เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ

การประเมินผลการทำงาน

การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?

การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน ทั้งนี้การประเมินผลงาน ถูกจัดขึ้นเพื่อทำให้ตัวเองได้เข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนในการทำงานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งไม่ว่าใครตำแหน่งไหนก็ต้องผ่านการถูกประเมินผลการทำงานประจำปีทั้งนั้น

การประเมินผลการทำงาน มีขึ้นเพื่ออะไร?

1) วัดผลการทำงานหรือผลการปฏิบัติงาน: มีไว้เพื่อประเมินว่าพนักงานแต่ละคนสามารถทำงานได้ตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้หรือไม่ และมีข้อดีหรือข้อเสียในการทำงานอย่างไรเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข

2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะกับผู้ถูกประเมิน: การประเมินจะช่วยให้ข้อแนะนำและข้อเสนอแนะในการทำงานให้กับพนักงานได้มากยิ่งขึ้น

3) เพื่อวางแผนพัฒนาบุคลากร: เพื่อวางแผนการฝึกอบรมหรือพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรและตัวพนักงานเอง

4) เพื่อสร้างการตัดสินใจเรื่องอนาคต: ทำให้พนักงานเข้าใจเรื่องการปรับเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง และการพิจารณาเลิกจ้าง (ถ้ามีความจำเป็น) มากยิ่งขึ้น

5) เป็นการสร้างแรงจูงใจ: เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมุ่งมั่นในการพัฒนาตัวเองในการทำงานเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้มากยิ่งขึ้น

การประเมินผลการทำงานที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร?

1) มีความชัดเจนและสามารถเข้าใจได้ง่าย

มีการตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนที่สามารถวัดผลได้ และสอดคล้องกับความรับผิดชอบและหน้าที่ของพนักงานแต่ละคน โดยต้องมีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน เช่น การใช้เกณฑ์มาตรฐาน หรือการสร้างตัวชี้วัดหรือ KPI ขึ้นมาให้จับต้องได้ อีกทั้งยังควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายในการประเมินอีกด้วย

2) มีความยุติธรรมและเป็นธรรม

การประเมินแต่ละครั้งควรมีหลักฐานการสนับสนุน เช่น ผลงานที่ผ่านมา ข้อเสนอแนะจากเพื่อนร่วมงานคนอื่นหรือการสำรวจความคิดเห็น อีกทั้งยังควรพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อม และควรเลี่ยงการใช้อคติของตัวเองในการประเมิน

3) เน้นการประเมินที่ช่วยในการพัฒนาตัวเอง

ให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์ มีการตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างคนประเมินกับพนักงานที่ถูกประเมิน อีกทั้งยังควรวางแผนพัฒนาอย่างชัดเจน

4) มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

ไม่ใช่ว่าประเมินแล้วจบเลย แต่อย่าลืมที่จะคอยติดตามผล และมีการประเมินอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น

5) เน้นที่ผลลัพธ์และสร้างความมั่นใจ

ควรวัดด้วยผลลัพธ์ที่จับต้องได้และเป็นรูปธรรม มีตัวเลขที่มองเห็นได้ชัดเจน อีกทั้งกระบวนการที่ใช้ประเมินควรโปร่งใส และสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและผลการประเมินควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานว่าองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร

เราควรเตรียมตัวก่อนการประเมินสิ้นปีอย่างไร?

1) ทบทวนเป้าหมายงานของตัวเองและผลงานที่ผ่านมา

นำเป้าหมายที่ตั้งไว้ในต้นปีมาเทียบกับผลงานที่ทำได้จริงว่าเราสามารถบรรลุเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหนและอะไรคืออุปสรรคที่เจอระหว่างการทำงาน อีกทั้งอย่าลืมที่จะเตรียมตัวอย่างหรือเอกสารที่แสดงถึงผลงานเอาไว้ก่อนที่จะเข้าร่วมการประเมิน และนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์หาสิ่งที่เราทำได้ดี สิ่งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง

2) เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการพูดคุยและถูกประเมิน

อย่าลืมจดคำถามที่อยากถามหัวหน้างานไว้ล่วงหน้า เช่น คำถามที่เกี่ยวกับโอกาสในการเติบโตในอนาคต หรือความคาดหวังของหัวหน้างานที่มีต่อเรา และอย่าลืมฝึกพูดถึงผลงานออกมาให้ได้อย่างมั่นใจ เน้นจุดเด่นและอธิบายถึงบทเรียนที่ได้เรียนรู้อย่างชัดเจน สุดท้ายให้เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของหัวหน้างานอย่างตรงไปตรงมา เพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานในอนาคต

3) ตั้งเป้าหมายสำหรับปีต่อไป

นำ SMART Framework เข้ามาทำให้การตั้งเป้าหมายชัดเจนขึ้น ซึ่งเป้าหมายที่ดีควร Specific (เจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (ทำได้จริง), Relevant (เกี่ยวข้อง) และ Time-bound (มีกำหนดเวลา) อีกทั้งอย่าลืมขอคำแนะนำจากหัวหน้างานเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง และร่วมกันวางแผนการพัฒนาในปีต่อไป

4) เตรียมจิตใจให้แข็งแกร่ง

เชื่อมั่นในความสามารถและผลงานของตัวเอง พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างและนำไปปรับปรุงตนเอง และอย่าลืมที่จะมองโลกในแง่ดี ให้มองการประเมินเป็นโอกาสในการพัฒนาตนเอง ไม่ใช่การถูกตัดสิน

ควรทำอย่างไรหากผลประเมินไม่เป็นไปตามที่หวัง?

หากผลประเมินออกมาไม่เป็นไปตามที่คุณคาดหวัง อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ เพราะนี่คือโอกาสที่ดีในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง ลำดับแรก ควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นจากหัวหน้างานและมองหาสาเหตุที่แท้จริงของคะแนนที่ต่ำลง ไม่ว่าจะเป็นทักษะที่ยังต้องปรับปรุง หรือเป้าหมายที่อาจตั้งไว้สูงเกินไป จากนั้นให้พูดคุยกับหัวหน้างานเพื่อขอคำแนะนำเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีแก้ไขปัญหา หรือวิธีพัฒนาทักษะในด้านที่ยังไม่สมบูรณ์ คุณอาจขอวางแผนร่วมกันในเชิงปฏิบัติ เช่น การเข้าร่วมอบรม การปรึกษาเพื่อนร่วมงาน หรือการกำหนดเป้าหมายใหม่ที่ชัดเจนและทำได้จริง อย่าลืมว่าความล้มเหลวในผลประเมินครั้งนี้เป็นเพียงก้าวหนึ่งในเส้นทางอาชีพของคุณ และการปรับปรุงตัวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณก้าวไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

การประเมินผลการทำงานประจำปีไม่ใช่แค่การรายงานผลงาน แต่เป็นโอกาสทองที่จะช่วยให้เราได้เติบโตในสายอาชีพอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ตามอย่าลืมเตรียมตัวในการประเมินแต่ละครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง และสร้างความประทับใจให้กับหัวหน้า

การประเมินผลเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเราและหัวหน้างาน เพื่อหาทางพัฒนาศักยภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น จงเปิดใจรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประเมินนี้ให้ได้มากที่สุด

อ้างอิง: 

https://www.qualtrics.com/experience-management/employee/performance-appraisal/ 

https://www.indeed.com/career-advice/career-development/performance-evaluation 

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...