ต้องทำอย่างไร เมื่อลูกน้องขอลาออก

การลาออกเป็นเรื่องปกติ ใคร ๆ ก็ลาออกกันถ้าหากเริ่มรู้สึกว่างานที่ทำอยู่ไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองอยากทำแล้ว หรือว่ารู้สึกว่าสังคมในที่ทำงานไม่ใช่ที่ของตัวเอง มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนทำงานอยากลาออก ถ้ามองในมุมของหัวหน้า ก็คงไม่อยากมีใครให้ลูกน้องออกหรอก แต่แล้วเราควรจะต้องทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหานี้ได้

“การลาออก” เรื่องปกติที่ทุกบริษัทต้องเจอ ยิ่งในยุคที่ทุกคนล้วนขวนขวายหาการเติบโตอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งพนักงานหลายคนยังตัดสินใจที่จะออกจากงานได้ง่ายขึ้น หากรู้สึกว่างานไม่เข้ากับตัวเอง ก็จะเริ่มที่จะหาที่ทำงานอื่นทันที และเหตุผลการออกจากงานก็ยังมีหลากหลายอีกด้วย

 

ซึ่งในชั่วโมงนี้ที่ทุกคนสามารถสมัครงานได้ง่าย มีช่องทางการสมัครหลากหลาย และแหล่งหาความรู้ออนไลน์มากมาย โอกาสในการย้ายหรือเปลี่ยนงานก็ยิ่งทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นบริษัทหรือองค์กรหลาย ๆ ที่ ก็ย่อมมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นที่จะเสียบุคลากรคุณภาพไป หากไม่ได้รักษาเขาไว้ได้ดีมากพอ

 

และถ้าคุณต้องเป็นเจ้านาย หรือมีลูกทีมของตัวเอง ก็คงไม่มีใครอยากให้ลูกทีมลาออก ยิ่งเป็นลูกทีมที่เก่ง มีความสามารถและสามารถทำงานออกมาได้ดี เรายิ่งไม่อยากให้พวกเขาลาออกอย่างแน่นอน แต่บอกเอาไว้เลยว่า ถ้าไม่รักษาเอาไว้ให้ดี บุคคลคุณภาพเหล่านี้ก็สามารถถูกดึงตัวไปยังบริษัทอื่น ๆ ได้โดยง่าย

 

วันนี้ CareerVisa จึงอยากจะมานำเสนอวิธีที่หัวหน้าควรทำ เมื่อได้รับสัญญาณว่าลูกน้องของตัวเองอยากลาออก ลองมาดูตัวอย่างวิธีคร่าว ๆ กัน ว่าเราสามารถลองทำอย่างไรได้บ้าง

 

[5 วิธี ป้องกันไม่ให้ลูกน้องลาออก]

1) มอบโอกาสในหน้าที่การงานใหม่ ๆ : สาเหตุใหญ่ที่คนทำงานลาออกไปที่อื่น คือการได้รับโอกาสในหน้าที่การงานใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ หรือได้รับการเติบโตที่มากกว่า ด้วยเหตุผลนี้ หัวหน้าจึงควรเช็กลูกน้องอยู่เสมอว่า ลูกน้องเรามีความสุขกับการทำงานแบบไหน มีการวางแผน Career Path เอาไว้แบบไหน อยากเติบโตอย่างไร และเมื่อมีโอกาสการเติบโตในหน้าที่การงานใหม่ ๆ ในบริษัท ก็อย่าลืมที่จะเสนอหรือชักชวนลูกน้องของตัวเองให้ได้ทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ เพื่อเป็นการต่อยอดการเติบโตในบริษัทให้กับเขา

 

2) จ่ายเงินให้คุ้มค่ากับงานที่ลูกน้องทำ : ผลตอบแทนคือสิ่งสำคัญแทบจะเป็นอันดับต้น ๆ ของการเลือกงาน พนักงานหลายคนเลือกที่จะเลือกตำแหน่งหรือบริษัทที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า หรือคุ้มกับการทำงานมากกว่า เพราะฉะนั้นบริษัทควรจะต้องยุติธรรมกับการมอบผลตอบแทนหรือเงินที่ให้พนักงานคนหนึ่ง หากเรารู้ว่าพนักงานคนนี้มีความพยายามและทำงานหนัก ก็อย่าลืมมอบผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับเขา เพื่อเป็นการเคารพในความพยายามของพนักงานคนนั้น ๆ

 

3) ให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตของลูกน้อง : หมั่นคอยสังเกตลูกน้องของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะสุขภาพกายและจิต หากรู้ว่าลูกน้องมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือต้องการความช่วยเหลือด้านใดก็ตามเกี่ยวกับสุขภาพและอารมณ์ อย่ามองข้ามจุด ๆ นั้น แต่ให้มอบความช่วยเหลือให้ได้เท่าที่จะทำได้ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง และมีผลกระทบอย่างสูงในการทำงานในที่นั้น ๆ

 

4) ทำความเข้าใจลูกน้องให้ได้มากที่สุด : เจ้านายหรือหัวหน้าหลายคน มักจะไม่เข้าใจความคิดหรือมุมมองของลูกน้อง และพยายามมอบความคิดของตัวเองให้กับลูกน้องของตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้ก็จะทำให้การทำงานยิ่งยากขึ้นสำหรับลูกน้องคนนั้น ๆ สุดท้ายแล้วการที่ไม่ได้รับการเข้าใจจากหัวหน้า ก็จะทำให้ลูกน้องตัดสินใจที่จะลาออกไปหาทีมที่เข้าใจในตัวเองมากกว่านั่นเอง

 

5) มอบคำชมให้กับลูกน้อง : ไม่มีใครอยากทำงานโดยไม่ได้รับคำชมเลย ทุกคนล้วนอยากได้รับกำลังใจเพื่อที่จะได้สร้างสรรค์งานต่ออย่างมีคุณภาพและมีแรงผลักดันให้อยากทำงานมากขึ้น เพราะฉะนั้นการมอบคำชมเมื่อลูกน้องทำงานออกมาได้ดี หรือส่งมอบงานที่ตรงตามที่ต้องการ ก็คือเรื่องที่สำคัญที่หัวหน้าที่ดีควรทำเพื่อไม่ให้ลูกน้องคนหนึ่งหมดกำลังใจและลาออกไปในที่สุด

 

 

การลาออกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ถ้าเราไม่อยากเสียบุคลากรคุณภาพไปจากบริษัท อย่าลืมเรียนรู้ที่จะรักษาเขาเอาไว้ มีหลายวิธีมาก ๆ ที่เราจะสามารถสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรที่น่าอยู่ และมอบการเติบโตให้กับพนักงานได้ อย่าลืมรักษาคนที่มีความสามารถกันไว้ให้ดีนะ

 

 

อ้างอิง : https://www.jobvite.com/blog/employment-branding/how-to-prevent-your-employees-from-leaving/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...