ทักษะการโค้ช สกิลที่หัวหน้างานหลายคนมองข้าม

รู้หรือไม่? คนเก่งระดับตำนานอย่าง Steve Jobs ยังเคยมี “โค้ชส่วนตัว” โค้ชของเขาชื่อว่าคุณ Bill Campbell ซึ่งจะไปทำการ Coaching ให้กับสตีฟ จ็อบส์อยู่เป็นระยะ…มีคำกล่าวว่า Steve Jobs จะไม่สามารถคิดค้น iPhone 1 ได้เลยถ้าไม่มีการ Coaching กับเค้าคนนี้

Coaching เป็นสกิลในระดับหัวหน้างานจนไปถึงผู้บริหารที่สำคัญมากๆ สำคัญกว่าที่หลายคนคิด แต่ก็เป็นสกิลที่บางคนอาจยังมองข้ามไปอยู่ 

 

Forbes เปิดเผยว่า พนักงานคือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท พวกเขาต้องการบางอย่างมากกว่าแค่เงิน หนึ่งในนั้นคือการ Coaching นั่นเอง และยิ่งถ้าเป็นการ Coaching ระดับผู้บริหารแบบตัวต่อตัว สามารถเพิ่ม ROI ให้องค์กรได้ถึง 788% เลยทีเดียว

 

แล้วการ Coaching คืออะไรกันแน่?

 

การโค้ช (Coaching) คือเทคนิคพัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กร เมื่อคนเก่งขึ้น ก็ทำผลงานดีขึ้นแก่องค์กรได้ Coaching จะช่วยให้พนักงานเข้าใจตัวตนที่แท้จริง ก่อนสามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่ในออกมาให้ได้มากที่สุด

 

แก่นของการ Coaching คือต้องให้คนถูกโค้ช “ตระหนักด้วยตัวเอง” (Self-Realization) จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนในระยะยาว 

 

Coaching ยังเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ค้างคาและเป็นเทคนิคกระชับมิตรกันภายในทีม เพราะหลายครั้งลูกน้องในทีมอาจเจอปัญหารุมเร้าจนไม่รู้จะแก้ยังไง และไม่รู้จะปรึกษาใคร

  • ทำงานเดิมๆ วนลูปจนสูญเสียความครีเอทีฟที่จำเป็นต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  • หมกมุ่นกับงานตรงหน้าที่ล้นมือ จนลืมเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งไว้
  • จมอยู่กับมุมมองโลกทัศน์ของตัวเองจนหาทางออกอื่นไม่เจอ 

 

เริ่มทำ Coaching ยังไงดี?

 

อันดับแรก ต้องเข้าใจก่อนว่า คน Coach ไม่ได้มีคำตอบให้ ไม่ได้รู้เรื่องราวดีเทลไปกว่าคนถูกโค้ชหรอก 

 

การ Coaching ที่ดีจะเริ่มจากการรับฟัง ก่อนตั้งคำถามย้อนกลับไปเพื่อให้ Coachee ตระหนักและเข้าใจอะไรต่างๆ อย่างแจ่มแจ้งด้วยตัวเอง รู้หรือไม่ว่า กว่า 80% ของการโค้ช คือการรับฟังแบบ Active listening ไม่เอาตัวเองไปตัดสิน ไม่ให้มีอารมณ์ร่วมจนเกิดการเข้าข้าง ส่วนอีก 20% ที่เหลือ คือการตั้งคำถามปลายเปิดสะท้อนกลับไป

 

Active listening ที่เวิร์คจะทำให้คนถูกโค้ชเกิด Trust เค้าจะรู้สึกว่านี่คือพื้นที่ปลอดภัยที่สามารถถ่ายทอดแชร์เรื่องราวต่างๆ ได้ทุกเรื่อง นำไปสู่การโค้ชที่มีประสิทธิภาพ

 

นอกจากนี้ การ Coaching ที่ถูกต้องและมีจรรยาบรรณ คน Coach จะไม่มีการชี้นำทางความคิด ไม่ตั้งคำถามที่หลอกล่อให้ตอบไปทางใดทางหนึ่ง และไม่นำข้อมูลเรื่องราวของ Coachee ไปเผยแพร่บอกต่อ คำถามจึงมักเป็นคำถามกลางๆ เช่น “คุณคิดยังไงกับสินค้าของบริษัท A?”

 

อีกประเด็นเซนซิทีฟคือ การ Coaching ต้องเป็นไปโดยให้ทุกฝ่ายรู้สึกเท่าเทียมเสมอภาคกัน 

 

แก่นของการ Coaching คือการพัฒนาบุคคล (Personal development) ทั้งการทำงาน ทัศนคติ จนไปถึงจิตวิญญาณ เราต้องมองว่าพนักงานมีความปกติ ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด การ Coaching ทำไปเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เท่านั้นเอง

 

  • Coach ไม่ใช่เจ้านายที่มาปรับทัศนคติลูกน้อง
  • Coachee ก็ไม่ใช่คนทำผิดที่ต้องถูกสอบสวน

 

สร้าง Coaching Culture ระดับองค์กร

 

หัวใจของการ Coaching คือการพัฒนาคน จึงควรเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร เพราะองค์กรขับเคลื่อนด้วยคน เมื่อคนมีคุณภาพขึ้น องค์กรยิ่งประสบความสำเร็จขึ้นตาม!

 

การ Coaching ที่ได้ผล อันดับแรกต้องมาจากระดับบน (Management level) จากผู้บริหารที่วางกรอบนโยบายชัดเจน จัดตั้งเป็นวาระสำคัญ ประเมินผลได้ และทำอย่างต่อเนื่องนานพอจนเห็นผล จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง 

 

และควรเริ่มทำจาก “ภายในองค์กร” ให้สำเร็จก่อน เพราะการ Coaching เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานาน ต้องลองผิดลองถูก ต้องลองทำอย่างต่อเนื่องซักระยะกว่าจะเริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม ถ้าจ้างนัก Coach มืออาชีพจากข้างนอก อาจเกิดปัญหาความต่อเนื่องและประเด็นการรั่วไหลข้อมูลสำคัญของบริษัท

 

อย่างไรก็ตาม ระดับผู้บริหารต้องให้ความสำคัญเป็นคนริเริ่มวัฒนธรรม Coaching ในสเกลทั้งองค์กร เพราะหางจะตามได้…หัวต้องนำก่อน!

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

generation
จะทำอย่างไร? หากต้อง "ทำงานกับคนต่าง Generation" ที่คิดไม่เหมือนกัน
Generation กับความคิดที่ไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไร?ความท้าทายของการทำงานร่วมกับคนที่ต่างอายุ ต่างช่วงวัย หลายครั้งไม่ใช่ความสามารถในการทำงานหรือประสบการณ์ที่มากกว่ากัน...
Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...