Think Aloud : เทคนิคปิ๊งไอเดียแบบเรียบง่าย

Think Aloud
ลึกๆ ไม่ OK หรอก แต่คนอื่นเห็นด้วยหมด ก็เลย "ตามน้ำ" ไป // ตอบ YES! กลางที่ประชุม ทั้งๆ ที่ในใจตอบ NO! หัวชนฝา อาการที่ย้อนแย้งในการทำงานนี้เรียกว่า “Abilene Paradox”

เคยไหม? จะเสนอไอเดียซักอย่างกลางที่ประชุมต้อง “คิดแล้ว-คิดอีก” กลั่นกรองออกมาให้เป็นคำพูดที่เป๊ะฟังดูชาญฉลาด (กลัวโดนคนอื่นหาว่าโง่) แต่ในทางปฏิบัติ ไอเดียบรรเจิดไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ แล้วมันมีเทคนิคอะไรไหมที่ “เรียบง่าย” แต่เวิร์ค ประหยัด ไม่เป็นทางการ และใช้ได้กับทุกคน ? เทคนิคที่ว่านี้เรียกว่า Think Aloud

เทคนิคเฟ้นหาไอเดียแสนเรียบง่าย

Think Aloud หรือการ “คิดแบบออกเสียง(ดังๆ)” เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ที่บริษัท IBM เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1982 โดยคุณ Clayton Lewis

Think Aloud เป็นเทคนิค “เฟ้นหาไอเดีย” แบบเรียบง่ายที่ใช้ประโยชน์จาก “สัญชาตญาณ” ความรู้สึกของคนเราในตอนนั้น เป็นเหมือนหน้าต่างสู่จิตวิญญาณ (Window to the soul) ไม่ใช่แค่สิ่งที่สมองคิด และลึกลงไปถึง “จิตใจ” ความรู้สึกข้างใน

Think Aloud

ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ Think Aloud ถือเป็น “กิจกรรม” อย่างหนึ่งของทีม

  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน 
  • ได้โต้แย้งไอเดียนั้นทันที เกิดการตกผลึก
  • สานความสัมพันธ์ด้วยกัน (เพราะมักไม่เป็นทางการ)
  • รู้จักตัวตนเพื่อนร่วมงานลึกซึ้งขึ้น

วิธีการทำ Think Aloud

วิธีการคือ ให้เฉพาะ “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” มานั่งรวมกลุ่มกัน ทำบรรยากาศให้ “ผ่อนคลาย” สบายๆ ไม่เป็นทางการ ก่อนตั้ง “โจทย์” ที่ต้องการหาคำตอบร่วมกัน แล้วให้แต่ละคนพูดเสนอไอเดียอะไรขึ้นมาก็ได้ที่ “แว่บ” ขึ้นมาในหัวทันทีทันใด ณ ตอนนั้น

Think Aloud

ไม่ว่าไอเดียนั้นจะไกลตัว / แปลกแหวกแนว / สวนกระแสหลัก / ดูไม่เกี่ยวข้อง / ไม่น่าเป็นไปได้ / หรือแม้แต่ฟังดูโง่เขลาแค่ไหนก็ตาม…ย้ำว่าเป็นอะไรก็ได้เลย ไม่ต้องเป็นไอเดียคำพูดที่ชาญฉลาดเสมอไป

จากนั้น ให้จดบันทึกสิ่งที่พูด รวบรวมออกมาก่อนจะ “จัดระเบียบ” ความคิดในภายหลัง

เช่น โจทย์คือออกแบบ “Packaging ที่เปิดใช้งานง่ายขึ้น” เมื่อใช้เทคนิค Think Aloud อาจทำให้คุณแว่บนึกถึง… 

  • การพับกระดาษโอริกามิแบบญี่ปุ่น
  • วัสดุที่รีไซเคิลได้ 
  • ถ้าเล็บนิ้วมือสั้น(หรือไม่มีเลย) จะทำยังไง?
  • การเก็บไว้บริเวณอุณหภูมิที่ร้อนชื้น
  • ค่าแรงที่เป็นธรรมของพนักงานในโรงงาน
  • ประสบการณ์หลังเปิด เช่น แกะเปิดไปแล้วเจอคำขอบคุณ

สุดท้ายเราจะเห็นว่าไอเดียที่แว่บขึ้นมา แม้ไม่ได้เกี่ยวกับ Function การใช้งานของแพกเกจจิ้งโดยตรง แต่ล้วนเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่แบรนด์ยุคใหม่ควรต้องให้ความสำคัญทั้งสิ้น และยังช่วยให้เรารอบคอบในความคิดมากขึ้น เช่น ประสบการณ์หลังเปิดที่เป็น Post-Experience เปิดไปแล้วเจอคำขอบคุณ

สิ่งที่พรั่งพรูออกมาจากการคิดแบบออกเสียง(ดัง ๆ )อาจดูเป็นไอเดียธรรมดาๆ ที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องกันแต่แรก แต่เมื่อเรานำมาปัดฝุ่น นำมาจัดระเบียบความคิด ก็นำไปสู่ “ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ” ที่เราโหยหาได้นั่นเอง

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...