Employee Experience สร้างประสบการณ์ทำงานที่ดีให้กับพนักงานก่อนลูกค้า

Employee experience (EX) ประสบการณ์ของพนักงาน ประยุกต์มาจาก Customer experience หรือประสบการณ์ของลูกค้า เป็นการกระโดดข้ามจากฝั่งลูกค้ามายังฝั่งพนักงานภายในด้วยกันเอง

เราสามารถคิดแพทเทิร์นให้เข้าใจง่ายๆ ว่า Customer experience มีองค์ประกอบอะไรบ้าง…Employee experience ก็มีคล้ายกัน เพียงแต่เป็นมุมมองของพนักงาน เช่น 

 

  • Customer experience มี Customer loyalty เป็นองค์ประกอบ ทำยังไงให้ลูกค้าจงรักภักดีและกลับมาซื้อซ้ำบ่อยๆ…ในอีกมุม Employee experience จึงมี Employee retention ทำยังไงจึงจะรักษาพนักงานให้จงรักภักดีและอยากทำงานกับองค์กรไปนานๆ 

 

แล้ว Employee Experience โผล่มาได้ยังไง? 

 

Employee experience มาจากแนวคิดที่ว่า “ข้างนอกจะดีได้…ข้างในต้องดีก่อน” หรืออาหารที่อร่อยมาจากวัตถุดิบที่ดี หมายความว่า ปลายทางอย่างลูกค้าจะแฮปปี้ได้รับแต่สิ่งดีๆ ก็ต่อเมื่อ…ต้นทางอย่างพนักงานคนทำงานมีความสุขในการทำงานเสียก่อน พวกเค้าจึงส่งมอบสิ่งดีๆ ให้แก่ลูกค้าได้ในที่สุด 

 

ซึ่งเรื่องนี้ก็ make sense ตัวอย่างเช่น ถ้าเราลองคิดว่า Graphic Designer ที่มีชั่วโมงทำงานสมเหตุสมผล สวัสดิการยอดเยี่ยม สภาพแวดล้อมออฟฟิศสวยงาม แถมค่าแรงก็แฟร์เป็นธรรม…Graphic Designer คนนี้ก็น่าจะแฮปปี้กับการทำงาน? มี Creativity ในการคิดงานเจ๋งๆ? นำไปสู่ Productivity ที่โตระเบิดกว่าเดิม? หรือกล้าท้าทายขีดจำกัดตัวเองสู่ผลงานระดับปฏิวัติวงการ? สุดท้ายลูกค้าก็ได้รับงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม?

 

เราจะเริ่มทำ Employee Experience ยังไงดี?

 

ไม่ต่างจากการคิดวิเคราะห์เชิงการตลาดอื่นๆ ให้เราเริ่มต้นจาก “ตั้งเป้าหมาย” และมองที่ภาพใหญ่เสียก่อนว่าต้องการทำ Employee experience ไปเพื่ออะไร? เช่น

  • เพิ่มอายุงานเฉลี่ยของพนักงานจากเดิมอยู่กับองค์กรเฉลี่ยคนละ 3.5 ปี ให้เป็น 4.5 ปี ในเวลา 2 ปี
  • ให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น 25% จากการทำ survey โดยละเอียด
  • เพิ่ม Productivity ให้ได้ 30% โดยยังมีเวลางานเท่าเดิม และจำนวนพนักงานเท่าเดิม

 

ก่อนนำเป้าหมายที่ตั้งไว้มาคิดย้อนกลับเพื่อค้นหา “วิธีการ” ว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย เช่น

 

  • อยากให้พนักงานอยู่กับเราไปนานๆ เฉลี่ย 4.5 ปี งั้นเราต้องเพิ่มเงินเดือนหรือออกแบบสวัสดิการหรือไม่ หรือสื่อสารชัดเจนว่าทุกคนมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานภายในองค์กร (Growth opportunities) ต้องไม่ลืมว่า ค่าใช้จ่ายในการหาพนักงานใหม่สูงกว่ารักษาพนักงานเก่าหลายเท่า

 

  • อยากให้พนักงานแฮปปี้กับการทำงานมากขึ้น 25%? งั้นองค์กรควรยืดหยุ่นมากขึ้น โดยให้พนักงานเลือกได้ว่าจะเข้าออฟฟิศหรือทำที่บ้าน และบางโอกาสอาจทดลองทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ หรือให้วันศุกร์เลิกงานเร็วในบางเดือน หรือแม้แต่สื่อสารว่า งานที่ทำอยู่มีคุณค่าสร้าง Impact ต่อสังคมอย่างไร

 

  • อยากเพิ่ม Productivity 30% ใช่ไหม? งั้นองค์กรควรจัดสรร budget ให้พนักงานไปลงเรียนคอร์สด้าน MarTech เพื่อมาช่วยทำงานให้เร็วและมีคุณภาพดีขึ้น

 

เราจะเริ่มสังเกตว่า มันเป็น Improvement แทบทุกด้านที่เริ่มมาจากภายใน เมื่อพนักงานแฮปปี้กับการทำงานมากขึ้น มี Productivity มากขึ้นจากสกิลด้าน MarTech แถมทำงานกับองค์กรนานขึ้นโดยไม่ด่วนลาออกไปซะก่อน…เมื่อต้นทางภายในดีขึ้นทุกด้านขนาดนี้ สุดท้ายแล้ว ปลายทางภายนอกอย่างลูกค้าก็น่าจะได้รับ Impact ที่ดีขึ้นทุกด้าน?

 

อันที่จริง Employee experience เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง มีความเป็นนามธรรมพอควร และมีองค์ประกอบดีเทลเพียบ แต่ละองค์กรอาจจะตีความแตกต่างกันไปได้ในรายละเอียด 

 

แต่จุดร่วมที่มีเหมือนกันคือ เป็นแนวคิดที่มองพนักงานเป็นต้นน้ำ (อยากให้ลูกค้าได้ดี พนักงานต้องได้ดีเสียก่อน) แม้ว่าเครื่องจักรหุ่นยนต์หรือเทคโนโลยี AI จะเป็นคนลงมือผลิตสินค้าบริการ แต่ก็เป็นมนุษย์พนักงานเองที่คอยควบคุมสั่งการหุ่นยนต์อีกทีไม่ใช่หรือ?

 

และเป็นการมองมุมกลับในทุกเรื่องจากฝั่งลูกค้า เช่น เวลาลูกค้าจ้างเราไปช่วยปั้นสร้างแบรนด์ ก็อย่าลืมทำ Employer branding ให้องค์กรตัวเองด้วย พนักงานจะได้ภูมิใจและมีจุดยืนการทำงานที่สอดคล้องกับแบรนด์

 

Employee Experience ไม่ใช่แค่เทรนด์ที่มาแล้วไป แต่เป็นหัวใจในการบริหารคนในระยะยาวเลยทีเดียว ซึ่งถ้าทำสำเร็จได้ล่ะก็ จะสร้างความยั่งยืนแก่ทั้งองค์กรและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง…ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงลูกค้าของเราด้วย



อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...