วิธีประเมินผลงานยุค Remote Work เพิ่มผลิตภาพและสร้างทีมที่แข็งแกร่ง

วิธีประเมินผลงาน

การตั้งเป้าหมายและการปรับ “วิธีประเมินผลงาน ยุค Remote Work” กลายเป็นความท้าทายของหัวหน้างานและองค์กรในปีนี้ เนื่องจากเป้าหมายกลายเป็นสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา องค์กรและพนักงานไม่สามารถยึดการตั้ง KPI ครั้งเดียวตอนต้นปีและยึดติดกับการประเมินผลตามเป้าหมายเดิมตอนปลายปีได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อกลยุทธ์และแผนการทำงาน หรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีความแตกต่างจากการทำงานเมื่อสองปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น

  • ช่วงเวลาในการทำงาน – ช่วงเวลาในการทำงานที่คนทำงานรู้สึกว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในช่วงที่ทำงานที่บ้าน คือ วันอังคาร พุธ และพฤหัสบดี เวลา 10.30-15.00 น. ถึงแม้ว่าเวลาทำงานจะยังคงเป็น 8.30-17.30 น. ตามเวลาทำการปกติ
  • การสื่อสารภายในทีม – พนักงานใช้อีเมลในการทำงานเพิ่มขึ้น และใช้ซอร์ฟแวร์ต่างๆในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน
  • การประชุมและรายงาน – ประสิทธิภาพในการประชุม นอกจากจะขึ้นอยู่กับตัวผู้ร่วมประชุมและผลงานแล้ว ยังมีปัจจัยใหม่ที่เพิ่มขึ้นมา คือ สัญญาณอินเตอร์เน็ต จากการสำรวจพบว่า ชาวอเมริกันเพียง 65% มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่แรงพอสำหรับวิดีโอคอลจากที่บ้าน
  • การพักเบรก – พนักงานมีแนวโน้มพักเบรกจากการทำงานที่เหนื่อยล้า น้อยลงถึง 15% แต่เบรกสั้นๆมากขึ้น และยังทำงานมากขึ้น 1.4 วันต่อเดือนอีกด้วย
  • การโฟกัสกับงาน – พนักงานที่ทำงานที่บ้านรู้สึกมีสมาธิกับการทำงานมากขึ้น ลดเวลาพูดคุยที่ไม่เกิดประโยชน์กับเพื่อนร่วมงานลงถึง 30 นาทีต่อวัน
  • วัฒนธรรมองค์กร – การทำงานที่บ้านส่งผลต่อวิธีคิดและปฏิบัติร่วมกันในองค์กร หลายองค์กรมีกิจกรรม กินข้าวเที่ยงออนไลน์ระหว่างพนักงาน หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ค่อยๆเปลี่ยนพฤติกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการทำงานและวัฒนธรรมไปทีละเล็กน้อย
  • ผลิตภาพในการทำงาน – จากการสำรวจคนทำงานกว่า 800,000 คนจากบริษัทใน Fortune 500 โดย Great Place to Work พบว่า โดยรวม คนทำงานที่บ้านมีผลิตภาพในการทำงานสูงขึ้น

.

3 แนวทางใหม่ในการประเมินผลสำหรับ Remote Work

แล้วในเมื่อการทำงานที่บ้านมีผลิตภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น บริษัทควรยกระดับไม้บรรทัดให้ยากขึ้นหรือไม่ อย่างไร? บทความนี้จึงขอนำเสนอวิธีประเมินผลงานในรูปแบบทางเลือก เพื่อให้แต่ละองค์กรลองนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์และบริบทของพนักงานแต่ละคนในปีนี้หรือปรับปรุงระบบเพื่อรองรับการสร้างผลงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาในปีถัดไป

1 : Self-reflections ให้พนักงานประเมินตนเอง

วิธีการนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพนักงานในตำแหน่งที่ในปีที่ผ่านมาต้องเจอกับความท้าทางทางธุรกิจและความไม่แน่นอนที่ควบคุมไม่ได้เต็มไปหมดจนเกิด Learning Curve ที่สูงโด่งและ Lesson Learned มากมายระหว่างทางร่วมกับหัวหน้างานและสมาชิกในทีมคนอื่นๆ

ซึ่งการประเมินตนเองจะเหมาะในการเป็นช่วงเวลาให้พนักงาน (รวมถึงหัวหน้างานเองด้วย) ได้ถอยหลังหนึ่งก้าวเพื่อทบทวนสิ่งที่ผ่านมา สิ่งที่ทำได้ดี และสิ่งที่ยากลำบาก ตกผลึกสิ่งที่ได้เรียนรู้เป็นท่าไม้ตาย เพื่อที่จะวางแผนสำหรับอนาคตที่ต้องเผชิญกันต่อไป โดยต้องไม่ลืมที่จะฉลองความสำเร็จเล็กๆน้อยๆที่ได้เติบโตขึ้นทั้งในตัวบุคคลและในอาชีพการงาน

ตัวอย่างคำถามในการประเมินตนเอง

  • ความสำเร็จของคุณ (ในเชิงตัวเลข และเชิงคุณภาพ) เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง?
  • ในปีที่ผ่านมา เพื่อให้ก้าวผ่านความท้าทายต่างๆมาได้ คุณได้ทำอะไรนอกเหนือจากแผนงานที่วางไว้ หรือที่ก่อนหน้านี้ไม่มีโอกาสได้ทำบ้าง?
  • ทักษะ หรือความรู้ใหม่ๆ อะไรบ้างที่คุณได้พัฒนาในช่วง 3-6 เดือนที่ผ่านมา
  • คุณเห็นภาพตัวเองในอนาคตเป็นอย่างไร?
  • อะไรคือสิ่งที่คุณภูมิใจในตัวเองที่สุดในปีที่ผ่านมา

.

2 : Performance Promoter Score (PPS) วิธีประเมินผลงาน “ด้วยการแนะนำบอกต่อ

ส่วนใหญ่องค์กร โดยเฉพาะฝ่ายขายและบริการลูกค้ามักคุ้นเคยกับเครื่องมือที่เรียกว่า Net Promoter Score หรือ NPS ซึ่งหมายถึง คะแนนของลูกค้าที่จะแนะนำบอกต่อสินค้าหรือบริการของเราให้กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว ฯลฯ โดยมีเกณฑ์อยู่ที่ 1-10 คะแนน และมีวิธีคำนวณเฉพาะทาง เป็นการวัดผลคุณภาพสินค้าหรือบริการต่อความผูกพันระยะยาวของลูกค้า แนวคิดคล้ายๆกับเรื่องการสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร (Employee Engagement Survey) ที่มักจะมีข้อคำถามที่ถามว่า พนักงานจะแนะนำเพื่อนหรือคนรู้จักให้มาสมัครงานที่บริษัทนี้หรือไม่ ส่วนในเรื่องการประเมินผลงาน การใช้แนวคิดแบบเดียวกันนี้ก็เป็นไปได้ โดยจะเรียกว่า Performance Promoter Score (PPS) ซึ่งอาจเหมาะกับพนักงานในบางตำแหน่งที่ทำงานที่บ้าน และไม่สามารถวัดได้ด้วยเป้าหมายของงานเพียงอย่างเดียว เนื่องจากความไม่แน่นอนหลายๆส่วน แต่ต้องการวัดประเมินด้วยความสามารถที่สมาชิกในทีมยอมรับ ซึ่งอาจใช้คำถามเพื่อให้สมาชิกในทีมหรือหัวหน้างานประเมินแบบ 360 องศาก็ได้

ตัวอย่างคำถามในการประเมินด้วยการแนะนำบอกต่อ

  • คุณจะแนะนำเพื่อนร่วมงานคนนี้ (หรือผู้ใต้บังคับบัญชาคนนี้) ให้กับเพื่อนร่วมงานคนอื่น (หรือหน่วยงานอื่น) หรือไม่? ให้คะแนน 1-10 จากน้อยไปมาก
  • ทำไมคุณจึงให้คะแนนเท่านี้
  • หากจะให้เพิ่ม 1 คะแนน พนักงานคนนี้ต้องปรับปรุงอย่างไร?

.

3 : Keeper Test วิธีประเมินผลงาน Remote work ด้วยความสำคัญของการเก็บพนักงาน

Tech firm ชั้นนำของโลกอย่าง Netflix, Google และ Facebook มีวิธีการประเมินพนักงานที่นอกเหนือจากการประเมินผลงานโดยปกติ การขึ้นเงินเดือน และการประเมินโดยเพื่อนร่วมงานทั่วไป โดยใช้ “Keeper Test” โดยจะถามหัวหน้างานคำถามเดียวว่าจะเก็บพนักงานไว้หรือไม่ ซึ่งอาจเหมาะในช่วงเวลาสำคัญขององค์กรที่ต้องเลือกว่าใครจะอยู่หรือไป หรือต้องตั้งใจกับการประเมินผลงานจริงจัง

ตัวอย่างคำถามในการประเมินด้วย Keeper Test

  • คุณจะยอมสู้เพื่อจะเก็บพนักงานคนนี้ไว้กับหรือไม่?
  • หากต้องเสียพนักงานคนนี้ไป จะเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ (Regretted Loss) สำหรับองค์กรหรือไม่?

.

.

อย่าลืมว่า ในขณะที่องค์กรกำลังจริงจังกับการลดต้นทุนและเพิ่มผลงาน จนทำให้หลายองค์กรปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานหรือเปลี่ยนคนกันเป็นว่าเล่น หรือใช้แนวคิดการใช้พนักงานร่วมกัน (Talent Sharing) ภายในทีม กลุ่มบริษัท หรือแม้กระทั่งแบ่งกันกับบริษัทอื่นอีกด้วย สิ่งที่สำคัญในการประเมินผลงานพนักงานในช่วงเปราะบางนี้ องค์กรและหัวหน้างานควรให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศเชิงบวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้พัฒนา การประเมินผลที่โปร่งใสและเป็นธรรม ฟีดแบคที่เป็นประโยชน์กับพนักงาน และการสร้างพลังให้พนักงานสู้ไม่ถอยไปกับองค์กร โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย ตำแหน่งงานที่เคยสำคัญก็กลับต้องลดบทบาท พนักงานที่เคยเก่งกาจก็กลับกลายเป็นไปไม่ถูกทาง ดังนั้น สิ่งสำคัญในปีนี้ที่อยากฝากไว้ในการประเมินผลงานปลายปีนี้ ก็คือการค่อยๆปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินผลงานไปพร้อมๆกับวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์ใหม่ๆที่พนักงานต้องเผชิญไปพร้อมๆกันในปีหน้าให้ดีกว่าเดิม

ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work 

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...