ส่องสัญญาณที่บอกว่าคุณคือผู้โชคดีได้รับรางวัล “หัวหน้ายอดแย่”

หัวหน้ายอดแย่

ในทุกองค์กรไม่ว่าจะองค์กรไหนก็ตามล้วนมีการลงทุนกับการว่าจ้างคนทำงานที่อยู่ในระดับกลางไปจนถึงระดับสูง หรือที่เรียกสั้นๆ ง่ายๆ ว่า ตำแหน่งของ “หัวหน้า” 

การทำงานหรือการนำทีมของหัวหน้าคนใดก็ตามในองค์กร ล้วนส่งผลกระทบต่อผลงานและผลลัพธ์ที่องค์กรได้รับแบบโดยตรง การลงทุนในทรัพยากรส่วนนี้จึงเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสำคัญและควรที่จะถูกบริหารการลงทุนเป็นอย่างดี ถ้าหากหัวหน้าทำงานหรือทำตัวได้แย่ การลงทุนนี้ก็จะเป็นการลงทุนที่แย่ตามไปด้วย

อีกทั้งหัวหน้าที่ดีหรือไม่ดี ยังมีผลต่อการทำงานของพนักงานคนอื่นๆ ในองค์กรอย่างชัดเจน หากหัวหน้าไม่ดีก็อาจจะทำให้ลูกน้องหรือพนักงานไม่พัฒนา หรือท้ายที่สุดจบที่การลาออก หากทีมไหนก็คนลาออกเยอะๆ การที่จะถูกเดาว่าหัวหน้าทีมนั้นคุมทีมได้ไม่ค่อยดีก็ค่อนข้างมีผล

อะไรคือ “หัวหน้ายอดแย่” ?

การที่สมัครงานแล้วจะเจอหัวหน้าที่ดีสักคน เหมือนเป็นการเสี่ยงดวง หากแต่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่านี่แหละคือหัวหน้าที่ไม่ดี? ลองสังเกตสิ่งเหล่านี้ 

ถ้าหากหัวหน้าสื่อสารไม่รู้เรื่อง  ไม่เข้าใจลูกน้อง  ลำเอียง  เข้าถึงยาก  หรือชอบทำให้เรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยาก  ถ้าเคยเจอแบบนี้ล่ะก็  ค่อนข้างมีความเป็นไปได้ว่าเรากำลังเผชิญกับ “หัวหน้ายอดแย่” อยู่

หัวหน้าที่ดีคือคนที่สามารถกระตุ้นและให้พลังคนในทีมที่จะเห็นเป้าหมายการทำงานร่วมกัน เปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน และหัวหน้าที่ดีควรที่จะมีความจริงใจ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมตัวเองได้เป็นอย่างดี

แต่การเป็นผู้นำที่ดี  ต้องอาศัยความสามารถ อาศัยทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการทำงานหรือ Soft Skills สำคัญ ซึ่งหัวหน้าที่แย่มักจะขาดทักษะทั้งสองแบบ และทำให้หลายครั้งหัวหน้าแบบนี้มักจะตัดสินใจพลาดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่สามารถเข้ากับคนอื่นได้ สำคัญที่สุดคือไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องตัวเองได้

สรุปง่ายๆ คือ  หัวหน้าที่แย่  สามารถทำลายทีมและสร้างบรรยากาศการทำงานแบบ Toxic ได้เลยทีเดียว

“หัวหน้ายอดแย่” ทำลายทีมได้อย่างไรบ้าง?

หัวหน้าแย่ สามารถสร้างผลลัพธ์ให้กับองค์กรและทีมได้อย่างรุนแรง ไม่ใช่แค่ทำให้ลูกน้องลาออกเงียบ หรือลาออกจริงเท่านั้น  ผลสำรวจพนักงานอเมริกันกว่า 3,000 คน  พบว่า 82%  พร้อมลาออกเพราะหัวหน้า

หากองค์กรเก็บหัวหน้ายอดแย่เอาไว้นานแค่ไหน ทีมกับองค์กรจะยิ่งเสียหายมากขึ้นเท่านั้น สิ่งเหล่านี้สามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากการที่ลูกน้องในทีมของหัวหน้านั้นไม่เติบโต และเลิกที่จะทุ่มเทกับงาน จนถึงขั้นทนไม่ไหวและยื่นใบลาออกไปเลย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบกับองค์กรโดยตรง การที่คนพร้อมใจกันลาออกมากๆ อาจจะทำให้องค์กรสามารถพัง และขาดคนทำงานไปได้

ส่วนคนที่ยังอยู่ก็จะขาดขวัญกำลังใจ ประสิทธิภาพการทำงานก็มีแนวโน้มที่จะลดลง เพราะฉะนั้นถ้าหากองค์กรต้องการดึงดูดพนักงานเก่งๆ ให้ทำงานไปนานๆ อย่าลืมให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการทำงานของหัวหน้าให้มากยิ่งขึ้น เพราะลดอัตราหัวหน้ายอดแย่ที่จะเกิดขึ้นในองค์กรลง

ส่อง 10 สัญญาณ นี่เรากำลังเจอหัวหน้ายอดแย่อยู่แน่ๆ

สัญญาณที่ 1: หัวหน้าไม่ไว้ใจลูกน้องของตัวเอง

“ความเชื่อใจ” คือสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ในการทำงานร่วมกันในทีม ถ้าหากหัวหน้าไม่เชื่อใจลูกน้องของตัวเองถึงแม้ว่าลูกน้องจะสามารถพิสูจน์ตัวเองและสร้างความน่าไว้วางใจได้ ก็อาจจะทำให้ลูกน้องขาดความมั่นใจและทำงานแบบลดประสิทธิภาพลงแบบไม่ทันตั้งตัว 

พนักงานส่วนใหญ่ที่รู้ว่าหัวหน้าเปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูก จะกล้าคิด กล้าทำ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างเต็มที่ หากแต่ว่าถ้าหัวหน้าเอาแต่จ้องจับผิด และไม่ยอมรับความคิดของลูกน้องพร้อมที่จะปัดตกความคิดอยู่ตลอด ก็จะเหมือนเป็นการปิดโอกาส และทำให้ลูกน้องหมดไฟในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว

สัญญาณที่ 2: จู้จี้จุกจิก หรือ Micromanage

ไม่มีใครชอบถูกบงการการทำงานทุกขั้นตอน  แม้กระทั่งรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ถ้าหากหัวหน้ากำลังทำสิ่งนี้อยู่ นี่แหละคือสิ่งที่สามารถตัดอิสระและการเติบโตของลูกน้องได้อย่างมากเลยทีเดียว

ส่วนใหญ่แล้ว ความจู้จี้มักจะเกิดจากความไม่ไว้ใจในตัวหัวหน้าที่มีต่อลูกน้องของตัวเอง เลยทำให้กลายเป็นหัวหน้าที่ลงมาส่องการกระทำทุกๆ อย่างของลูกน้องและเกิดนิสัยบงการเกิดขึ้น

ซึ่งจริงๆ แล้ว มันควรจะต้องมีสมดุลในการดูแลลูกน้องของตัวเอง ควรจะให้การฝึกฝนและให้คำแนะนำอย่างถูกจุด และปล่อยให้ลูกน้องได้ทำงานอย่างมีอิสระ และสามารถใส่ความคิดเห็นและความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองได้อย่างเต็มที่ หัวหน้าควรรู้ว่าเวลาไหนที่ควรเข้าไปโค้ชหรือเวลาไหนที่ควรปล่อยให้ลูกน้องได้ทำงานด้วยตัวเอง

สัญญาณที่ 3: มองโลกในแง่ร้ายไปทุกอย่าง

ไม่มีใครชอบอยู่ใกล้คนที่เอาแต่มองโลกในแง่ร้าย หัวหน้าที่ดีควรจะมองความจริงและเห็นปัญหา พร้อมกับสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างชาญฉลาด หากแต่ว่าหัวหน้ายอดแย่หลายคนจะมองสิ่งต่างๆ รอบตัวในแง่ร้ายและตั้งแง่ไปเสียทุกอย่าง การจมปลักเหล่านี้จะทำให้พลังบวกหายไปและลูกน้องก็จะเสียกำลังใจในการทำงานเอาอย่างมากอีกด้วย

เพราะไม่ว่าลูกน้องจะทำงานอย่างไร หัวหน้าที่เอาแต่มองโลกในแง่ร้ายก็จะรอที่จะติอย่างเดียว หัวหน้าแบบนี้มักจะไม่ให้คำชมกับลูกน้องง่ายๆ และมองว่าลูกน้องตัวเองไม่ดีพออยู่ตลอดเวลา

สัญญาณที่ 4: ชอบหนีปัญหา

สัญญาณอันตรายมากๆ ของหัวหน้า Toxic คือการเลือกที่จะหนีปัญหาหรือโยนปัญหาให้ลูกน้องตัวเองแก้ไขกันเองอยู่ตลอดเวลา หัวหน้าแบบนี้ไม่แสดงความโปร่งใสและไม่แสดงความรับผิดชอบในการทำงานอย่างยิ่ง

การกระทำเหล่านี้สามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานแบบ Toxic ให้กับทีมได้อย่างง่ายดาย และยังสร้างความรู้สึกไม่มั่นคงให้กับลูกน้องได้มากอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงนิสัยนี้ในระดับบุคคลนั้นยาก แต่อาจจะแก้ได้ด้วยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความรับผิดชอบ เช่น การจดบรรทึกเวลาทำงานของหัวหน้า หรือใช้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้เห็นว่าใครต้องปรับปรุงอะไรในตัวเองบ้าง

สัญญาณที่ 5: ขาดความเห็นอกเห็นใจ

ความเข้าใจหัวอกลูกน้อง  คือหัวใจสำคัญของการเป็นหัวหน้าที่ดี “ความเห็นอกเห็นใจ” เป็นส่วนหนึ่งของ EQ ที่หัวหน้าทุกคนควรมี  เพราะพนักงานส่วนใหญ่อยากรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า แต่หัวหน้าที่ไร้หัวใจจะทำลายกำลังใจและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกน้อง

หากอยากเข้าถึงลูกน้องให้ได้ ควรเริ่มจากความใส่ใจในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การถามความคิดเห็นและรับฟังความต้องการของลูกน้อง พร้อมกับให้ความช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส หรือแม้แต่การมีอารมณ์ขัน การเปิดตัวเองให้เขาถึงง่าย พูดคุยหยอกล้อ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถช่วยได้

สัญญาณที่ 6: ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้

หัวหน้าส่วนใหญ่อยากให้ลูกน้องได้แสดงศักยภาพออกมาอย่างสุงสุด ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องดี  แต่ทุกคนล้วนมีขีดจำกัด ถ้าหัวหน้าตั้งความคาดหวังและกดดันมากเกินไป อาจจะทำให้ลูกน้องทำงานหนักเกินกำลังและสุดท้ายพวกเขาก็จะหมดไฟ

ปัจจุบัน  พนักงานกว่า 43%  มีอาการ Burnout ซึ่งแน่นอนว่า ซึ่งอาการนี้จะทำให้การทำงานของพนักงานออกมาได้ไม่เต็มที่และประสิทธิภาพลดลง นอกจากนี้พนักงานเหล่านี้มักจะลาออกในท้ายที่สุด

สัญญาณที่ 7: มีโลกส่วนตัวสูงไม่มีส่วนร่วมกับทีม

หัวหน้าเหล่านี้มักจะตัดขาดกับโลกภายนอก ไม่พูดไม่คุยกับลูกน้อง ซึ่งนิสัยแบบนี้มักจะทำให้หัวหน้านำทีมไม่รอด เพราะว่าไม่รู้จักลูกน้องมากพอ ไม่รู้ปัญหาเพราะไม่เคยสุงสิงกับใคร

ซึ่งจริงๆ นิสัยเหล่านี้แก้ง่ายมาก ด้วยการเปิดใจมากยิ่งขึ้น และเข้าหาลูกน้องหรือคนรอบตัว เพื่อพูดคุยและให้คำปรึกษามากยิ่งขึ้น

สัญญาณที่ 8: กลัวการเปลี่ยนแปลง

หัวหน้าที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม จะเป็นเหมือนคนที่เอาแต่ย่ำอยู่ที่เดิมไม่มีการพัฒนาตัวเอง การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้บนโลกใบนี้ และบ่อยครั้งที่การเปลี่ยนแปลงมักจะมาแบบที่ไม่ได้ตั้งตัว 

หัวหน้าที่ดีควรเปลี่ยนมุมมองและความคิดของตัวเอง โดยการมองอุปสรรคหรือการเปลี่ยนแปลงให้เป็นโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

สัญญาณที่ 9: ไม่รับฟังใคร

ไม่มีใครอยากตามหัวหน้าที่เอาแต่ใจและชอบขัดจังหวะ การแสดงถึงการไม่ฟังและไม่สนใจลูกน้องนั้นดูออกง่ายมากๆ และทำให้ลูกน้องไม่สบายใจได้อย่างรวดเร็ว

การเป็นหัวหน้าที่ดี ควรฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ ไม่ใช่แค่เราพูดให้คนฟังอย่างเดียวแต่การฟังและทำความเข้าใจก็ควรเกิดขึ้นในตัวหัวหน้าด้วยเหมือนกัน อย่าลืมที่จะมีปฏิกิริยาตอตบสนอง อาจจะลองถามคำถามปลายเปิดหลังจากฟัง และสรุปสิ่งที่ลูกน้องพูดทุกครั้ง เพื่อแสดงออกว่าเราเข้าใจจริงๆ

สัญญาณที่ 10: ไร้ทิศทางการนำทีม

หัวหน้าที่ไม่ชี้แจงทิศทางการทำงาน สามารถสร้างความหงุดหงิดใจให้กับลูกน้องได้ เพราะว่าลูกน้องจะไม่รู้ว่าควรจะต้องทำอย่างไร ทำอะไร และสร้างสรรค์งานออกมาแบบไหน

การสื่อสารที่คลุมเครือหรือกำกวม จะทำให้ทีมทำงานออกมาไม่ประสานกันและไปในคนละทิศทาง หัวหน้าที่ดีต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และสามารถมอบหมายงานได้อย่างชัดเจน รวมถึงยังต้องสามารถวางแผนการทำงานออกมาได้อย่างเหมาะสม

การเป็นหัวหน้าที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้  หากเราพบว่าตัวเองหรือหัวหน้ามีสัญญาณเหล่านี้  อย่าเพิ่งหมดหวัง  การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากการยอมรับและเรียนรู้  เริ่มต้นจากการฟังลูกน้องให้มากขึ้น เปิดใจรับฟังความคิดเห็น  และพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง  องค์กรที่เต็มไปด้วยผู้นำที่ยอดเยี่ยม  คือองค์กรที่พร้อมจะเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

อ้างอิง:

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...