เจ้าของ TikTok จาง อี้หมิง เริ่มต้นจากการเป็นลูกข้าราชการ

จาง อี้หมิง (Zhang Yiming) คือผู้บุกเบิกสร้างแอป TikTok ที่หลายคนอาจกำลังติดกันระงมในตอนนี้ เขาคือนักธุรกิจหนุ่มอายุ 40 ปีที่อาจเป็นกรณีศึกษาแก่ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารระดับสูงหลายคนได้เขาเรียนจบด้าน วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) ซึ่งเป็นงานแห่งอนาคตและมีบทบาทในการชี้นำทิศทางธุรกิจ ซึ่งเขาจะได้ใช้มันสร้างแอปตัวหนึ่งที่คนนับ 1,000 ล้านคนใช้กันในอีกไม่กี่ 10 ปีต่อมา

พนักงานหรือเจ้าของกันแน่?

 

ตั้งแต่สมัยเป็นมนุษย์เงินเดือน จาง อี้หมิงมีทัศนคติการทำงานที่ treat ตัวเองและเพื่อนร่วมงานเสมือนเป็น “เจ้าของกิจการ” 

 

เช่น ถ้ามีโปรเจคท์เร่งด่วนเข้า…แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของเขาโดยตรง แต่เขาจะขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาราวกับว่ามันคือหน้าที่หลักของเค้า พร้อมทำ OT อยู่ถึงดึกดื่น พร้อมเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ พร้อมอัพสกิลในเรื่องที่ไม่เก่งเพื่อมาแก้ปัญหานั้นๆ โดยเฉพาะ 

 

เรียกว่าถ้าจะต้องทำงานเกินเงินเดือน…จาง อี้หมิงก็ไม่เกี่ยง

 

ทิ้งโอกาสบริษัทเทคยักษ์ใหญ่

 

จาง อี้หมิงมีอุดมการณ์จุดยืนการทำงานที่แน่วแน่ แม้มีโอกาสได้เข้าทำงานที่ Microsoft ในปี 2008 ซึ่งสำหรับหลายคน อาจเป็นที่ชุบตัวอยู่ยาวหลาย 10 ปีได้เลยทีเดียว 

 

แต่เขาเลือกที่จะลาออกในเวลาต่อมา เพราะก่อนหน้านั้นที่อยู่บริษัทเล็ก เขามีโอกาสได้บริหารทีมและเห็นผลลัพธ์โดยตรงจากสิ่งที่คิด แต่เมื่อมาอยู่ Microsoft เขาพบว่าตัวเองเป็นแค่ฟันเฟืองเล็กๆ ขององค์กรระดับโลก เขาไม่สามารถ contribute ความคิดความสามารถตัวเองได้แบบต้นน้ำ-ปลายน้ำเหมือนเดิมได้อีกต่อไป แถมการทำงานยังมี ระดับขั้น (Hierearchy) มากอย่างเหลือเชื่อชนิดที่เขาไม่เคยคิดมาก่อน (อย่างน้อยก็ในออฟฟิศที่จีนแผ่นดินใหญ่)

 

เมื่อ Microsoft ไม่ตอบโจทย์ เขาตัดสินใจครั้งใหญ่ด้วยการลาออกไป “ก่อตั้งบริษัท” ของตัวเองเป็นครั้งแรก!

 

ยังไม่พอใจกับผลงานตัวเองอีก

 

บริษัทแห่งแรกของเขาคือ 99fang.com บริษัทนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นท่ามกลางการก่อสร้างตึกระฟ้ากันชนิดพลิกโฉมน่านฟ้าทั่วเมืองใหญ่ของจีน บริษัทนี้ไปได้ด้วยดี เขาได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการสวมหมวกเป็นเจ้าของกิจการเต็มตัว

 

แต่มันก็ยังไม่ใช่ประเภทธุรกิจในฝันของเขาจริงๆ เพราะสิ่งที่ต้องการลึกๆ คือโปรดักท์ที่มาเปลี่ยนแปลงชีวิตมวลมหาชนได้ต่างหาก ซึ่งมวลชนในที่นี้ จาง อี้หมิงหมายถึงสเกลระดับโลก

 

หลังจากนั้น เขาหาคนมาสานต่อธุรกิจและถอนตัวมาสร้างบริษัทแห่งหนึ่งในปี 2012 ที่ต่อมาคือบริษัทแม่ของ TikTok บริษัทนั้นคือ “ByteDance”

 

เพราะคนติดมือถือ

 

Steve Job ทำให้คนทั่วโลกเริ่มติดมือถือจากการเปิดตัว iPhone และ Facebook ก็เกิดขึ้นแล้วและกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แถมจีนเองมีแอป Baidu (คล้าย Google) ที่ผู้ใช้งานเติบโตก้าวกระโดดเช่นกัน

 

จาง อี้หมิงนำเทรนด์ที่เกิดขึ้นมาประกอบร่างกันจนมองเห็นโอกาสและได้พัฒนาโปรดักท์สมใจหวังที่มีชื่อว่า Toutiao เป็นแอปข่าวที่ใช้ระบบ AI ในการนำเสนอข่าวสารตามที่เราสนใจ ซึ่งเรียกว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก มีผู้ใช้งานในจีนกว่า 10 ล้านคนในเวลารวดเร็ว

 

จากนั้น นักลงทุนสาย Tech ก็มองเห็นโอกาสการเติบโต จึงได้มาลงทุนมหาศาลกับจาง อี้หมิงจนเขานำเม็ดเงินหลายพันบาทมาสร้างแอปวิดีโอสั้น(ให้บริการเฉพาะในจีน) ที่มีชื่อว่า Duoyin ในปี 2016

 

และเป็น Duoyin เองที่ทำให้ความสำเร็จของ Toutiao ดูเล็กไปเลย เพราะแค่ปีเดียวมีผู้ใช้งาน Duoyin แตะ 100 ล้านคนในจีนไปแล้ว

 

จังหวะนี้เอง จาง อี้หมิงคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ความฝันของเขาในสเกลระดับโลกได้มาถึงแล้ว ในปี 2017 เขาจึงพัฒนาแอป TikTok ขึ้นมาแยกต่างหากจาก Duoyin ในจีนไปเลย และให้บริการใน “ตลาดโลก”

 

ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

 

จาง อี้หมิงรู้ดีว่ากลุ่มคนที่จะขับเคลื่อนโปรดักท์แบบนี้ให้เติบโตระดับโลกได้ดีที่สุดคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ เขาจึงพัฒนาแอปให้ถูกจริตคาแรคเตอร์คนกลุ่มนี้ไม่ว่าจะฟีเจอร์ให้ร้องเพลงลิปซิงค์ ลูกเล่นเอฟเฟกต์และฟีลเตอร์ต่างๆ อัลกอริทึมที่เน้นโปรโมตวิดีโอแบบสั้นและเน้นเนื้อหาแบบเนื้อๆ ตรงประเด็นที่มีความเรียล (Authenticity) พร้อมกับเพิ่มฟังก์ชั่นการช็อปปิ้งออนไลน์ผนวกเข้ากับแอปแบบไม่มีสะดุด 

 

ในมุมของแบรนด์บริษัท TikTok มีความครบวงจรตั้งแต่สร้างการรับรู้ การตลาด แบรนด์ดิ้ง และทำยอดขาย ดังที่เราเห็นจาก TikTok Shop, TikTok Ads, หรือ Affiliate Marketing จบครบในที่เดียว

 

ทุกอย่างต้องง่าย

 

โปรดักท์หนึ่งจะไปสเกลระดับโลกและผู้คนส่วนใหญ่ใช้กันได้ในชีวิตประจำวัน มันต้องมีความง่ายมากพอ เรื่องนี้สะท้อนการคิดของจาง อี้หมิงโดยตรงที่ว่า แอปต้องใช้งานง่ายพอ ตัดทิ้งโปรดักชั่นยากๆ มีฟีเจอร์ที่อำนวยความสะดวกต่อการอัดคลิป แม้คุณจะเป็นมือใหม่ แต่คุณก็สร้างวิดีโอไวรัลใน TikTok ได้!

 

เขายังเอาตัวเองไปเจอ “ปัญหาหน้างาน” โดยกำหนดเป็น KPI ให้ทีมงานพัฒนาต้องสมัครบัญชีเข้าไปเล่นและสวมบทบาทต่างๆ ทั้งเป็นผู้ใช้งานหรือเป็นครีเอเตอร์ ก่อนระบุประเด็นปัญหาเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา

 

ทุกวันนี้ TikTok ประสบความสำเร็จจน Facebook ต้องปรับตัวเร่งด่วน (และทำตัวให้เหมือน TikTok ในบางมุม) จากชายหนุ่มพื้นเพธรรมดา มาวันนี้ จาง อี้หมิงคือคนรวยที่สุดอันดับ 2 ในจีนด้วยความมั่งคั่งเกือบ 2 ล้านล้านบาท เขาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ Talents แบบเราควรศึกษาไม่น้อย

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...