Diversity and Inclusion สำหรับพนักงานวัยสีเงิน (Silver Talent)

Diversity and Inclusion

ความสำคัญของ Diversity and Inclusion ในองค์กร

  • ในยุคที่หลายองค์กรตื่นตัวเรื่อง Diversity & Inclusion (D&I) บางแห่งอาจเริ่มต้นเพราะแรงกดดันจากสังคมหรือเพื่อภาพลักษณ์ แต่จริงๆ แล้ว D&I มีผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจ โดยเฉพาะการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับทุกช่วงวัย
  • D&I ในไทยยังเน้นประเด็นเรื่องเพศและเชื้อชาติมากกว่าเรื่องอายุ กลยุทธ์ส่วนใหญ่จึงมุ่งให้คนรุ่นใหม่มีพื้นที่และบทบาทในองค์กร ซึ่งบางครั้งละเลยความสำคัญของพนักงานวัยสีเงิน

ทำความรู้จักกับกลุ่ม Silver Talent

  • ใครคือ Silver Talent?
    • กลุ่มอายุ 55-70 ปีที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากภาวะ Aging Population
  • ศักยภาพทางธุรกิจ:
    • มีเงินเก็บสูง
    • สุขภาพยังดี
    • มีเวลาว่างพร้อมใช้เทคโนโลยี
    • ในประเทศญี่ปุ่น พนักงานวัยนี้คิดเป็น 12.3% ของตลาดแรงงานตั้งแต่ปี 2017 และแนวโน้มในไทยกำลังตามมา

Unconscious Bias และความเข้าใจผิดที่ต้องแก้ไข

ความเชื่อที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Silver Talent

  1. “สุขภาพไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว”
    • ความจริง: พนักงานสูงวัยมักใช้วันลาป่วยน้อยกว่า และด้วยการดูแลสุขภาพในปัจจุบัน หลายคนยังแข็งแรงมาก
    • แนวทาง: ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ ergonomic และมีโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
  2. “Productivity ต่ำกว่า”
    • ความจริง: พนักงานกลุ่มนี้มักมีความจงรักภักดีสูง งานต่อเนื่อง และตัดสินใจได้ดีจากประสบการณ์
    • แนวทาง: สร้างพื้นที่ให้แสดงศักยภาพ พร้อมเชื่อมโยงประสบการณ์กับนวัตกรรม
  3. “ไม่เปิดรับการเปลี่ยนแปลง”
    • ความจริง: ความต่อต้านเกิดได้ทุกวัย แต่ Silver Talent อาจต้องการวิธีเรียนรู้ที่เหมาะสม
    • แนวทาง: ออกแบบโปรแกรมฝึกอบรมที่ตอบโจทย์วิธีการเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม

ในมุมของการจ้างงาน เรามักคุ้นเคยกับกับดักทางความคิด การตัดสินคนจากอายุ ไม่ว่าจะจากวัฒนธรรมดั้งเดิม หรือประสบการณ์ที่แตกต่างกัน จนกลายเป็นสิ่งที่ทำลายวัฒนธรรมองค์กรและฉุดรั้งการเป็นองค์กรแห่งอนาคต

มาดูกันว่า มีมุมมองอะไรบ้างต่อพนักงานสูงอายุที่องค์กรควรรับมือและให้ความรู้พนักงานทุกกลุ่ม เพื่อสร้างสถานที่ทำงานสำหรับพนักงานทุกคน (Truly Diversive Workplace) ที่เปิดกว้างและใช้จุดแข็งร่วมกันอย่างแท้จริงให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ และผลลัพธ์ทางธุรกิจที่สูงขึ้น ความเชื่อและ bias ที่เรามักพบเจอในองค์กรในช่วงการสรรหาคัดเลือก และการจะพิจารณาเลื่อนตำแหน่งพนักงาน

“พนักงานสูงอายุ อาจทำงานได้ไม่ดีพอเพราะมีปัญหาด้านสุขภาพ….”แต่จากการศึกษาพบว่า พนักงานสูงอายุใช้วันลาป่วยน้อยกว่าพนักงานรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับอัตราการลาและความพึงพอใจในงาน และด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์และเทรนด์การดูแลสุขภาพทำให้ผู้สูงอายุในปัจจุบันหลายรายแข็งแรงกว่าเด็กรุ่นใหม่ ๆ ที่มีโรคประจำตัวรุมเร้า และมีอาการออฟฟิศซินโดรมตั้งแต่ยังอายุน้อย หากองค์กรเล็งเห็นว่า สิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัญหาในอนาคต ก็ต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีทำงานและ workplace ให้ ergonomic รวมถึงมีโปรแกรมดูแลสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อหนีห่างจาก dilemma นี้ในอนาคตที่ดูจะมาถึงเร็วกว่าเดิม

“พนักงานสูงอายุ Productive สู้พนักงานรุ่นใหม่ไม่ได้….” พนักงานวัย Silver มีความจงรักภักดีกับองค์กร มีความต่อเนื่องของงาน และหลายครั้งมีการตัดสินใจที่ดีกว่า ที่เกิดจากประสบการณ์ที่สะสมมา รวมถึงคนส่วนใหญ่ยังทำงานอยู่โดยมีเป้าหมายมากกว่าแค่เงินเดือนหรือการเติบโตก้าวหน้าในงาน ในขณะที่คนรุ่นใหม่อยากเลิกทำงานตั้งแต่อายุน้อย คนสูงวัยกลับอยากทำงานต่อไปอีกนาน ๆ เพื่อให้ตนยังรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและมีคุณค่าอยู่ ดังนั้นหลายคนยังคงมี passion และแสวงหาความ productive ในตัวเองอยู่ แม้ในเรื่องของเทคโนโลยีก็ตาม

“พนักงานสูงอายุชอบต่อต้านการเปลี่ยนแปลง…” ความจริงการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น พนักงานอายุน้อยก็เป็น แต่มักถูกแสดงออกมาด้วยอาการ “ดื้อรั้น” หรือ “ดื้อเงียบ” ที่น่าเอ็นดูจากมุมมองของคนที่มีประสบการณ์สูงกว่า แต่ข้อที่ต้องยอมรับคือ ผู้สูงอายุมีอัตราการอยากเรียนรู้ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเด็ก ผู้สูงอายุหลายคนกระตือตือร้นเรียนรู้ที่จะใช้อินเทอร์เน็ต และ smart phone แต่มักเรียนรู้ได้ถึงจุด ๆ หนึ่งเท่านั้น ดังนั้นองค์กรควรหาเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายในการสร้างความรู้และทักษะใหม่ ๆ ให้กับ Silver Talent หรือ Active Ager ขององค์กรเหมือนกับ Young Talent แต่ด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันเพราะวิธีเรียนรู้ไม่เหมือนกัน

การพัฒนาและการส่งต่อความรู้

การจัดโปรแกรมการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน

  • สร้าง Community of Practice ระหว่างพนักงานต่างวัย
  • ส่งเสริม Growth Mindset ในทุกวัย เพื่อเรียนรู้จากอดีตและพัฒนาทักษะใหม่
  • เน้น Inter-Department Collaboration เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ข้ามสายงาน

การบริหาร Silver Employee ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้คนเหล่านี้สามารถส่งต่อความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่สำคัญ (Critical Experience) ไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตขององค์กรได้แบบครบถ้วนที่สุด เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่ยังคงรักษา Competitive Advantage แบบเดิม และเติมนวัตกรรมจากการรู้จักลูกค้าและองค์กรดีที่สุดเท่ากับคนที่ทำงานมากว่าครึ่งชีวิต การจะสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนหลายวัยได้นั้น องค์กรต้องเพิ่ม growth mindset ในทุกเจเนอเรชั่น สำหรับคนที่มีประสบการณ์ ก็ให้เรียนรู้จากความผิดพลาด (Mistakes) ในอดีต และคอยหมั่นเติมความรู้และทักษะระหว่างสายงานเข้าไปมากขึ้น (Inter-Department) และอาจมีการจัดตั้งกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนในวัยเดียวกัน หรือต่างวัย (Community of Practice) โดยกำหนดชุดทักษะที่เป็นที่ต้องการ หรือทักษะที่คนสูงวัยต้องมา refresh ให้ทันกับปัจจุบันและอนาคต

ในขณะที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค digitalization ธุรกิจมีเทคโนโลยีและคนรุ่นใหม่ที่มีหัวก้าวหน้าเข้ามาช่วยขับเคลื่อน แต่สิ่งที่ขาดที่สุดคือ ข้อมูลและประสบการณ์ ซึ่งติดอยู่กับประสบการณ์กว่า 30 ปีของคนวัย Silver ที่เป็น Silver Talent ขององค์กร ยิ่งองค์กรและผู้บริหารละเลยคนกลุ่มนี้เท่าไหร่ เพราะคิดว่าเก่งแล้ว หรือเป็นผู้บริหารอยู่แล้วทำมาตั้ง 30 กว่าปี ธุรกิจก็ยิ่งสูญเสียสิ่งที่สะสมมาตลอดปีที่ผ่าน ๆ มาจนต้องเริ่มต้นใหม่อยู่ตลอดเวลา คนรุ่นใหม่เข้ามาก็เหนื่อยกับการที่องค์กรไม่มีระบบ ไม่มีคนสอนงาน หรือไม่มีข้อมูล

บทบาทของ Silver Talent ในองค์กรยุคใหม่

  • Silver Talent ไม่เพียงเป็นพนักงาน แต่ยังสามารถเป็น ที่ปรึกษา หรือ Board of Advisor
  • การมีพนักงานต่างวัยในทีมช่วยเพิ่มมุมมองหลากหลาย สร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมและประสบการณ์

องค์กรใหม่ ๆ หลายแห่งอาจปฏิเสธว่า เรามีแต่คนรุ่นใหม่และไม่มีพนักงานอายุเกิน 35-40 ปี ซึ่งพบเห็นได้มากขึ้นในปัจจุบัน และเป็นเรื่องจริง แต่เชื่อได้ว่าทุกองค์กรจำเป็นต้องมีคนที่มีประสบการณ์ในเรื่องที่สำคัญ ๆ ที่เป็นหัวใจขององค์กรนั่งเป็นที่ปรึกษา หรือแม้แต่เป็น Board of Advisor ที่ให้มุมมองและประสบการณ์ หรือแม้แต่ Connection ที่สะสมมาหลายสิบปีจากคนกลุ่ม Silver Age นี้ ดังนั้นวิธี engage กับคนกลุ่มนี้ในแต่ละบทบาทก็อาจแตกต่างกันไปในเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ พนักงานพาร์ทไทม์ พนักงานชั่วคราว หรือที่ปรึกษา ซึ่งล้วนกำลังทำงานอยู่บนเป้าหมายเดียวกันในการทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ


จะดีกว่ามากหากเราสามารถสร้างองค์กรสำหรับทุกคน ทีมที่เปิดกว้างยอมรับและมีแนวปฏิบัติสำหรับความแตกต่างในเชิงบวก เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายเดียวกันด้วยเทคนิคและรูปแบบที่แต่ละคนได้เป็นตัวเองและได้ใช้ท่าที่ถนัดที่สุดในการทำภารกิจของแต่ละคน

สรุป: องค์กรสำหรับทุกวัย

องค์กรที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่ยอมรับและใช้ศักยภาพของทุกคนได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรุ่นใหม่หรือ Silver Talent การสร้างความร่วมมือข้ามวัยจะนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...