Less is More : ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Less is More
Warren Buffett หมดเวลาแต่ละวันไปกับการนั่งเฉยๆ และขบคิด หรือ Twitter จำกัดตัวอักษรเพียงน้อยนิดในแต่ละโพส นี่คือตัวอย่างของ “Less Is More” ทำในปริมาณที่น้อยลง แต่ กลับได้คุณภาพมากขึ้น ข่าวดีคือหลายองค์กรทั่วโลกเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้แล้ว

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

จะเข้าใจคอนเซ็ปต์ “Less is More” ในปัจจุบันได้ เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ภาพใหญ่กันก่อน

เป็นเวลากว่า 500 ปีแล้วที่โลกเราใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของการเติบโต (Growth) อย่างไม่สิ้นสุด

แก่นของการเติบโตนี้ แทบไม่สนใจเลยว่าคุณทำได้ ‘มาก’ เท่าไร แต่สำคัญที่ว่าคุณทำได้ “มากกว่าเดิม” เท่าไร (โตขึ้นจากปีที่แล้วเท่าไร)

ในศตวรรษที่ 19 GDP ของทั้งโลก ยังมีมูลค่าน้อยกว่า $1 trillion

  • ปี 1985 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $12 trillion
  • ปี 2015 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $75 trillion
  • ปี 2025 GDP ของทั้งโลกคาดว่าจะอยู่ที่ $116 trillion

ระบบทุนนิยมนำพาอารยธรรมมนุษย์ก้าวไกลมาถึงจุดนี้ เราเพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยี แค่ชนชั้นกลางปัจจุบันก็มีชีวิตความเป็นอยู่บางอย่างที่สะดวกสบายกว่าพระราชาในยุคสมัยก่อนแบบเทียบไม่ติด

เบื้องหลังการเติบโต มาพร้อมการขยันทำงานหนักของมนุษย์แบบพวกเรา คิดไอเดียใหม่ๆ หาตลาดใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง…แนวคิด “More Is More” จึงอยู่ในกระแสหลักมาเนิ่นนาน

ทุกคนคิดว่า “ยิ่งมากยิ่งดี”…สินค้ายิ่งมากยิ่งดี บริการยิ่งเยอะยิ่งดี พนักงานทำงานหนักเข้าไว้ยิ่งดี เอาให้ถึงลิมิต แต่นั่นมาพร้อมความเครียดที่มากเกินไป ความกดดัน…ความทุกข์ในการทำงานแบบไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน นำไปสู่ปัญหาคลาสสิกที่คนทำงานประสบพบเจอทั่วทุกมุมโลกนั่นคือ “Burnout & Brownout” หมดใจและหมดแรงในการทำงาน

และเพราะชีวิตคนเรามีหลายด้าน “More” ในที่นี้จึงส่งผลกระทบถึงมิติอื่นของชีวิตที่ต้องเสียไป ทั้งความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง / สุขภาพ / ครอบครัว / จิตวิญญาณ / อุทิศตนเพื่อสังคม 

และไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ความเจริญทางวัตถุมี “ราคา” ที่ต้องจ่าย และสิ่งนั้นคือสิ่งแวดล้อม-ระบบนิเวศน์ของโลกที่เสื่อมโทรม ถึงขนาดที่ทาง UN ออกมาประกาศว่า ถ้าเรายังเติบโตแบบเดิมๆ หลายพื้นที่ของโลกจะไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไปเมื่อจบศตวรรษที่ 21 นี้

หลายภาคส่วนจึงเริ่มตระหนักแล้วว่า มันอาจไม่ใช่ More Is More อย่างที่คิด แต่เริ่มกลายเป็น More Is Less ต่างหาก

แนวคิดที่กลับขั้วกันอย่าง “Less Is More” จึงเริ่มถือกำเนิดขึ้น

เทรนด์ของโลกที่โอบกอด Less is More

Stakeholder Capitalismคือคำที่ถูกพูดถึงอย่างเข้มข้นในรอบ 10 ปีมานี้ ที่ทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะต้องแคร์ People & Planet (ไม่ใช่แค่ shareholder ผู้ถือหุ้นอีกต่อไป) 

บริษัทของเราทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ / รีไซเคิลเพิ่มขึ้นได้อย่างไร / โรงงานปล่อยมลพิษมากเกินไปสู่ชุมชนหรือไม่ / ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมรึเปล่า

.

.

Makoto Marketing การตลาดที่มาจากใจของหลาย SMEs ทั่วญี่ปุ่น ซึ่งมีพื้นฐานการทำธุรกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืนมาเป็นเวลาหลาย 100 ปีแล้ว (ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีบริษัทเก่าแก่จำนวนมากที่สุดในโลก) 

ยอดขายและการขยายสาขาอาจไม่หวือหวา ฐานลูกค้าอาจไม่ใหญ่แต่ดูแลได้อย่างทั่วถึง สินค้าอาจไม่เยอะแต่การันตีคุณภาพ

.

.

Less Is More อยู่รอบตัวเรากว่าที่คิด และบางบริษัทก็ประสบความสำเร็จจากเรื่องนี้โดยตรง เช่น Twitter ที่แรกเริ่มจำกัดตัวอักษรแค่ 140 ตัว ช่วงแรกมันฟังดูไม่น่าเวิร์คเลยและไม่น่ามีคนสนใจ 

แต่ปรากฎว่าผู้บริโภคกลับไม่คิดเช่นนั้น เพราะยิ่งจำกัดมากเท่าไร ยิ่งเป็นการกลั่นกรองความคิดให้เฉียบคมมากเท่านั้น ปัจจุบัน Twitter จึงกลายเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดที่หลักแหลมและทันต่อทุกกระแสสังคม

.

.

Warren Buffett กูรูด้านการลงทุนของโลกเคยกล่าวว่า 

“หลายคนที่ไม่รู้จักผม มักคิดว่าวันๆ ผมคงอยู่แต่หน้ากระดานหุ้น ประชุมเช้ายันค่ำ หรือวุ่นกับการเดินสายเจรจากับนักธุรกิจใหญ่ แต่ความจริงแล้วเปล่าเลย…ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับการ…นั่งเงียบๆ และขบคิด

เขาเสริมต่อว่า ไม่ใช่แค่สิ่งที่ได้ทำ…สิ่งที่คุณ “ไม่ได้ทำ” ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน การทำอะไรเยอะๆ วุ่นๆ อยู่ตลอด ใช่ว่าจะดีเสมอไป

เริ่มต้น Less Is More ได้อย่างไร?

ก่อนอื่นได้เข้าใจว่าแนวคิด “ทำน้อยได้มาก” ไม่ใช่ความขี้เกียจ ไม่ใช่การอยากนอนตื่นสาย ไม่ใช่การไร้ซึ่งความฝัน และไม่ได้ปฏิเสธความทะเยอทะยานแต่อย่างใด

แต่เป็นการกลับสู่ “สมดุล” โดยมีมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจหลัก

โดยขั้นตอนแรกคือการ “Focus” โฟกัสแค่เรื่องสำคัญ (จะดีมากถ้าเหลือแค่ ‘เรื่องเดียว’) 

เมื่อเราโฟกัส ก็เป็นการตัดเรื่องอื่นทิ้งไปโดยปริยาย

จากนั้น หยิบมันออกมา break down ว่ามีขั้นตอน “ยิบย่อย” อะไรบ้างในการไปถึงเป้าหมาย ก่อนลงมือทำทีละเล็กทีละน้อย วิธีนี้นอกจากเราจะเข้าใจรายละเอียดแล้ว ยังรู้สึกถึง “ความสำเร็จเล็กๆ” ระหว่างทาง

การโฟกัสยังสอดคล้องกับสมองมนุษย์ที่จดจ่อได้ไม่เกิน 2-3 เรื่อง (ดีที่สุดคือแค่ 1 เรื่อง) ถ้าเกินกว่านี้ ประสิทธิภาพจะแย่ลงทันที

กรณีถ้าคุณเป็นบริษัทเกิดใหม่ การโฟกัสไม่ใช่แค่เรื่องประสิทธิภาพ แต่อาจเป็น “วิธีเดียว” ที่คุณทำได้ด้วยซ้ำในช่วงตั้งไข่

  • Facebook เริ่มจากการโฟกัสเชื่อมโยงนักศึกษามหาวิทยาลัยเท่านั้น
  • Amazon เริ่มจากการโฟกัสขายหนังสือออนไลน์เท่านั้น

จากนั้น เทคนิคที่ยอมรับกันในสากลคือ K.I.S.S. หรือ Keep It Short and Simple ซึ่งประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง ยิ่งสั้นเท่าไร-ยิ่งเข้าใจง่ายเท่าไร-ยิ่งใช้งานง่ายเท่าไร…ยิ่งดี

ความเรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพนี้ยังเป็นตัวขับเคลื่อนความสุขของพนักงานด้วย เมื่อพนักงานทำงานบริษัทนี้แล้วมีความสุข ก็อยากทำไปนานๆ และยิ่งอยากสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ

เดี๋ยวนี้บริษัทยุคใหม่ ยกให้ “ความสุขของพนักงาน” เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก เพื่อใช้เป็นแรงจูงใจในการเพิ่ม productivity / การมีส่วนร่วม / และความจงรักภักดี ในเวลาต่อมา 

เช่น Ben & Jerry’s ยอมกำไรน้อยลง เพราะไปเพิ่มในส่วนสวัสดิการ โดยให้
ไอศครีม 3 Pints ฟรีแก่พนักงานเอากลับบ้านได้ทุกวัน 

เรื่องนี้ใช้ได้ดีในทางจิตวิทยา เมื่อพนักงานทุ่มเทให้บริษัททำงานมาเหนื่อยๆ ทั้งวัน เมื่อจบวันก็ปิดท้ายด้วยไอศครีม Ben & Jerry’s อร่อยๆ สดชื่นผ่อนคลาย ให้ความรู้สึกเหมือนบริษัทได้ “ตอบแทนกลับคืน” (และขอบคุณ) พวกเค้าในทุกวัน

.

.

Siegel+Gale บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการสร้างแบรนด์ ได้จัดทำ World’s Simplest Brands Index โดยมีนัยสำคัญพบว่า ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา บริษัทไหนที่ยิ่งมีความน้อยและเรียบง่ายในทุกอณู ตั้งแต่บรรยากาศออฟฟิศ / ขั้นตอนการทำงาน / การใช้งานผลิตภัณฑ์…จะมี Performance ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 679%

หรือ Google มีการตกแต่งออฟฟิศแบบเป็นกันเอง / พนักงานมีสิทธิ์เลือกได้ว่าจะมาทำงานวันไหน หรือทำที่ไหนก็ได้ / องค์กรเป็นแบบราบ ไม่มีอนุมัติซับซ้อนแต่อย่างใด

.

.

เราจะเห็นว่าแนวคิด “ทำน้อยได้มาก” เริ่มแพร่หลายทดลองใช้กันในหลายธุรกิจ ซึ่งน่าจะทำให้ภาพรวม คนทำงานมีความสุขขึ้นและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น…ต่อไปก็ถึงตาคุณแล้ว “ทำน้อย แต่ ได้มาก”

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

HR Tech

ข้อดีและข้อควรระวังของ HR Tech: เปลี่ยนงานทรัพยากรบุคคลสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ

การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลในงานทรัพยากรบุคคล คุณเห็นด้วยหรือไม่ว่า งานทรัพยากรบุคคลกำลังจะกลายเป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ (HR Tech) ไม่เพียงแต่ในแง่ของการใช้งานเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงในด้านต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Big Data เพื่อทำความเข้าใจพนักงาน เพิ่มทักษะดิจิทัลให้กับพนักงาน และพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในขณะที่มุมของพนักงานจากผลสำรวจของ PwC เชื่อว่าการวิเคราะห์ข้อมูลจะมีบทบาทสำคัญต่อการเลือกเส้นทางการเติบโตก้าวหน้าของพนักงาน . สถานการณ์ปัจจุบันของ HR Technology ปัจจุบัน 80% ขององค์กรกำลังใช้ HR Technology อยู่อย่างน้อยหนึ่งอย่าง และ 60% ขององค์กรวางแผนเพิ่มการลงทุนใน HR Technology ในปี 2024 แล้ว HR Technology ส่งผลกระทบต่อพนักงานอย่างไรบ้าง และจะวัดความคุ้มค่าอย่างไร วันนี้เรามาดูแนวทางไปพร้อมกัน อย่างไรก็ดี หลายองค์กรยังคงมีความกังวลในเรื่องการใช้ HR Tech โดยเฉพาะเรื่องการลงทุน การคำนวณความคุ้มค่าของ HR Tech นั้นสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ประโยชน์ที่ได้เปรียบเทียบกับต้นทุนที่ต้องใช้ในการลงทุนเทคโนโลยีทาง HR นั้น ๆ ดังนี้ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการลงทุน HR Tech ให้ชัดเจน ก่อนที่จะคำนวณความคุ้มค่าของ HR Tech ควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการลงทุนอย่างชัดเจน เช่น . 2. ประเมินผลประโยชน์ของ HR Tech หลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว ต้องทำการวัดผลประโยชน์ที่ได้รับจาก HR Technology เพื่อใช้ในการคำนวณความคุ้มค่า ตัวอย่างของผลประโยชน์ที่สามารถวัดได้มีหลายประการ เช่น . 3. คำนวณต้นทุนของ HR Tech ต้นทุนในการลงทุน HR Technology เบื้องต้น ได้แก่ . 4. คำนวณ ROI (Return on Investment) ROI หรือ Return on Investment เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการวัดประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน HR Technology โดยสามารถคำนวณได้ด้วยสูตรเบื้องต้น ดังนี้ ROI=(ผลประโยชน์ทั้งหมด−ต้นทุนทั้งหมดต้นทุนทั้งหมด)×100% อย่างไรก็ดี หลายองค์กรยังคงมีความกังวลในด้านการใช้ HR Technology อาทิ โดยรวมแล้ว HR Technology มีข้อดีต่อพนักงาน ทำให้ทุกฝ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีส่วนร่วมมากขึ้น และเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงความเสี่ยงและความกังวลที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และดำเนินการเพื่อลดผลกระทบเหล่านี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับทุกฝ่ายเพื่อมุ่งสู่โลกการทำงานแห่งอนาคตไปพร้อมกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 13

โซเชียลของพนักงาน

5 วิธีเปลี่ยนพลัง “โซเชียลของพนักงาน” ให้เป็นกระบอกเสียงดึงดูดคนเก่ง

ในแต่ละวัน พนักงานของคุณ 50% โพสต์ข้อความเกี่ยวกับงานและบริษัทลงในโซเชียลมีเดียส่วนตัว แต่! มีพนักงานเพียง 17% ที่โพสต์แบบตั้งใจและมีเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งหมายความว่า อีก 33% ที่เหลือโพสต์โดยไม่ได้คิดอะไรมาก และนี่คือโอกาสขององค์กรที่จะเปลี่ยนพลังของโซเชียลให้กลายเป็นกระบอกเสียงสร้างแบรนด์นายจ้างและดึงดูดคนเก่งเข้ามาในองค์กร และเพิ่มความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร และยังทำให้งานของ HR ได้รับความสนใจและยอมรับมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ การฝึกอบรม กิจกรรมภายในบริษัท และอื่น ๆ อีกมากมาย ความสำคัญของการมีทิศทางในการโพสต์ หากไม่มีกลยุทธ์ที่ช่วยวางแนวทางให้พนักงาน บริษัทยิ่งต้องรับความเสี่ยงที่จะต้องลุ้นว่าพนักงานจะโพสต์อะไรลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่สอดคล้องหรือบิดเบือนไปจากสิ่งที่องค์กรต้องการสื่อสารออกไปภายนอก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องที่ไม่ดี ทั้งอย่างตั้งใจและด้วยความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน หรืออาจเกิดจากทักษะการเขียนหรือการทำรูปภาพที่ไม่เท่ากัน เพราะทุกคนอาจไม่ใช่ครีเอเตอร์มืออาชีพ . การโปรโมทผ่านสื่อขององค์กรอย่างเป็นทางการ เช่น เว็บไซต์บริษัท โซเชียลมีเดียของบริษัท อีเวนต์ทางการ ฯลฯ มักมีข้อจำกัดในเชิงแบรนด์เต็มไปหมด ต้องผ่านกลั่นกรองและการอนุมัติอีกสิบขั้น จนทำให้ message ขาดความเรียลและจริงใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องสื่อสารว่าองค์กรให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายในองค์กร (Diversity & Inclusion) การเรียนรู้และพัฒนา (Learning & Development) การมีส่วนช่วยส่งเสริมสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social Responsibility) หรือแม้กระทั่งวัฒนธรรมองค์กรที่มีชีวิต (Culture) และเมื่อเป็นเรื่องคน ธรรมชาติของคนเราจะไม่สามารถฟังจากปากคนเพียงคนเดียว หรือสื่อเดียวได้ แต่ต้องฟังจากคนส่วนใหญ่ในองค์กร ประโยชน์ของ Employee Advocacy Program การสร้างเครือข่ายพนักงานที่พร้อมจะช่วยโปรโมทภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร (Employer Branding) ไปพร้อม ๆ กับการสร้างแบรนด์ให้ตัวเอง (Personal Branding) ผ่านโปรแกรมที่เรียกว่า Employee Advocacy Program องค์กรจะสามารถเพิ่มยอด Reach ที่จะเข้าถึงคนกลุ่มใหม่ ๆ ได้ถึง 200% และคนที่กำลังหางานในปัจจุบัน เชื่อรีวิวในโซเชียลมีเดีย หรือการได้พูดคุยกับพนักงานตัวจริงที่ทำงานอยู่ในแต่ละองค์กร มากกว่าการพูดคุยกับ HR หรือหัวหน้างานเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนตัดสินใจ ถึงแม้จะมีประโยชน์มากขนาดนี้ แต่มันกลับไม่ได้ง่ายแบบนั้น เพราะองค์กรส่วนใหญ่เชื่อว่า พนักงานมักจะโพสต์เรื่องไม่ดีลงในโซเชียลมีเดีย และขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ นำมาซึ่งนโยบายในการ “ห้าม” พนักงานโพสต์เกี่ยวกับบริษัทลงในโลกโซเชียล แต่อย่างที่ทราบกันดีว่า ในโลกที่ทุกอย่างอยู่บนออนไลน์และการสนับสนุนความคิดเสรี เป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้จริง และยิ่งกลับจะทำให้พนักงานมององค์กรในแง่ลบ . . การวางแผนให้พนักงานโพสต์คอนเทนต์ในด้านดีเกี่ยวกับองค์กร จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่หลายองค์กรกำลังให้ความสำคัญและกำลังมาแรง . เชื่อได้ว่า ในทุกองค์กรมีเรื่องดี ๆ อยู่รอบตัวพนักงานมากมายที่เรามักมองข้ามไปด้วยภารกิจในแต่ละวัน และหลายคนก็อยากจะแชร์สิ่งดี ๆ ให้กับเพื่อนและครอบครัว ดังนั้น นอกจากองค์กรจะมีหน้าที่สร้างบรรยากาศและโปรแกรมส่งเสริมศักยภาพและความผูกพันของพนักงานดี ๆ มากมายแล้ว องค์กรจึงยังมีหน้าที่จุดประกายและสร้าง Positive Sentiment หรือแรงกระเพื่อมที่ส่งต่อความรู้สึกดี ๆ ในองค์กรให้เกิดขึ้นด้วยการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมอย่างจริงจัง (Structured Program) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุดและความภาคภูมิใจในองค์กรและในตัวเองของพนักงานแต่ละคนร่วมกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 10

engagement

7 วิธีสร้างความ Engagement ให้พนักงานผ่านโลกออนไลน์

ทำไมพนักงานจึงแห่ลาออกมากกว่าช่วงก่อนโควิดเสียอีก ? สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าในช่วงแรกของวิกฤตการณ์ ทั้งองค์กร ผู้บริหาร และคนทำงาน ต่างก็ตื่นตัวในการสรรหาสารพัดวิธีในการทำงานแบบใหม่ รวมถึงวิธีในการสื่อสารระหว่างกัน และเชื่อมต่อกับพนักงานอย่างไม่ขาดสาย ( High Engagement ) จนพนักงานบอกว่า ใกล้ชิดกับหัวหน้างานและรู้สึกถึงความเป็นทีมมากกว่าแต่ก่อนเสียอีก ในทางวิชาการ นักวิจัยต่างก็หันมาสนใจเรื่องนี้จนในปี 2020 มีงานวิจัยที่ออกมาถึง 1,500 ชิ้นเกี่ยวกับการสร้างความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร . แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งเหล่านั้นกลับค่อยๆหายไปเพราะหลายคนเริ่มรู้สึกเคยชินกับมัน และกลับทำให้ปัญหาของพนักงานลาออกจากงานเพิ่มขึ้น ยิ่งคนลาออก หาคนใหม่ไม่ได้ พนักงานที่ยังอยู่ก็ยิ่งต้องรับภาระงานที่หนักขึ้น เครียด และเบิร์นเอาท์จนต้องลาออกตามกันไป แล้วไปสร้างวงจรนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในองค์กรถัดๆ ไป จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาคินเซนทริค ยังพบอีกว่า ระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรลดลงกว่าก่อนช่วงปี 2019 ซึ่งปัจจัยสำคัญๆได้แก่ การสื่อสารของผู้บริหารระดับสูงที่สร้างความมั่นใจเกี่ยวกับอนาคตของบริษัท การได้รับฟีดแบคจากหัวหน้างาน และความสมดุลในชีวิตการทำงาน วันนี้จึงอยากมาแนะนำไอเดียใหม่ๆในการกลับมาสร้างพลังและความสดใสในที่ทำงานแบบเสมือนจริงกันสักหน่อย . 1. ช่วงสร้างรอยยิ้มสวัสดีวันใหม่อย่างสดใส ปัญหาอย่างแรกของคนทำงานที่บ้านก็คือ ขาดพลังในการทำงาน ลุกขึ้นมาทำงานทั้งๆที่ยังไม่ได้อาบน้ำหรือเปลี่ยนชุด ไม่มีใครกล่าวทักทาย ไม่ต้องสวัสดีใคร และไม่ต้องยิ้มให้ใคร ดังนั้น การมีคำคมประจำวันที่ปลุกพลังในการทำงาน หรือรูปภาพ desktop ที่ช่วยเรียกความสดใส รอยยิ้ม และปรับ mindset ให้พร้อมกับสิ่งที่จะต้องเจอในแต่ละวันอาจเป็นเรื่องง่ายๆที่ส่งผลดีอย่างไม่คาดคิดก็ได้ ในช่วงแรกของสถานการณ์โควิด-19 Jeff Bezos ซีอีโอของ Amazon เคยเขียนอีเมลปลุกใจพนักงานในทำนองว่า ผู้คนทั้งโลกกำลังต้องพึ่งพาบริการจากอเมซอน ซึ่งขณะนี้จึงถือเป็น ‘ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด’ ที่พนักงานทุกคนแสดงศักยภาพออกมา ซึ่ง ณ ตอนนั้นสามารถสร้างแรงจูงใจให้พนักงานของอเมซอนได้เป็นอย่างดีก่อนสถานการณ์ภายในองค์กรจะมีวิวัฒนาการไปในขั้นถัดไป . 2. ช่วงเรียกพลังก่อนเริ่มงานในแต่ละวัน ในแต่ละวันของการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศหรือโรงงาน ย่อมจะมีช่วงที่พนักงานได้ไปทานข้าวเช้า เดินชอปปิ้งตลาดนัด ไปฟิตเนส หรือแม้แต่ดื่มกาแฟไป คุยกับเพื่อนร่วมงานไปเพื่ออัพเดทผลฟุตบอลหรือซีรี่ย์เรื่องดังเมื่อคืน แต่การทำงานบนโลกออนไลน์นั้น เช้ามาก็แค่เข้ามาในระบบแล้วเริ่มทำงาน ดังนั้น HR หัวหน้างานอาจหากิจกรรมสนุกๆที่ปลุกให้คนตื่นตัวและเตรียมพร้อมรับวันทำงานใหม่ในรูปแบบเสมือนจริง เช่น คลาสโยคะหรือแอโรบิค หรือแม้กระทั่งการเต้นซุมบ้าก่อนเริ่มงานทุกวันเวลาแปดโมงเช้าสลับกันไป ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพกายและใจที่ดีพร้อมทำงานอีกด้วย . 3. ช่วงเวลาคุยเล่นหน้า ‘ตู้กดน้ำ’ แบบเสมือนจริง ปกติในออฟฟิศจะมีช่วงเวลาที่พนักงานยืนแซวกันหรือปรึกษาเรื่องงานอย่างไม่เป็นทางการแถวๆตู้กดน้ำหรือเครื่องถ่ายเอกสาร แต่พอต้องทำงานที่บ้าน พื้นที่และช่วงเวลาเหล่านั้นก็หายไป บางองค์กรจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการสร้างพื้นที่ขึ้นมา โดยเป็น google meet, zoom, discord (หรือโปรแกรมอื่นๆ) ง่ายๆ ขึ้นมา เปิดทิ้งไว้ทั้งวัน ใครที่อยากแวะเวียนเข้ามาคุยเล่นกับเพื่อน ก็สามารถเข้าออกห้องนี้ได้ตลอดเวลาได้เลย อาจเพิ่มความสนุกด้วยการคิดหัวข้อที่จะคุยไว้ตามช่วงเวลาก็ได้ ใครสนใจเรื่องไหนอยากคุยกันก็เข้ามาร่วมแจมได้ตลอด . 4. ช่วงเวลาสอนงานจริงจัง (Virtual mentorship) การทำงานออนไลน์ที่เน้นผลลัพธ์ ไม่เน้นกระบวนการนั้น มีข้อดีหลายอย่าง แต่บางครั้งสำหรับพนักงานที่ต้องการคนสอนงาน ตรวจงาน คอยนั่งข้างๆชี้แนะก็อาจไม่เพียงพอ การวางตารางการทำงานให้มีช่วงเวลาที่ ‘คุยเรื่องงาน’ หรือ ‘สอนงาน’ จริงจังเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากจะทำให้ได้ผลงานที่ดีขึ้นแล้ว ได้สื่อสารและรับฟังความต้องการของพนักงาน ยังทำให้พนักงานรู้สึกถึงโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา และความก้าวหน้าในงาน ที่ไม่ต่างจากการไปทำงานที่ออฟฟิศปกติอีกด้วย ซึ่งปัจจัยนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่ทำให้พนักงานลาออกมากที่สุดเพราะมักขาดการสื่อสารเกี่ยวกับอนาคต ความก้าวหน้า หรือทิศทางที่จะเติบโตต่อไปโดยเฉพาะเมื่อต้องทำงานที่บ้าน ซึ่งหากจะเพิ่มดีกรีของความสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ได้จริง อาจมีโปรแกรมประเภท reverse mentoring ให้ลูกทีมผลัดกันสอนทักษะต่างๆบ้าง โดยเฉพาะทักษะทางออนไลน์ที่มักจะมีติดตัวมากับคนทำงานอายุน้อยอยู่แล้ว ซึ่งองค์กรระดับโลกอย่าง General Electric ได้พิสูจน์มาแล้วว่า การจัดให้มีเมนเทอร์จริงจังนี้ส่งผลทำให้การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรทำได้ดีขึ้น Google เองก็เช่นกัน ค้นพบว่า พนักงานที่มีเมนเทอร์เรียนรู้งานได้เร็วกว่าพนักงานที่ไม่พี่เลี้ยงหรือคนสอนงานถึง 25% . 5. ช่วงเติมไฟในการทำงาน เมื่อทำงานมาได้สักระยะหนึ่ง โดยไม่ได้พบเจอผู้คน เราก็มักจะหมดไฟ หมดไอเดียในการทำงาน ดังนั้นการมีช่วงเวลาที่ได้เติมแรงบันดาลใจ เติมไอเดียใหม่ๆ อาจเป็นเรื่องที่จำเป็น องค์กรหรือหัวหน้าทีมอาจจะจัด session ในสไตล์ TED Talk เพื่อให้พนักงานผลัดกันเล่าเรื่องที่คิดว่าเป็นประโยชน์ สร้างแรงบันดาลใจ และเติมไอเดียใหม่ๆซึ่งกันและกัน อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับงานก็ได้ อย่างเช่น ชอคโกแลตที่อร่อยที่สุดในโลก เด็กประถมที่เขียนโค้ดได้ ไปจนถึงเรื่องราวความสำเร็จของสตาร์ทอัพพันล้าน ซึ่งในงานวิจัยของ Harvard Business School เรียกว่า EmployeeResource Groups (ERGs) คล้ายๆกับชมรมที่ส่งเสริมความหลากหลายในองค์กร (Diversity & Inclusion) ของคนที่สนใจเรื่องต่างๆ มีเป้าหมายที่แตกต่างกันมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งอาจรวมถึงเรื่องสุขภาพ หรือจิตวิทยาในองค์กรด้วย จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่ คนธรรมดาก็สามารถเล่าเรื่องได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้า หรืออาวุโสกว่าเท่านั้น และไม่ต้องมี setting อลังการ ทำผ่านหน้าจอก็ได้ กิจกรรมนี้นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆนอกกรอบอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นวิธีการประเมินศักยภาพของพนักงานในมุมใหม่ๆ และพัฒนาทักษะในการสื่อสารของพนักงานอีกด้วย . 6. ช่วงเวลาค้นพบศักยภาพและให้อิสระ หัวใจสำคัญของการลดความเครียดในงาน คือต้องทำให้งานสนุก และอิสระเป็นหนึ่งในแรงจูงใจที่ดีในเรื่องนี้ การให้พนักงานมีพื้นที่ใหม่ๆในการทดลอง หรือค้นพบศักยภาพของตัวเอง การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) ช่วงเวลาสั้นๆอาจทำให้พนักงานเกิดแรงบันดาลใจหรือดึงความสนใจและสมาธิในการทำงานกลับมาได้มากกว่าทนทำงานเดิมๆทุกๆวันหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งแนวโน้มในการเปลี่ยนงานยุคใหม่นี้ คนทำงานหลายคนเลือกที่จะเปลี่ยนสายอาชีพไปเลยไม่ใช่แค่ย้ายองค์กร ดังนั้น การให้พนักงานได้ลองสิ่งใหม่ภายในองค์กร อาจทำให้ได้พบพนักงานที่เก่งและมี passion ที่กำลังสรรหาคนอยู่ก็เป็นได้ . 7. ช่วงขอบคุณ ชมเชย และให้รางวัล ไม่มีใครอยากทำงานไปวันๆ โดยไม่เห็นความสำเร็จหรือไม่มีใครชื่นชม การสร้างพื้นที่ที่ไว้ยกย่องชมเชยกันอย่างเช่นห้องแชท #small-wins Channel แล้วเริ่มด้วยการขอบคุณหรือชมเชยกันในเรื่องเล็กๆน้อยๆในทุกวัน จะทำให้พนักงานมีกำลังใจในการทำงาน และแทนที่จะให้รางวัลกับพนักงานเป็นตัวเงิน ลองให้รางวัลกับพนักงานเป็น ‘เวลา’ ดูบ้าง ไม่ว่าจะเป็น extra time off, extra week off, หรือ paid vacations เพราะในช่วงที่ผ่านมา การทำงานที่บ้านทำให้คนต้องทำงานแทบจะตลอดเวลา มีงานวิจัยพบกว่า คนเราทำงานเพิ่มขึ้น 48.5 นาทีต่อวันในช่วงโควิด-19 และไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อนหรือทำกิจกรรมส่วนตัว โดยเฉพาะผู้หญิงทำงานที่มีบุตร และในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ชั่วโมงการทำงานของมนุษย์เงินเดือนก็มีแต่จะทำงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ การให้สวัสดิการหรือการสนับสนุนที่จะช่วยให้พนักงานมีเวลามากขึ้น ที่เรียกว่า Time-Saving Purchases เช่น บริการแม่บ้าน บริการส่งอาหาร บริการดูแลเด็กเล็ก ก็จะช่วยให้พนักงานบริษัทและงานบ้าน มีเวลาพักผ่อนและคลายเครียดจากงานที่เหนื่อยล้า และพร้อมจะกลับมาทำงานใหม่อย่างเต็มพลังมากขึ้นกว่าเดิม อีกวิธีที่จะช่วยเพิ่มเวลาแก่กันและกันได้ คือการสนับสนุนให้มีช่วงงดส่งอีเมล (After-Hours Emails) ซึ่ง Volkswagen ได้ทดลองใช้วิธีนี้ด้วยการให้ยุดส่งอีเมล 30 นาทีก่อนหมดเวลางาน และเริ่มส่งได้ 30 นาทีก่อนถึงเวลาเข้างานในเช้าวันใหม่ การสร้าง employee engagement ไม่ใช่เพียงกิจกรรมสนุกสนานทั้งๆที่งานกองเป็นตั้ง แต่เป็นการบริหารเวลา และช่วยให้พนักงานรักษาสมดุลในชีวิตและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีช่วงเวลาที่เรียนรู้เต็มที่ ในขณะเดียวกันก็แบ่งเวลาให้ตัวเองได้ค้นคว้าสิ่งใหม่ๆเพื่อเติมพลัง แต่ละองค์กรสามารถลองนำไปปรับใช้ในสไตล์ของแต่ละองค์กรหรือตอบโจทย์พนักงานแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการและกำลังเผชิญกับความท้าทายในรูปแบบที่แตกต่างกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 9