The Curse of knowledge: ยิ่งรู้มาก ยิ่งคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง!

พูดอะไรไม่เห็นรู้เรื่องเลย มีแต่ศัพท์ยากๆเรื่องแค่นี้ทำไมไม่รู้!! VS. เกิดมาก็พึ่งรู้นี่แหล่ะ!!นี่เขาอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจจริงๆ หรือให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจกันแน่เนี่ย นี่คือสถานการณ์อันน่าเป็นห่วงของ “Curse of Knowledge” ยิ่งรู้มาก…กลับกลายเป็นยิ่งคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง!!

Curse of Knowledge เรื่องแค่นี้ทำไมไม่รู้?!!

Curse of Knowledge คือ ภาวะที่ผู้เชี่ยวชาญมี “ความรู้ท่วมหัว” จนทุกอย่างดูเหมือนง่ายไปหมด รู้มากเสียจนรู้สึกว่า เรื่องยากกลายเป็นง่าย…ขณะที่คนทั่วไปยังมองว่ายากอยู่!! 

นำไปสู่ความล้มเหลวในการอธิบาย “สื่อสาร” กับคนทั่วไป (Laypeople) ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะทึกทักไปว่าเขาต้อง 

  • ทำได้…อย่างที่เราทำ 
  • เป็น…อย่างที่เราเป็น 
  • คิด…แบบที่เราคิด
  • เข้าใจ…แบบที่เราเข้าใจ

“เรามองว่าง่าย…คนอื่นก็น่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ เช่นกัน” ทั้งที่ความจริงแล้ว คนทั่วไปมองว่า “โห…ยากจัง ไม่เห็นรู้เรื่องเลย”

Curse of Knowledge เกิดขึ้นได้อย่างไร?

คนเรากว่าจะเข้าใจถ่องแท้เรื่องหนึ่งย่อมใช้เวลา / ความพยายาม / ทรัพยากร /  ประสบการณ์ เราต้องอ่านหนังสือหลายเล่ม / ลงเรียนหลายคอร์ส / พูดคุยกับคนหลายคน / ประสบการณ์ทำงานหลายแห่ง

เหล่านี้ “หล่อหลอม” ให้องค์ความรู้ของคุณไต่ระดับไปอีกขั้นจน “เหนือกว่าค่าเฉลี่ยคนทั่วไป” และที่สำคัญ คุณรู้สึกเป็นธรรมชาติมากๆ กับเรื่องยากที่รู้

Curse of Knowledge ไม่ใช่สิ่งที่เราคิดไปเอง มีการทดลองหนึ่งในปี 1990 โดย Elizabeth Newton ที่สะท้อนเรื่องนี้ได้ชัดเจนมาก 

เธอให้ผู้ทดลองใช้ “มือเคาะ” บนโต๊ะให้เป็น “จังหวะดนตรี” ยอดฮิตของยุคนั้น ผู้ทดลองแต่ละคนทายว่า คนฟังกว่า 50% จะต้องรับรู้แน่ๆ ว่าตนกำลังเคาะเป็นจังหวะเพลงฮิตอะไรอยู่ แต่ผลปรากฎว่า…คนฟังที่รับรู้จริงๆ มีอยู่แค่ 2.5% เท่านั้น!!

  • ผู้เคาะ ได้ยินเป็นเสียง “จังหวะดนตรี” อันไพเราะ 
  • ผู้ฟัง ได้ยินเป็นเสียง “ก๊อกแก๊กๆ” หนวกหู

Curse of Knowledge ในธุรกิจ

“ผลิตภัณฑ์นี้นี้ใช้งานง่ายมากๆ ลูกค้าต้องชอบแน่”

คุณในฐานะคนคิด คนออกแบบ คนแก้ปัญหา ลองผิด-ลองถูกอยู่ 100 รอบ ย่อมต้องรู้สึกแบบนี้ในท้ายที่สุดอยู่แล้ว…แต่บรรดาลูกค้าที่พึ่งได้ลองใช้ “ครั้งแรก” ไม่มีพื้นฐานมาก่อนเลย อาจไม่ได้คิดเหมือนคุณ สรุปคือ ลูกค้า “ไม่ซื้อ” เพราะมองว่าใช้งานยาก

.

.

Curse of Knowledge ยังนำไปสู่ความไม่ลงรอยกันของการสื่อสาร วิศวกรพรีเซนท์กลไกการทำงานของเครื่องยนต์ต่อหน้า CEO มักคิดว่าสิ่งที่อธิบายเป็นเรื่องพื้นฐานง่ายๆ แต่ฝั่ง CEO กลับมองว่าเป็นศัพท์เทคนิคยากๆ ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน

ยิ่งรู้เยอะ…ยิ่งคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง

ป้องกัน Curse of Knowledge ได้อย่างไร?

“เอาใจเขามาใส่ใจเรา” น่าจะเป็นด่านแรกที่ดีที่สุด คิดซะว่าต้องการผลลัพธ์คือการสื่อสารที่ “เข้าใจตรงกัน” (ไม่ใช่การมาอวดภูมิความรู้)

  • เลิกมองในมุมผู้สอน…ให้มองในมุมผู้เรียน
  • เลิกมองในมุมผู้สร้าง…ให้มองในมุมผู้ใช้งาน

.

.

ศึกษาประวัติผู้ฟังก่อนว่ามี “แบคกราวน์” ด้านไหน เช่น ถ้าจบเกียรตินิยมด้านการเงิน ก็สามารถใช้คำย่อหรือศัพท์เทคนิคด้านการเงินได้โดยตรง เช่น Derivatives / EBITDA / QE / Treasury Yield

.

.

อีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้ได้ดีคือการ “เปรียบเปรย” (Metaphor) 

History: ประวัติศาสตร์เหมือนแม่น้ำลำธาร ไหลไปข้างหน้าอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย 

Philosophy: โลกก็เหมือนเวที โดยมีคนอย่างพวกเราเป็นนักแสดง

Health: รถเสียหาอะไหล่ใหม่แทนได้ แต่ร่างกายคนพังแล้วพังเลย

Transport: รถไฟฟ้าเหมือนเส้นเลือดใหญ่ รถเมล์เหมือนเส้นเลือดฝอย

สำหรับวงการโฆษณาหรือใครที่ต้องติดต่อลูกค้าโดยตรง วิธีที่ดีที่สุดคือการ “ไปพบลูกค้า” และคุยอย่างเปิดอกเพื่อเรียนรู้และฟังว่า ลูกค้าคิดอย่างไร / มีวัฒนธรรมอย่างไร / ใช้ภาษาอย่างไร

  • คุณใช้คำว่า “เรียกร้องความสนใจ” VS. ลูกค้าใช้คำว่า “หิวแสง”
  • คุณใช้คำว่า “โอ บง แปง” VS. ลูกค้าใช้คำว่า “อุบลพรรณ”
  • คุณใช้คำว่า “ชูครีม” VS. ลูกค้าใช้คำว่า “เอแคลร์”

เพียงเท่านี้ ก็สามารถหลีกเลี่ยง Curse of Knowledge ได้มากแล้ว พร้อมใช้ภูมิปัญญาที่มี ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างผลประโยชน์ให้แก่บริษัท!!

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...