึ้นหิ้งให้เป็นภาวะผู้นำบนยอดสุดของพีรามิด ที่แม้แต่คนระดับหัวหน้าผู้นำด้วยกันเองยังให้การยอมรับนับถือ!

อยากเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้น ลองทำตาม Brand Archetype ของแต่ละคน

ไม่มีหัวหน้างานคนไหนไม่รู้จักวลีคลาสสิคอย่าง “Put the right man on the right job.” เพราะงานของพวกเราอาจไม่ได้เน้นหนักที่ตัวเนื้องานอีกแล้ว แต่เป็นการบริหารคน ชี้แนะคน เข้าใจคน เพื่อที่จะมอบหมายงานได้ตรงความสามารถ

แต่การ “เข้าใจคน” เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก มีความเป็นนามธรรม และยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละคนได้

จึงมีความพยายามประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียกว่า “Brand Archetype” มาช่วยจัดระเบียบความคิด จัดกลุ่มประเภทคนที่มีอุปนิสัยคล้ายกัน เมื่อเราเข้าใจคาแรคเตอร์ลูกทีมมากขึ้น จึงคาดหวัง ดีลงาน มอบหมายงานได้ตรงจุดกว่าเดิม

จากการเมืองสู่การงาน ถอดบทเรียนภาวะผู้นำในสไตล์ “ทิม พิธา”

นาทีนี้ไม่มีใครเฉิดฉายเท่าผู้ชายที่ชื่อ “ทิม พิธา” อีกแล้ว แม้ว่าเขาจะมาจากบริบทการเมือง แต่ถ้าดูให้ดีๆ เราสามารถถอดบทเรียนของเขาในฐานะผู้นำมา apply ใช้กับความเป็นหัวหน้าในการทำงานของพวกเราได้เพียบเลย

7 ทักษะที่ควรเรียนรู้เอาไว้ หากต้องทำงานเป็นทีม

ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน ตำแหน่งอะไร เราล้วนหนีไม่พ้น “การทำงานเป็นทีม” เพราะฉะนั้นมันไม่เหมือนกับการนั่งหน้าคอมทำงานคนเดียวแล้ว แต่เราต้องทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะทั้งกับคนในทีมหรือคนต่างทีมที่ต้องมีการประสานงานร่วมกัน