Toxic Culture กับมุมมองของ Gen Z: เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่ทนต่อองค์กรที่เป็นพิษ

Toxic culture

กลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z อาจไม่ได้ขี้เกียจหรือเกี่ยงงานอย่างที่ใครหลายคนกำลังคิดและ Stereotype จากการเก็บข้อมูลในหลายสำนักวิจัยพบว่า พนักงานกลุ่มนี้เพียงแค่ไม่อยากเป็นเหมือนรุ่นพ่อแม่ที่ถวายชีวิตให้กับงานจนไม่มีเวลาให้ลูก และคนกลุ่มนี้ยังเติบโตมาในยุคที่ใบปริญญาไม่ได้การันตีความมั่นคงของงาน แถมยังมีความกดดันจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย แถมยังมีปัญหา Toxic Culture อีกด้วย ปรากฎการณ์ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่ทนกับงานไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก

ในสหรัฐอเมริกาเองก็มีการเคลื่อนไหวจากกลุ่มแรงงาน เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกการทำงานล่วงเวลาในกลุ่มคนอายุ 20 กว่า และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในองค์กร ทั้งองค์กรระดับโลกอย่าง Starbucks, Amazon, Home Depot ไปจนองค์กรขนาดเล็ก พนักงานที่เกิดในปี 1997 ถึง 2012 ไม่ใช่เด็กอีกต่อไป คนกลุ่มนี้ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีในองค์กร ให้ความสำคัญกับความยุติธรรม (Fairness) มากกว่าสิ่งอื่นใด จะไม่ยอมทนกับมาตรฐานและพฤติกรรมที่บิดเบี้ยวในองค์กร

ใช้โซเชียลมีเดียแก้ไขรูปแบบความสัมพันธ์ที่บิดเบี้ยวระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง

คน Gen Z เลือกที่จะ “ปฏิเสธ” สิ่งที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งความคิดนี้แตกต่างจากคนรุ่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นการสั่งงานนอกเวลางาน หัวหน้าที่ไม่น่าเคารพ และงานที่ไม่มีขอบเขตตามที่ตกลงกันไว้ ด้วยความคิดนี้เอง Gen Z พร้อมเผชิญหน้ากับหัวหน้างานโดยไม่เกรงกลัวเหมือนคนเจเนอเรชั่นก่อน ๆ แต่พบว่ามีพนักงานเพียง 8% เท่านั้นที่รายงานความ Toxic ในองค์กร อาทิ การบูลลี่ในที่ทำงาน การล่วงละเมิศทางเพศ หรือการเหยียดเชื้อชาติผ่านช่องทางที่องค์กรจัดไว้ให้ เพราะไม่ศรัทธาในช่องทางดังกล่าวและมองว่าอาจสร้างปัญหาในอนาคตเพิ่มอีก Gen Z จึงเลือกใช้วิธีการที่พวกเขาถนัดที่สุด นั่นคือกรเติบโตมาท่ามกลางโลกดิจิทัล ด้วยการต่อสู้ผ่านโซเชียลมีเดียและช่องทางต่าง ๆ บนโลกออนไลน์อีกด้วย ไม่ใช่เฉพาะในออฟฟิศหรือการพูดคุยกันแบบตัวต่อตัวกับหัวหน้างานเท่านั้นเเหมือนกับรุ่นพี่ที่เคยทำมาในอดีต ตัวอย่างเช่นการติดแฮชแท็ก #MeToo เพื่อสื่อถึงการถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน (Sexual Harrassment) ผ่านทาง Twitter หรือการให้ความรู้เรื่องสิทธิของพนักงานไปทั่วโลกภายในไม่กี่วินาทีผ่านแพลตฟอร์ม Tiktok อย่างสร้างสรรค์อีกด้วย

ส่วนประกอบของความ Toxic Culture ในองค์กรมีอะไรบ้าง?

The Toxic Five เป็นตัวอย่างของสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษในการทำงานจากมุมมองของพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานคนอายุน้อย ได้แก่ การไม่ให้เกียรติ (Disrespectful) , การแบ่งแยก (Noninclusive) , การผิดจรรยาบรรณ (Unethical) , การห้ำหั่นหักหลัง (Cutthroat) , และการล่วงละเมิด (Abusive) สถานการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ว่าในอดีตไม่เคยเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลายองค์กรเผชิญ และล้วนไม่มีใครชอบ แม้แต่กลุ่ม Babyboomer, Gen X, หรือ Gen Y ก็ตาม แต่ในสมัยหนึ่งพนักงานรุ่นเดิมกลับมองว่าตนเองไม่มีทางเลือก ได้แต่เลือกที่จะทนหรือร้องเรียนอยู่เงียบ ๆ เท่านั้น ในมุมกลับกันหากใครทนได้ ไม่เหลาะแหละลาออกหนีปัญหา ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นคนอึด แกร่ง เก่งในสายตาของหัวหน้างานและครอบครัวอีกด้วยจนกลายเป็นวัฒนธรรม รวมถึงสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมก็ส่งผลต่อการคิดและตัดสินใจของคนในแต่ละเจเนอเรชั่นที่แตกต่างกัน

สิ่งเหล่านี้เป็นพิษกับอะไรบ้าง?

การทำงานในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษนี้ นำไปสู่ความเครียดของพนักงาน อาการ burnout ปัญหาสุขภาพจิต และยังนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทางกายได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด เบาหวาน และโรคข้ออักเสบที่สูงขึ้นจาก 35% เป็น 55% อีกด้วย ซึ่งเป็นบ่อเกิดของปรากฎการณ์ The Great Resignation

ผู้นำเป็นจุดเริ่มต้นอันดับหนึ่งของความเป็นพิษในองค์กร

จากการศึกษาข้อมูลหลายพบความสัมพันธ์สัมพันธ์ (correlation) ระหว่างปัจจัยเหล่านี้และวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกมองว่าเป็นพิษ ซึ่งผู้นำ (Leadership) เป็นปัจจัยที่ส่งผลเป็นอันดับหนึ่ง ผู้นำในระดับสูงส่งต่อวัฒนธรรมการทำงานในสไตล์ของตัวเองไปยังหัวหน้างานลำดับถัดไปที่จ้างเข้ามาและสอนงานต่อ แต่ถึงแม้ผู้นำสูงสุดจะเป็นแบบอย่างที่ดี ผู้นำระดับต้นและหัวหน้างานก็สามารถสร้างวัฒนธรรมในระดับทีมย่อยที่แตกต่างกันได้ ถึงแม้ว่าจะมีนโยบายขององค์กรเดียวกันกำกับอยู่ก็ตาม

แค่ไหนจึงเรียกว่า Toxic Culture

ถึงแม้ว่าความรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นเรื่องส่วนบุคคล มีความแตกต่างกันตามตัวบุคคล แต่เมื่อใดก็ตามที่พนักงาน 1 คนจากทุก 4 คนเริ่มรู้สึกถึงความ Toxic ในองค์กร เมื่อนั้นแปลเป็นนัยได้ว่า วัฒนธรรมองค์กรนั้น ๆ กำลังมีป้ญหา

การแก้ปัญหา Toxic Culture เป็นของทุกคน แต่ต้องเริ่มโดยผู้นำ

ผู้นำหลายองค์กรเลือกที่จะนำการแก้ปัญหาเรื่องนี้ไปผูกกับตัวเลขทางธุรกิจ เช่น ค่าใช้จ่ายจากการลาออก หรือ ค่ารักษาพยาบาลพนักงาน ทั้งที่จริงแล้วต่อให้ไม่มีเรื่องตัวเลขเหล่านี้ ปัญหา Toxic Workplace เป็นเรื่องของคนทุกเจเนอเรชั่นในองค์กรที่ต้องจัดการและไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้นำองค์กร หัวหน้างาน หรือฝ่ายบุคคลผู้มีสิทธิและอำนาจที่ถูกต้องจึงควรตรวจสอบความจริงโดยไม่มี Bias ไม่ยึดติดกับความเคยชินที่อยู่ร่วมกันมาแบบนี้ตั้งแต่อดีต และลงมือนำการแก้ไขปัญหาตัดวงจรแต่เนิ่น ๆ ไม่ปล่อยให้ลุกลามจน Gen Z ต้องลุกขึ้นมาแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียหรือแห่ลาออกจนเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตให้กับธุรกิจกำลังจะต้องเติบโตต่อและต้องพึ่งพาคนรุ่นใหม่ที่จะไปกับอนาคตขององค์กร

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...