บริษัท La Marzocco น่าทำงานด้วยขนาดไหน

ถ้าทุกวันนี้คุณเข้าร้านกาแฟหรือคาเฟ่เกรดพรีเมียม เมื่อเดินตรงไปหน้าเค้าเตอร์เครื่องชงกาแฟและสังเกตซักนิด คุณจะพบว่าแทบทุกร้านมักใช้เครื่องชงกาแฟยี่ห้อ La Marzocco

นอกจากจะเป็นแบรนด์ที่ประจำการอยู่แทบทุกร้านกาแฟ & คาเฟ่หรู แล้ว La Marzocco ยังเป็นแบรนด์ที่เป็นกรณีศึกษาน่าสนใจต่อการบิ้วด์ทีมพนักงาน มีเก๋เท่ มีเอกลักษณ์ไม่ต่างจากเครื่องชง

 

องค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น

 

La Marzocco ก่อตั้งเมื่อปี 1927 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เริ่มมาจากโรงงานขนาดเล็ก ผลิตเครื่องชงเอสเพรสโซ่แบบ customize ให้ลูกค้าจนมีชื่อเสียง ก่อนประสบความสำเร็จไปทั่วโลก 

 

โดยการขยายกิจการแต่ละครั้งไม่ว่าจะไปสู่ประเทศใดก็ตาม La Marzocco จะต้องจัดอบรมพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลีที่เป็นจุดเริ่มต้นขององค์กร เพราะผู้บริหารเชื่อว่ารายละเอียดเหล่านี้คือ มรดก (Heritage) ที่คนรุ่นก่อนมอบไว้ให้อย่างสมบูรณ์

 

ความน่าสนใจคือ เมื่อโกอินเตอร์ไปตั้งสาขาใหม่ตามที่ต่างๆ แบรนด์ให้ความสำคัญมากในการจัด Training พนักงานอย่างเป็นระบบ เพราะมีทัศนคติว่าองค์ความรู้เหล่านี้คือ มรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น อิตาลีมีแบรนด์เก่าแก่อายุหลายร้อยปี เพราะมีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง

 

หมายความว่า พนักงานของ La Marzocco ไม่ได้แค่ทำหน้าที่ในตำแหน่งตัวเองเท่านั้น แต่มีภารกิจซ่อนเร้นคือการสืบทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องชงกาแฟเหล่านี้ต่อไปผ่านการเรียนรู้เข้าหัวตัวเอง สอนงานคนอื่น จนไปถึงนำเสนอแก่ลูกค้าทุกคน

 

พนักงานจะไม่ได้ทำความรู้จักเครื่องชงกาแฟ La Marzocco แค่ด้านฟังก์ชั่นการใช้งานหรือเทคโนโลยี แต่ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ของแบรนด์ วัฒนธรรมองค์กร สไตล์กาแฟแบบอิตาลี วิวัฒนาการของเครื่องชงกาแฟในยุคต่างๆ รวมถึงงานดีไซน์ของตัวเครื่องที่มีความเป็นศิลปะในตัวมันเอง

 

ขั้นกว่าของ Inclusion & Diversity

 

ไม่ต่างจากกาแฟที่คนทั่วโลกทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติดื่มเอนจอยกัน…La Marzocco ก็คิดว่าการทำงานที่นี่จึงต้องเป็นสถานที่เปิดรับทุกคนด้วยเช่นกัน

 

ข้อเท็จจริงคือ La Marzocco เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีพนักงานกว่า 25 สัญชาติ ให้บริการใน 120 ประเทศทั่วโลก ความหลากหลายของพนักงานจึงเป็นของคู่กันกับแบรนด์

 

มีการออกแบบกลไกช่วยเหลือทีมที่มีความหลากหลาย เช่น เวิร์คชอปด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Intercultural communication workshops) ทำให้พนักงานที่มาจากคนละวัฒนธรรมเข้าใจความแตกต่างและเคารพกันมากขึ้น เช่น

 

  • คนจีนอาจไม่ค่อยชอบโค้งหัวขอบคุณ เพราะรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังสยบยอมอีกฝ่าย
  • หรือในการทำงานกับชาวอิตาลี พวกเค้ามักสื่อสารกันด้วย Body language มีการชี้ไม้ชี้มือเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา Expats ที่มาประจำการก็ต้องปรับตัวตาม

 

มีการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบวัฒนธรรมภายในองค์กร (Internal cultural audit) เพื่อค้นหาข้อบกพร่องของวัฒนธรรมองค์กร หรือจุดที่พัฒนาต่อยอดได้อีก หน่วยนี้จะไปสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานโดยไม่เปิดเผยตัวตนในแต่ละแผนก เพื่อดูว่าพวกเค้าคิดเห็นยังไงกับองค์กร ทั้งด้านสภาพแวดล้อมออฟฟิศดีพอไหม? สวัสดิการแฟร์ไหม? การทำงานจุดไหนบ้างที่รู้สึกยังไม่ยืดหยุ่นพอ?

 

แบรนด์ยังจัดคลาสอบรมเพื่อป้องกันการเกิดอคติโดยไม่รู้ตัว (Unconscious bias) เช่น เมื่อมีการเฟ้นหาพนักงานขึ้นสู่ระดับหัวหน้า หัวหน้าบางคนอาจโฟกัสไปที่ผู้ชายเป็นหลัก ทั้งที่แคนดิเดตผู้หญิงคนอื่นอาจมีความคุณสมบัติไม่แพ้กัน

 

จ้างงานแบบมนุษยธรรม

 

แบรนด์ยังเปิดกว้างกับการจ้างพนักงานที่มีภูมิหลังเป็น ผู้ลี้ภัยทางการเมือง (Political asylum) แบรนด์รู้ว่าคนเหล่านี้มักเป็นคนที่มีความคิดหัวก้าวหน้า แต่กลับเป็นฝ่ายถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม พวกเค้าลี้ภัยมายังดินแดนที่ยุติธรรมกว่าเดิม…จึงควรให้โอกาส

 

ประเด็นนี้เรียกเสียงชื่นชมจากสังคมไม่น้อย และแบรนด์สามารถใช้เป็น asset ในการโปรโมตทำ Employer branding ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นี่เป็นกรณีศึกษาที่ดูเรียบง่ายแต่ใส่ใจกับผลลัพธ์ ในท้ายที่สุด แบรนด์ได้รับรางวัล “Great Place to Work” ตั้งแต่ปี 2020 และได้รับติดต่อกันมาถึงปัจจุบัน ก็น่าจะเป็นเครื่องการันตีได้ว่า La Marzocco เป็นองค์กรที่ใส่ใจคุณภาพชีวิตพนักงานอย่างถึงที่สุด



อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

generation
จะทำอย่างไร? หากต้อง "ทำงานกับคนต่าง Generation" ที่คิดไม่เหมือนกัน
Generation กับความคิดที่ไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไร?ความท้าทายของการทำงานร่วมกับคนที่ต่างอายุ ต่างช่วงวัย หลายครั้งไม่ใช่ความสามารถในการทำงานหรือประสบการณ์ที่มากกว่ากัน...
Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...