5 ประเภทของ”เพื่อนร่วมงาน Toxic” ที่เจอได้ในทุกที่ทำงาน

เพือนร่วมงาน toxic
ความ Toxic ของเพื่อนร่วมงาน ถูกแสดงออกมาเป็นพลังลบบางอย่างที่เราสามารถสัมผัสได้ และทำให้การทำงานของเรากับเขาออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ลดลง หรือทำให้เกิดปัญหาการทำงานเกิดขึ้นแต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครกำลัง Toxic อยู่? มาลองดู 5 ประเภทของเพื่อนร่วมงาน Toxic ในที่ทำงานกัน

5 ประเภทของ "เพื่อนร่วมงาน Toxic" ที่เจอได้ในทุกที่ทำงาน

ไม่ต้องแปลกใจถ้าหากคุณรู้สึกไม่สบายใจกับเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำงานด้วย เพราะจริง ๆ แล้วคุณอาจจะกำลังเจอเพื่อนร่วมงาน Toxic ใส่อยู่ก็เป็นได้

นอกจากความท้าทายในที่ทำงานจะเกิดจากเรื่องงานแล้ว ยังสามารถเกิดจากการทำงานร่วมกับคนอื่นได้อีกด้วย ซึ่งไม่ว่าเราจะทำงานที่ไหน เป็นที่แน่นอนว่าเราจะสามารถเจอเพื่อนร่วมงานได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่เพื่อนร่วมงานที่ดีมีน้ำใจไปจนถึงเพื่อนร่วมงาน Toxic ที่สร้างความไม่สบายใจในการทำงานให้กับเรา

 

ความ Toxic ของเพื่อนร่วมงาน ถูกแสดงออกมาเป็นพลังลบบางอย่างที่เราสามารถสัมผัสได้ และทำให้การทำงานของเรากับเขาออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ลดลง หรือทำให้เกิดปัญหาการทำงานเกิดขึ้น

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครกำลัง Toxic อยู่? มาลองดู 5 ประเภทของเพื่อนร่วมงาน Toxic ในที่ทำงานกัน

📍ประเภทที่ 1: เพื่อนร่วมงานขี้นินทา (The Gossipmonger)

สังเกตได้ง่าย ๆ คนประเภทนี้จะชอบนินทาคนอื่นและส่งต่อข่าวสารหรือเรื่องเล่าที่บิดเบือนจากความจริง ซึ่งคำพูดของเพื่อนร่วมงานประเภทนี้ มักจะถูกพูดออกมาแบบไม่ได้กลั่นกรองความคิดมากนัก จึงทำให้มักเป็นคำพูดที่ไม่สามารถเชื่อถือได้ หรืออาจจะทำร้ายเพื่อนร่วมงานคนอื่นโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นจึงต้องระวังและพยายามอย่าไปยุ่งเกี่ยวกับการตั้งวงนินทามากนัก

📍ประเภทที่ 2: เพื่อนร่วมงานที่ชอบควบคุม (The Micromanager)

เป็นเพื่อนร่วมงานประเภทที่ชอบควบคุมคนอื่น ไม่รู้จักพอในรายละเอียดของงานจนทำให้ภาพรวมของงานนั้นมีประสิทธิภาพที่ลดลง รวมถึงนิสัยที่ชอบควบคุมนี้ยังทำให้คนที่ต้องทำงานร่วมด้วยเกิดความไม่สบายใจได้อย่างง่ายดาย คนประเภทนี้มักจะไม่ไว้วางใจเพื่อนร่วมงาน และทำให้บรรยากาศของการทำงานนั้นเสียได้อย่างง่าย ๆ วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือกำหนดขอบเขตการทำงานให้ชัดเจน และมีจุดยืนของตัวเองมากพอที่จะสร้างขอบเขตให้กับตัวเองกับเพื่อนร่วมงานประเภท

📍ประเภทที่ 3: เพื่อนร่วมงานขี้บ่น (The Constant Complainer)

เพื่อนร่วมงานประเภทนี้มักจะชอบบ่นทุกเรื่อง และร้องเรียงทุกอย่างตลอดเวลา ไม่เคยแสดงความคิดเชิงบวกออกมา แต่จะพยายามพูดหรืออธิบายแต่ความรู้สึกของตัวเองที่มองโลกในแง่ลบตลอดเวลา จนบางครั้งอาจจะทำให้คนรอบตัวรู้สึกดูดพลังลบเหล่านี้เข้าไปได้อย่างง่ายดาย และเกิดความไม่สบายใจในบทสนทนาในที่สุด เพื่อนร่วมงานประเภทนี้มักจะไม่ค่อยพอใจกับผลลัพธ์ของงานหรือไม่พอใจกับอะไรสักอย่างรอบตัวซึ่งทัศนคตินี้อาจจะทำให้ทีมไม่มีพลัง ไม่มีความกระตือรือร้น และกำลังใจถดถอยได้อย่างง่ายดาย

📍ประเภทที่ 4: เพื่อนร่วมงานหลงตัวเอง (A Narcissist)

เพื่อนร่วมงานประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับตัวเองเป็นที่หนึ่ง รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่ต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุด หลายครั้งที่จะถูกคนรอบข้างมองว่าไม่มีน้ำใจ และไม่มีความเข้าอกเข้าใจหรือเห็นใจผู้อื่น โดยนี้เพื่อนร่วมงานประเภทนี้จะแสดงออกมาคล้าย ๆ กับว่าจะชอบควบคุมสถานการณ์ทุกอย่างให้เข้าข้างตัวเองอยู่ตลอดเวลา พวกเขาอยากที่จะได้รับคำชมและต้องการความยอมรับอย่างมาก หากถูกเพิกเฉยใส่ อาจจะรู้สึกไม่พอใจเกิดขึ้นได้

📍ประเภทที่ 5: เพื่อนร่วมงานติดโซเชียลและการประจบหัวหน้า (Social Media Addiction and the Kiss-up Culture)

เหมารวมไปเลยกับคนประเภทสุดท้าย คนที่เสพติดการเล่น Social Media ในที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา และชอบที่จะประจบหัวหน้าหรือคนที่ระดับสูงกว่าตัวเอง หลายครั้งที่เพื่อนร่วมงานที่มีนิสัยเหล่านี้สร้างบรรยากาศการทำงานที่ไม่สบายใจให้กับเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ทำให้บรรยากาศเสียหลายครั้งเพราะใช้โทรศัพท์มากเกินไป ทำให้คนรอบตัววางตัวไม่ถูกเพราะจะชอบพูดจาประจบหัวหน้าตลอดเวลา หากเรากำลังพบเจอเพื่อนร่วมงานประเภทนี้อยู่ จงจำไว้ว่าทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด อย่าไปเล่นเกมกับพวกเขามากและทำให้ตัวเองโดดเด่นจากผลงานที่ดีจะดีกว่า

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...
disney model
แจกงานยังไงให้ทีมไม่ตีกัน ด้วย Disney Model
“การบริหารเป็นทีม” ไม่ใช่แค่แจกจ่ายงานแต่เป็นการทำงานด้วยกันให้ราบรื่นด้วย สำหรับคนที่เป็นหัวหน้าถ้าไม่รู้จะแบ่งงานให้กับทีมยังไง เรามี Framework จาก Disney...