Soft Skills ที่องค์กรควรมองหาจากพนักงานใหม่

Soft Skill
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา องค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีมากขึ้น แต่ทักษะ Soft Skill กลับมีความสำคัญสูงขึ้น เนื่องจากงานหลายอย่างที่ต้องใช้การสื่อสารและความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีได้ ในอนาคต งานที่ใช้ Soft Skill จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมากในตลาดแรงงาน

หลายปีที่ผ่านมา ผู้บริหารและพนักงานส่วนใหญ่เทความสนใจไปลงทุนในการพัฒนา Hard Skill โดยเฉพาะทักษะทางด้านเทคโนโลยีและการทำ Automation เพราะเชื่อว่า ระบบต่างๆเหล่านี้ทำงานได้แม่นยำแน่นอน และลดปัญหากวนใจได้มากกว่าการทำงานของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์และความผิดพลาด ทำให้การพัฒนาคนและพัฒนาตนเองในด้าน Soft Skills ลดความสำคัญลง จากเดิมที่เคยลงคอร์สพัฒนาด้านการสื่อสาร ภาวะผู้นำ หรือความคิดสร้างสรรค์ ก็กลับเปลี่ยนไปเรียนรู้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการใช้เครื่องมือการตลาดออนไลน์ การเขียนโค้ดและโปรแกรม หรือการทำงานโดยใช้ซอร์ฟแวร์ต่างๆ และเมื่อบริษัทลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มเติม ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพัฒนาพนักงานอีกต่อไป

แต่หากพิจารณาให้ลึกลงไป ในเมื่อเทคโนโลยีกำลังจะเข้ามาแทนที่การทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์แล้ว คุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์จึงอยู่ที่ Soft Skill ซึ่งถ้าดูเฉพาะงานที่หุ่นยนต์ไม่สามารถแทนที่คนได้นั้น ส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้ Soft Skills ทั้งนั้น แต่งานที่ใช้ Soft Skill มากๆ เหล่านี้ เช่น งานบริการ หรืองานประสานงาน ในสังคมไทยกลับได้รับการให้คุณค่าและค่าตอบแทนที่ต่ำกว่างานที่หุ่นยนต์มาแทนที่ได้ด้วยซ้ำ ดังนั้น องค์กรควรพิจารณาโอกาสที่จะพัฒนาบทบาทงานและค่างานที่เพิ่มขึ้น สำหรับงานที่ใช้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ควบคู่กันไป และไม่สามารถขาดอย่างใดอย่างหนึ่งได้ การทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ถ้าคนทำงานไม่เข้าใจความต้องการของลูกค้าที่แท้จริงและขาดศิลปะในการสื่อสารและสร้างสรรค์ต่อยอด

คุณค่าของ Soft Skills ในตลาดแรงงาน

Accenture Strategy เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ในรายงานเรื่อง Harnessing Revolution: Creating the Future Workforce ที่บอกว่า การที่องค์กรช่วยอัพสกิลทางด้าน Soft Skill ให้กับพนักงานจะช่วยลดอัตราการสูญเสียงานให้กับ automation ในขณะที่ Deloitte ได้คาดการณ์ไว้ว่าในปี 2030 อาชีพที่ใช้ Soft Skill เป็นหลัก จะมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของงานทั้งหมดในตลาด และการที่องค์กรจ้างพนักงานที่มี Soft Skill เข้ามาทำงานยังจะช่วยเพิ่มรายรับขององค์กรได้มากกว่า 90,000 เหรียญสหรัฐอีกด้วย

ทักษะ Soft Skills ที่สำคัญในยุคปัจจุบัน

  • Curiosity & Creativity หุ่นยนต์ หรือเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในความคิดสร้างสรรค์ของคนทำงาน ดังนั้น โลกการทำงานจะพัฒนาต่อได้ต้องมีคนที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียใหม่ๆ ที่เกิดจากความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับองค์กร ความเปลี่ยนแปลงของโลก และวิธีการทำงาน ซึ่งต้องใช้สัญชาตญาณที่มากกว่าการคำนวณของเครื่องจักร สิ่งที่พนักงานใหม่ควรแสดงออกในช่วงแรก เพื่อเพิ่มโอกาสอยู่รอดและประสบความสำเร็จท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ คือควาอยากรู้อยากเห็นในเรื่องขององค์กร เพื่อนร่วมงาน ลูกค้าที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล และวิธีการทำงานใหม่ๆ และแสดงให้เห็นถึงความคิดที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ คิดต่อยอดในแผนงานหรือกลยุทธ์เดิมที่มีอยู่เสมอ

  • Emotional intelligence ในยุคที่ต้องทำงานที่บ้าน ทำงานกับคนต่างทีมบนภารกิจพิเศษ ต้องทำงานกับทีมใหม่ๆ จากการควบรวมกิจการ ทำงานกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อหา New S-Curve ให้กับธุรกิจ และเจอแต่ความไม่แน่นอนของธุรกิจ การมีความฉลาดทางอารมณ์และวุฒิภาวะกลายเป็นสิ่งจำเป็นมากในการอยู่ร่วมกันแบบสร้างสรรค์ และนี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้พนักงานต่างจากหุ่นยนต์ ในฐานะพนักงานใหม่ ทักษะนี้จำเป็นมากเพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลและความร่วมมือมากพอที่จะทำให้ผ่านช่วงทดลองงานไปได้อย่างสวยงามและสามารถเดินหน้าต่อได้อย่างเต็มศักยภาพด้วยการสนับสนุนจากคนรอบข้างที่ต้องร่วมงานกัน

  • Initiative & Creative Risk-Taking ทักษะในการลงมือทำและเสี่ยงในระดับที่พอดี ปรับตัวและปรับเปลี่ยน เพื่อสร้าง ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ (Tangible Impact) ให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่ต่างคนต่างทำงานในต่างสถานที่กัน การส่งมอบผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอัน วัดผลได้ จะทำให้เกิดความเชื่อใจและนำไปสู่ความสำเร็จในสายอาชีพ ในฐานะพนักงานใหม่ ต้องแสดงให้เห็นว่ากำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร มากกว่าแค่การทำงานตามคำสั่งเดิมๆ และแผนงานเดิมๆที่วางไว้โดยไม่มีอะไรใหม่ที่เพิ่มคุณค่าในงาน

การพัฒนาในสภาพแวดล้อม Hybrid

การจะพัฒนา Soft Skill ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Hybrid นั้น ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง (Empathy) และการออกแบบการเรียนรู้สำหรับแต่ละบุคคลแบบขั้นสูง (Hyper Personalization) เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ที่ไหน เมื่อไหร่ เรื่องใด ก็ได้ที่จะทำให้พนักงานหนึ่งคนประสบความสำเร็จในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวไปพร้อมๆกัน นอกจากนี้ การพัฒนา Soft Skill ยังถือเป็นงานที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน (Equal Responsibility) ระหว่างองค์กรและพนักงานเพราะองค์กรไม่สามารถรับผิดชอบกับอนาคตของพนักงานได้ทุกคน และพนักงานเองก็ไม่สามารถพัฒนาตัวเองโดยไม่สนใจโจทย์ขององค์กรได้เช่นกัน ดังนั้น ในฐานะนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องทำงานร่วมกับหลายฝ่ายเพื่อให้องค์กรสนับสนุนและเปิดโอกาสให้พนักงาน fail fast, learn faster ผ่านนโยบายและวิธีบริหารบุคลากรในระดับองค์กรและระดับทีมด้วยเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work

ตัวอย่างจากองค์กรดัง

  1. Google: Google มุ่งเน้นการพัฒนา Soft Skill ของพนักงานผ่านโปรแกรม “g2g” (Googler-to-Googler) ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในหมู่พนักงาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ
  2. IBM: IBM ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ Emotional Intelligence และได้จัดฝึกอบรมเพื่อช่วยให้พนักงานพัฒนาทักษะนี้ โดยการเน้นการทำงานร่วมกันในทีมข้ามฟังก์ชันและการปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
  3. Salesforce: Salesforce ใช้การฝึกอบรมในด้าน Initiative & Creative Risk-Taking เพื่อสนับสนุนพนักงานให้กล้าแสดงความคิดใหม่ ๆ และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในองค์กร โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้พนักงานสามารถทดลองและเรียนรู้จากความผิดพลาด
  4. Deloitte: Deloitte ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะ Soft Skill ผ่านการจัดโปรแกรมการฝึกอบรมที่เน้นการสื่อสารและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมพนักงานสำหรับความท้าทายในการทำงานในอนาคต
  5. Accenture: Accenture มีแนวทางการพัฒนาทักษะ Soft Skill ในการช่วยลดอัตราการสูญเสียงานจาก Automation โดยเน้นการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารและทำงานร่วมกัน

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

generation
จะทำอย่างไร? หากต้อง "ทำงานกับคนต่าง Generation" ที่คิดไม่เหมือนกัน
Generation กับความคิดที่ไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไร?ความท้าทายของการทำงานร่วมกับคนที่ต่างอายุ ต่างช่วงวัย หลายครั้งไม่ใช่ความสามารถในการทำงานหรือประสบการณ์ที่มากกว่ากัน...
Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...