วิธีสรุปการเงินของคุณ ไว้ในแผ่นเดียว แค่ทำตามขั้นตอนนี้ จากหนังสือ The One-Page Financial Plan

The One-Page Financial Plan

สำหรับใครที่อยากจัดการ การเงินของตัวเองให้เป็นระเบียบกว่าเดิม วันนี้ CareerVisa อยากมาแนะนำการทำสรุปการเงินไว้ให้ครบ จบในแผ่นเดียว จากหนังสือ The One-Page Financial Plan โดย Carl Richards

โดยคุณจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ตามสะดวก ลงในกระดาษ 1 แผ่น ให้เห็นภาพนี้อยู่เสมอ โดยหยิบมาดูทบทวนทุกๆ 3 เดือน

ซึ่งกระดาษ 1 แผ่น ประกอบด้วย 8 ส่วนสำคัญ ดังนี้

ส่วนที่ 1 Values เงินสำคัญสำหรับคุณอย่างไร

  • Life Purpose: ระบุเหตุผลว่าทำไมเงินถึงสำคัญสำหรับคุณ
  • Financial Mission: เป้าหมายทางการเงินของคุณ
  • Priority Areas: ลำดับความสำคัญของการใช้เงินในชีวิตคุณ

ส่วนที่ 2 Cashflow Summary งบการเงิน

  • รายได้ต่อเดือน
  • รายจ่ายคงที่ (Fix)
  • รายจ่ายผันแปร
  • จ่ายหนี้ต่อเดือนเท่าไหร่
  • อัตราการออม
  • เหลือเท่าไหร่

ส่วนที่ 3 Goal Status เป้าหมายทางการเงิน

เป้าหมายทางการเงินของคุณเป็นอย่างไรบ้างแล้วในรูปแบบตาราง ตัวอย่าง เช่น

  • เป้าหมาย : เงินฉุกเฉิน
  • เป้าหมาย : 50,000 (฿)
  • ปัจจุบัน : 25,000 (฿)
  • ความคืบหน้า : 50% (%)

ส่วนที่ 4 Asset Allocation สินทรัพย์ที่มี ว่าภาพรวมทั้งหมดมี สินทรัพย์แต่ละประเภทอยู่กี่ % เช่น

  • หุ้น: 20 %
  • พันธบัตร:15%
  • อสังหาริมทรัพย์: 20%
  • เงินสด:40%
  • ทองคำ:5%

ส่วนที่ 5 Net Worth History มูลค่ารวมของความมั่งคั่ง

แบ่งเป็น สินทรัพย์ หนี้สิน และมูลค่าสุทธิ เช่น

  • ปี : 2023
    • สินทรัพย์ : 500,000
    • หนี้สิน : 100,000
    • มูลค่าสุทธ์ : 400,000

ส่วนที่ 6 การจัดการภาษี

  • แบ่งเป็นส่วนที่ เสียภาษี และ ไม่ต้องเสียภาษี
  • อะไรบ้างที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ เช่น
  • ประกันชีวิตและสุขภาพ 20,000 บาท
  • กองทุน RMF/SSF 100,000

ส่วนที่ 7 Action Items (Now) สิ่งที่ต้องทำตอนนี้ เช่น

  • ทำประกันชีวิต
  • เพิ่มเงินออมฉุกเฉิน
  • ปรับสัดส่วนการลงทุน
  • จัดการหนี้บัตรเครดิต

ส่วนที่ 8 Action Items (Future) แผนสำหรับอนาคต

เช่น

  • แผนสำหรับ Q4 2025
    • ทบทวนพอร์ตการลงทุน
    • เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น วางแผนภาษีปลายปี
    • ศึกษาการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

หมั่นทบทวนและคอยปรับแผน

แผนทั้งหมดนี้ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้เสมอ

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...