ทำไมต้องใช้ RPA ในงาน HR? ให้หุ่นยนต์ทำงานแทนเรา แล้วโฟกัสกับงานที่ต้องใช้คนจริง ๆ

Robotic Process Automation

ให้หุ่นยนต์ทำงานแทนเรากันเถอะ ! แล้วเอาเวลาไปโฟกัสกับงานที่ต้องใช้ ‘คน’ จริง ๆ ดีกว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมา พวกเราอาจจะเคยได้ยินคำว่า RPA หรือชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Robotic Process Automation ในงานส่วนอื่น ๆ ขององค์กร เช่น งานเอกสารและบัญชี งานบริหารข้อมูลลูกค้า หรืองานปฏิบัติการอื่น ๆ

.

วันนี้แคเรียร์วีซ่าจะขอนำตัวอย่างโอกาสในการนำเทคโนโลยีและกระบวนการอัตโนมัติมาใช้ในงานด้านบุคคลกันบ้าง พูดง่าย ๆ คือการที่เราใช้ซอฟต์แวร์ หุ่นยนต์ หรือ เอไอ มาช่วยทำงานแทน โดยเฉพาะพวกที่ต้องทำซ้ำ ๆ ตามกฎเดิม ๆ ตายตัวในกระบวนการงาน HR เพื่อให้ทำงานเสร็จแบบอัตโนมัติ คิดง่ายที่สุดก็คงจะเป็นงานประเภทที่ต้องคีย์ข้อมูลพนักงานมหาศาล การบันทึกขาดลามาสาย การจัดเรียงข้อมูล ประมวลผลข้อมูล การคำนวณโอทีหรือการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายและเงินเดือนที่ทีมงาน HR เราต้องใช้เวลาทำค่อนข้างนาน ทำซ้ำๆ แถมยังมีโอกาสผิดพลาดได้ง่ายเมื่อใช้คนทำงานนั้น ๆ เกิดความล่าช้าหรือหลงลืมที่จะทำงานนั้น ๆ จนเลยเวลาไปแล้ว

Robotic Process Automation (RPA) ในงาน HR คืออะไร?

Robotic process automation (RPA) หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและ ‘บอท (bots)’ เพื่อทำให้งานที่ทำโดยมนุษย์เกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะกระบวนการทางธุรกิจและการปฏิบัติการตั้งแต่แบบง่ายไปจนถึงแบบที่ซับซ้อนขึ้นที่อาจใช้ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์และระบบประมวลผลอัตโนมัติอีกด้วย

Software bots คือ หุ่นยนต์ที่ทำงานแบบตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้า สามารถเรียนรู้วิธีการที่จะทำงานให้ดีขึ้นและซับซ้อนขึ้นได้ เช่น สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้โดยเลียนแบบกระบวนการและรูปแบบการสื่อสารของมนุษย์ บางครั้งสามารถเข้าใจข้อมูลและคาดเดาเหตุการณ์ต่าง ๆ จากข้อมูลได้เหมือนมนุษย์

Artificial intelligence (AI) หรือที่เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คือเทคโนโลยีที่มีความสามรถดำเนินงานและแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ภายใต้สิ่งที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ โดยหากจะเพิ่มระดับความสามารถ จะแบ่งง่าย ๆ ออกเป็น 1) Machine Learning เพิ่มความสามารถในการจับประเด็นและเรียนรู้ของหุ่นยนต์ ด้วยอัลกอริทึมหรือสูตรในการประมวลผลเพื่อให้สามารถให้คำแนะนำหรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ เช่น การฟีดคอนเทนต์แนะนำบนโลกโซเชียลมีเดีย 2) Deep learning : ความสามารถที่จำลองมาจากสมองของมนุษย์ สามารถเข้าใจข้อมูลที่มีความซับซ้อนในเกือบทุกมิติได้ ตีความหมายทั้งภาพและเสียงจนนำไปสู่เทคโนโลยีอย่างเช่นรถอัตโนมัติที่ไร้คนขับ เครื่องมือทางการแพทย์และการผ่าตัดแบบอัตโนมัติ หรือระบบสั่งการด้วยเสียง เป็นต้น

Cognitive Augmentation เลียนแบบสมองและวิธีคิดของมนุษย์ เช่น การตั้งสมมติฐาน การหาเหตุและผล โดยปกติจะใช้ควบคู่กับระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงและเทคโนโลยีระบบคลาวน์ เพื่อให้สามารถทำงานที่ต้องใช้วิจารณญาณและการตัดสินใจที่ซับซ้อนได้

Cognitive Process Automation เป็นเทคโนโลยีที่มีความสามารถเหนือมนุษย์ที่กำลัง disrupt โลกอยู่ ณ ขณะนี้ เกิดจากการผสานเทคโนโลยีหลายอย่างเข้าด้วยกัน เช่น RPA และ Machine Learning จนทำให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลในหลากหลายมิติ ตัดสินใจ และคาดการณ์ข้อมูลบางอย่างแบบที่มนุษย์เองไม่สามารถทำได้

.

ในขั้นเริ่มต้น บริษัทฯ ในไทยหลายแห่งกำลังให้ความสนใจกับการทำงานให้งานเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เองโดยอัตโนมัติ หรือ RPA ไม่ต้องใช้คนทำ ไม่ใช่แค่ประหยัดเวลาของคนทำงาน แต่ยังเพิ่มความแม่นยำ (เพราะทำซ้ำ ๆ โดยระบบ) และเพิ่ม efficiency ในงานบุคคล เพื่อเอาเวลาของทีมงานไปทำอย่างอื่นในเชิงกลยุทธ์มากขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันที่องค์กรต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา มีเทรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นในงานบุคคล รวมถึงความคาดหวังจากฝั่งธุรกิจให้เตรียมคนให้พร้อมในทุกสถานการณ์อีกด้วย

ผลการสำรวจประโยชน์ของ RPA มีตั้งแต่การลดต้นทุนในงาน HR ถึง 20-35% และการลดเวลาในการทำงานได้ถึง 60% เลยทีเดียว และยังลดความผิดพลาดจาก Human Error ได้ถึง 80% อีกด้วย ซึ่งทำให้ McKinsey คาดการณ์ว่า RPA จะเข้ามามีบทบาทช่วยลดงาน Manual ในงาน HR ได้ถึง 50-80%

.

ตัวอย่างการใช้งาน Robotic Process Automation (RPA) ในงาน HR

1. งานสรรหาและคัดเลือก (Recruitment & Selection)

การสรรหาและคัดเลือก : การคัดกรองเรซูเม่ตามเงื่อนไขเบื้องต้นที่ตั้งไว้แทนการพิจารณาโดย Recruiter การนัดสัมภาษณ์กับผู้สมัครงาน การรวบรวมเอกสารส่วนตัวจากผู้สมัครงานผ่านระบบ และการสร้างและจัดส่งสัญญาจ้างงานให้กับผู้ที่ผ่านการสัมภาษณ์ได้อย่างอัตโนมัติ

2. การพัฒนาพนักงาน (Employee Training & Development)

การพัฒนาพนักงาน : การรวบรวมข้อมูลเพื่อหา training needs การสร้างประกาศหลักสูตรฝึกอบรม การจัดการนัดหมายและยืนยันการเข้ารับการอบรม การติดตามผลการฝึกอบรมแบบอัตโนมัติ รวมไปถึงการจัดเก็บเนื้อหาหลักสูตรต่าง ๆ ให้เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นสไลด์ที่ใช้สอน วิดีโอ หรือเอกสารประกอบการเรียนนำไปวางในที่ที่พนักงานเข้าถึงได้ง่ายเพื่อทบทวนบทเรียน

3. การจัดการข้อมูลผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)

กระบริหารผลการปฏิบัติงาน : การจัดการประเมินผลงานโดยสร้างแบบฟอร์มหยอดข้อมูลเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่งงานและตัวบุคคล นัดหมายการประเมินผลงานระหว่างหัวหน้างานและลูกน้องตามกำหนดเวลา รวบรวมข้อมูลผลการประเมิน พร้อมประมวลผลจัดทำรายงาน เพื่อให้คนนำไปวิเคราะห์และวางแผนการพัฒนาได้ต่อทันที

การจัดการเชิงกลยุทธ์ : การรวบรวมข้อมูลและประเมินผล talent landscape เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในเชิง strategic HR focus ขององค์กร เช่น ข้อมูลด้านความหลากหลายในองค์กร ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารคนเก่งและการวางแผนสืบทอดตำแหน่งในองค์กร เป็นต้น

4. การจัดการเมื่อพนักงานลาออก (Offboarding)

การจัดเมื่อพนักงานลาออก : การจัดการวันสุดท้ายของการทำงานของพนักงานที่ลาออกได้แบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการลดสถานะการเข้าถึงระบบต่าง ๆ ในองค์กร การคำนวณเงินก้อนสุดท้าย หรือแม้กระทั่งการส่งแบบฟอร์มและนัดหมายสัมภาษณ์ exit interview เพื่อช่วยรวบรวมและประมวลผลข้อมูลได้อีกด้วย

.

Robotic Process Automation (RPA) เปลี่ยนงาน HR อย่างไร?

1. เพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็ว

ผลการศึกษาพบว่า RPA ช่วยลดเวลาในการทำงานได้ถึง 60% และลดต้นทุนในงาน HR ได้ถึง 20-35%

2. ลดความผิดพลาดจากมนุษย์ (Human Error)

ระบบอัตโนมัติทำให้ข้อผิดพลาดลดลงถึง 80% ซึ่งช่วยลดปัญหาการกรอกข้อมูลผิดพลาดหรือการลืมทำงานที่สำคัญ

3. เปิดโอกาสให้ HR โฟกัสงานเชิงกลยุทธ์

การปลดปล่อยทีม HR จากงานที่ทำซ้ำ ๆ ทำให้มีเวลาในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคนและองค์กรให้เติบโตในระยะยาว

จะเห็นว่าตัวอย่างข้างต้นไม่ใช่แค่การทำงานเอกสารที่น่าเบื่อแทนคนเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำให้งานที่มักจะไม่ค่อยเป็นระบบหากดำเนินการด้วยคน สามารถดำเนินการได้เองแบบอัตโนมัติ เป็นระเบียบเรียบร้อย และตรงกำหนดเวลาที่ควรจะเกิดขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกงานที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างอัตโนมัติ บริษัทที่ปรึกษา KPMG พบว่างาน HR ส่วนใหญ่ 19 ด้าน จากทั้งหมด 21 ด้านสามารถปรับให้เป็นอัตโนมัติได้ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดยมีเพียง 5 ด้านที่ค่อนข้างท้าทายหากจะทำให้เป็นอัตโนมัติ ได้แก่ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การเพิ่มประสิทธิผลองค์กร แรงงานสัมพันธ์ การวางแผนกลยุทธ์ในงานบุคคล และการวางโครงสร้างงานบุคคลทั้งระบบ

.

ทั้งนี้ การจะเปลี่ยนงานบุคคลที่สำคัญเหล่านี้ให้กลายเป็นกระบวนการอัตโนมัติต้องเริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย รวมถึงผลลัพธ์ที่คาดหวังให้ชัดเจน มีการให้ความรู้ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นคนควบคุมระบบเหล่านี้ให้สามารถตั้งเงื่อนไขที่ถูกต้องให้สามารถทำงานด้วยระบบในระดับที่เหมาะสมได้ ในขณะที่ยังเว้นช่องว่างให้มนุษย์สามารถเข้าไปมีส่วนพิจารณาจุดที่อ่อนไหวง่ายหรือโอกาสที่สำคัญ ๆ ที่หุ่นยนต์อาจมองข้ามไปได้ หรือการใส่ความคิดสร้างสรรค์และจิตวิทยาของมนุษย์ลงไป การให้ความร่วมมือในการป้อนข้อมูลลงมือทำอย่างต่อเนื่องและจริงจังโดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ ของการเปลี่ยนแปลงซึ่งมักจะยากเสมอ รวมถึงการนำข้อมูลที่ระบบได้รวบรวมและประมวลผลมาใช้อย่างคุ้มค่าจนเกิดการเปลี่ยนแปลงกับธุรกิจในเชิงบวกอย่างจริงจังอีกด้วย

อ้างอิง : Khon At Work

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...