Search
Search

มารยาทในการลาออกอย่างมืออาชีพด้วย Farewell Message 

สมัครงาน สัมภาษณ์งาน ทำงาน แล้วลาออก…เมื่อถึงจุดนึง เส้นทางการทำงานของทุกคนก็ต้องเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดด้วยการลาออกไปเติบโตที่อื่นหรือลาออกเพือเดินตามฝันของตัวเอง

สมัครงาน สัมภาษณ์งาน ทำงาน แล้วลาออก…เมื่อถึงจุดนึง เส้นทางการทำงานของทุกคนก็ต้องเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดด้วยการลาออกไปเติบโตที่อื่นหรือลาออกเพือเดินตามฝันของตัวเอง

 

และเมื่อวันสุดท้ายมาถึง การจากลาร่ำลากันก็เป็นวัฒนธรรมที่ขาดไปไม่ได้ โดยหนึ่งในธรรมเนียมปฏิบัติสากลคือสิ่งที่เรียกว่า “Farewell Message – ข้อความร่ำลาเมื่อลาออก” เพื่อทิ้งความประทับใจไม่รู้ลืม

 

แต่ก่อนที่เราจะไปดูรานละเอียดกัน เรามาทำความเข้าใจกันเล็กน้อยว่า…แล้วทำไมเราต้องมี Farewell Message ด้วย?

 

เส้นทางที่ตัดกันอีกครั้งในอนาคต

 

ต้องไม่ลืมว่า ยุคสมัยนี้เกิดพนักงานประเภท Boomerang Employees พนักงานที่เคยลาออกไปแล้ว แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ถูกว่าจ้างกลับมาทำบริษัทเดิมอีกครั้ง ซึ่งบริษัทก็เต็มใจรับกลับมาด้วย!

 

พอเป็นแบบนี้ Farewell Message จึงยิ่งสำคัญ เพราะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอย่างจริงใจ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคนทำงานในระยะยาวเมื่อพิจารณาถึงโอกาสเส้นทางอาชีพในอนาคตที่อาจกลับมาบรรจบกันอีกครั้ง

 

หรือถึงแม้จะไม่ได้ Boomerang กลับมาที่เดิม แต่ก็อาจไปพบเจอกันที่อื่น ตามงานอีเวนตท์อื่น โดยเฉพาะบางธุรกิจที่ “วงการนี้มันแคบ” เช่น วงการเซลส์อสังหาริมทรัพย์ โอกาสพบเจอกันใหม่ถือว่าไม่ยากเลย

 

แน่นอนว่าการอาจไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานทุกคน 100% แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ควรเขียนข้อความเสียๆ หายๆ ปิดท้าย เพราะอาจมีต่อเนื่องทางกฎหมายและเป็น Last impression ที่ไม่สง่างาม สิ่งที่ไม่ดีควรอดทนและเก็บรวบรวมไปพูดกับฝ่าย HR แบบเป็นส่วนตัวมากขึ้น เมื่อถึงเวลา Exit Interview สัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายตอนลาออกจะดีกว่า

 

ความประทับใจในรูปแบบตัวอักษร

 

ปกติแล้วตอนลาออก พรรคพวกในทีมก็มักพากันไปดินเลี้ยงส่งที่ร้านอาหารหรู หรือจัดพิธีแจกมอบของขวัญเป็นที่ระลึกตามธรรมเนียม ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งสวยงามและควรทำต่อไป…แต่ทั้งนี้ หลายคนอาจเผลอมองข้าม Farewell Message ไปบ้าง

 

ต้องไม่ลืมว่า “ตัวหนังสือ” ที่ดีเยี่ยมทรงพลังกว่าที่เราคิด มันพาเราหวนระลึกถึงอดีต แสดงคำขอบคุณ แสดงคำขอโทษ อธิบายถึงแผนการเปลี่ยนผ่านอันราบรื่น มันเปิดเผยบางสิ่งบางอย่างที่อัดอั้นอยู่ในใจผู้เขียน และบ่งบอกถึงการบรรจงขีดเขียนของเจ้าตัวด้วย

 

Farewell Message ที่ดีงามยังสามารถเก็บขึ้นหิ้งไง้เป็นความทรงจำในประสบการณ์ทำงานที่นี่ได้ด้วยเช่นกัน

 

ผลวิจัยยังเผยว่า คนที่ได้คราฟท์ Farewell Message ข้อความลาออกร่ำลาอย่างละเมียดละไม มักจะมีแนวโน้มย้ายงานได้อย่างราบรื่น รู้สึกผิดกับอดีตน้อยกว่า มีความหวังมากกว่า เมื่อเทียบกับคนที่ลาออกและเดินออกไปเลย

 

Farewell Message แม้ลาออกแต่ความทรงจำยังอยู่

 

ไม่ต่างจากคนเราที่จะรู้สึกพิเศษเมื่อได้รับสิ่งของแบบ “พิเศษเฉพาะคุณ” ถ้าเป็นไปได้ Farewell Message จึงควร personalize ปรับให้เหมาะกับเพื่อนร่วมงานแต่ละคน เพราะเรามีประสบการณ์ทำงานกับแต่ละคนแตกต่างกันไป 

 

ประเด็นนี้ย่อมหมายถึง การใช้เวลาพอสมควรในการค่อยๆ คราฟท์ค่อยๆ เขียนมันออกมาด้วยมือตัวเอง และอาศัยการวางแผนล่วงหน้าซักระยะหนึ่งเช่นกัน

 

ข้อความควรเน้นให้สั้นกระชับ เลือกใช้คำศัพท์ที่ทางการเป็นหลัก แต่ก็สามารถแทรกประโยคเป็นกันเอง มุขตลกขำๆ ที่ช่วยหวนระลึกถึงความทรงจำดีๆ ในอดีตที่เคยมีร่วมกับเพื่อนร่วมงานมา จุดนี้ถ้าเรียบเรียงได้จะสร้างผลกระทบต่อจิตใจให้ทุกคนคิดถึงคุณแม้จะลาออกไปแล้วด้วยซ้ำ

 

ทั้งนี้ เนื้อหาควรโฟกัสแต่ความทรงจำแง่บวกเท่านั้น เราได้ผ่านอุปสรรคอะไรร่วมกันมา เราได้สร้างผลงานชิ้นโบว์แดงอะไรร่วมกันมา รวมถึงสามารถระบุแผนเปลี่ยนถ่ายงานหรือคำแนะนำเชิงบวกต่อการทำงานจากนี่ได้ด้วย และแม้ว่าเราจะมีปัญหาส่วนตัวกับเพื่อนร่วมงานบางคน แต่ก็ควรอดทนเก็บไว้เปิดเผยใน Exit Interview สัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายตอนลาออกกับฝ่าย HR แบบเป็นส่วนตัวมากขึ้นจะดีกว่า

 

กรณีถ้าเราอยู่ในองค์กรใหญ่มีพนักงานหลายร้อยคน อาจไม่สามารถส่งให้ครบได้ทุกคน นอกเสียจากว่าเราจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงจริงๆ เช่น C-Level ขึ้นไป ซึ่งการลาออกอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจต่อไป

 

สุดท้าย ต้องไม่ลืมมอบช่องทางติดต่อการทำงานในอนาคตด้วย เนื่องจากกรณี Boomerang Employees ที่ชีวิตการทำงานอาจวนเวียนมาเจอกันอีก จริงอยู่…ทุกวันนี้เรามี LINE, FB, IG ไว้คุยกันอยู่แล้ว แต่ก็สามารถเพิ่มช่องทางติดต่อในลักษณะการทำงานแบบเป็นทางการไว้ด้วยก็จะดีมากๆ 

 

และการส่ง Farewell Message ควรส่งให้ครบทุกคนล่วงหน้าอย่างน้อย 5-7 วันก่อน last day วันสุดท้ายก่อนลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับมีเวลาอ่านและอาจเกิดคำถามโต้ตอบกลับมา แต่ไม่ควรส่งล่วงหน้านานเกินไปกว่านี้ เพราะรู้สึกห่างไกลและหลงลืมจนทำให้ข้อความลาออกร่ำลาไม่ทรงพลังนั่นเอง

 

ตัวอย่าง Farewell Message เขียนข้อความลาออกยังไงให้เป็นที่จดจำ

 

ตัวอย่างเมื่อเป็น “เพื่อนร่วมทีม” ที่ทำงานใกล้ชิดโดยตรงมาตลอดในชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาจึงลดความเป็นทางการลงได้ เช่น 

 

  • หัวข้อ: การลาออกจากงาน
  • เนื้อหา: ถึงเพื่อนๆ ร่วมทีมทุกคนที่บริษัท xxx

 

ผมได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัทเพื่อไปเติบโตในเส้นทางอาชีพใหม่ๆ และค้นหาความท้าทายใหม่ๆ

 

การทำงานวันสุดท้ายของผมคือสิ้นเดือนนี้ (ระบุวันที่ให้ชัดเจน) 

 

ผมรู้สึกเป็นเกียรติ เติบโต ได้เรียนรู้ และโชคดีที่ได้ทำงานร่วมกับคนเก่งๆ ตลอดเวลา x ปีที่ได้อยู่ในบริษัทนี้ ผมได้รับคำแนะนำที่ทำให้เติบโตจากภายใน ได้รับคำสอนที่ปูความรู้พื้นฐานให้แน่นกว่าเดิม และได้เจอมิตรภาพดีๆ อันจริงใจที่ซาบซึ้ง หวังว่าเราจะมีโอกาสได้ร่วมงานกันอีกในอนาคต

 

ระหว่างขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านนี้ สามารถติดต่อคุณ xxx ฝ่าย HR ซึ่งจะรับผิดชอบในส่วนของผมจนกว่าพนักงานใหม่จะรับตำแหน่งเข้ามาทดแทนในวันที่ xxx (ระบุวันที่ให้ชัดเจน)

 

หากต้องการติดต่อเรื่องการงานในอนาคต สามารถติดต่อผมได้ผ่านทางอีเมล [email protected] 

 

ขอขอบพระคุณอีกครั้ง และขอให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและประสบกับความโชคดี

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

(ลงชื่อ) 

 

…กรณีที่ส่งให้ เพื่อนร่วมงานในบริษัททั่วไป หรือหัวหน้า หรือซัพพลายเออร์ หรือลูกค้า ควรดัดแปลงภาษาให้เหมาะสมกับแต่ละฝ่าย

 

สุดท้ายแล้ว ไม่มี Farewell Message ไหนที่ไร้ความหมาย แม้จะมีข้อบกพร่องในทางภาษาหรือการเรียงลำดับเรื่อง แต่ถ้าผู้ให้ทำมันอย่างจริงใจ และผู้รับสัมผัสสิ่งนั้นได้ ย่อมสร้างคุณค่าให้แก่สองฝ่ายและเรียกว่าเป็นความสุขสุดท้ายของการทำงานในบริษัทก่อนลาออกเกิดขึ้นจริงๆ ก็ว่าได้

 

เรื่องนี้ยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่งดงาม เป็นส่วนหนึ่งของ Team Building ในขั้นตอนสุดท้ายด้วย ทุกทีม-ทุกหัวหน้า-ทุกองค์กร จึงควรใส่ใจเลยเรื่องนี้ และคราฟท์มันออกมาให้งดงามที่สุด…

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ทำงานเยอะ ไม่อยากเสียสมดุลชีวิต มาลองทำตามวิธีเหล่านี้

เชื่อว่าหลายคนต้องประสบพบเจอปัญหา “ทำงานหนักจนไม่มีเวลาชีวิต” บางคนไม่ได้ทำงานแค่ 5 วัน แต่ยังต้องเอางานที่ทำไม่เสร็จมาทำเสาร์อาทิตย์อีก แล้วสุดท้ายวันหยุดของเราอยู่ไหนกัน?

5 รูปแบบพนักงาน ที่มักจะโดนเพื่อนร่วมงานเกลียด

เคยสงสัยบ้างไหมว่าทำไมเราถึงไม่มีเพื่อนในที่ทำงาน หรือคนรอบตัวแสดงความรู้สึกไม่ค่อยอยากทำงานกับเราสักเท่าไร
มาลองเช็กว่ากำลังเป็นแบบนี้กันอยู่หรือเปล่า

จัดการปัญหา แก้ไขทุกวิกฤติด้วย Fink’s Crisis Management Model

ชีวิตการทำงานของทุกคนคงไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ยิ่งต้องทำงานร่วมกับหลายฝ่าย หลายทีม ยิ่งมีปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนรู้การตั้งรับวิกฤติที่จะเกิดขึ้น และผ่านมันไปให้ได้เสมอ