5 Coaching Mindset การันตีความล้มเหลว

Coaching
"คุณเคยคิดไหมว่า หัวหน้าที่ดีที่สุดไม่ใช่คนที่บอกว่าต้องทำอะไร แต่คือคนที่ถามคำถามเพื่อให้คุณคิดเอง?"
  • IBISWorld เผยว่าปี 2019 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโค้ชชิ่งเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าเกือบ 400,000 ล้านบาท
  • จากการวิจัยของ Fortune 500 พบว่าการโค้ชผู้บริหารแบบตัวต่อตัวที่มีประสิทธิภาพ (Executive Coaching) สร้างผลตอบแทน ROI ได้สูงถึง 788% 
  • Forbes เปิดเผยว่า หนึ่งในการโค้ชชิ่งที่โตเร็วที่สุดในยุคนี้คือ การโค้ชเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน (Employee Satisfaction Coach) เพราะพนักงานคือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท และพวกเขาต้องการมากกว่าแค่เงิน

ไม่ว่าจะรูปแบบไหน การโค้ชชิ่งล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม คนทำงานหลายคนยุคนี้ยังมี Mindset ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการโค้ชชิ่ง…รวมถึงบรรดาผู้บริหาร โดยเฉพาะ 5 Coaching Mindset เหล่านี้ ที่หากเผลอนำไปใช้แล้วล่ะก็ คือรถไฟเหาะสู่ความล้มเหลวแน่นอน

1. Leading questions

  • ทุกคนมองว่านาย A คือต้นเหตุของปัญหา…แล้วคุณคิดว่าไง?
  • คุณคิดอย่างไรกับบริการอันเป็นเลิศของบริษัท A? 
  • แล้วทำไมคุณไม่บอกหัวหน้าไปตรงๆ ล่ะ? 

คำถามชี้นำที่ไม่เป็นกลางลักษณะนี้ นำไปสู่การ “ตีกรอบความคิด” (Framing) กลายเป็นว่า แทนที่พนักงานจะมีอิสระในการสำรวจความคิดจนค้นพบตัวเอง (Self-discovery) หรือมองสถานการณ์ในมุมมองใหม่ๆ…กลับถูกชี้นำให้คิดตามกรอบและประสบการณ์ของนักโค้ช คำถามแบบนี้ ตัวผู้โค้ชมัก ‘ปักธง’ มีคำตอบในใจอยู่แล้ว ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อคนถูกโค้ช

2. Coaching ‘to’ others

ทัศนคติที่ว่า เรามาโค้ชชิ่งให้ (to) ลูกน้อง-พนักงาน จะเกิดเส้นแบ่งและจริตของการถูกควบคุม การปรับทัศนคติใหม่ว่ามาโค้ชกับ (with) ลูกน้อง-พนักงาน จะให้ความรู้สึกที่ “เท่าเทียม” มากกว่า กระตุ้นการแลกเปลี่ยนทัศนคติและความคิดแบบเปิดอกเปิดใจ ฟังดูใกล้เคียงกันมาก แต่ทัศนคติอย่างหลัง ต่อไปพนักงานจะรู้สึกว่าตัวเองทำงาน ‘กับ’ บริษัท (I work with the company.) ซึ่งมีแนวโน้มจะทุ่มเททำงานและจงรักภักดีมากกว่า

3. Coaching is to fix troubled employees.

การมองว่าพนักงานของตนมีปัญหา…จึงต้องรับการโค้ชเพื่อพัฒนา กับ การมองว่าพนักงานของตนปกติ…แค่รับการโค้ชเพื่อพัฒนาให้เก่งยิ่งขึ้นต่อไป ทัศนคติอย่างหลัง เป็นการมองแบบก้าวไปข้างหน้า (Forward thinking) และพนักงานมีแนวโน้มให้ความร่วมมือมากกว่า เพราะแก่นของการโค้ชคือการ “พัฒนา” (Improve) บุคลากร…ไม่ใช่การแก้ไข (Fix) แม้แต่พนักงานที่เก่งที่สุดก็ควรได้รับการโค้ช!

4. Coaching is mentoring.

พนักงานหลายคน(แม้แต่ผู้บริหาร) ยังเข้าใจผิดอยู่ว่าการโค้ชชิ่งคือการอบรม “สอนงาน” มานั่งรับฟังความรู้อย่างตั้งอกตั้งใจ แต่การโค้ชชิ่งที่ถูกต้องจะเริ่มจากการ “รับฟัง” ก่อนจะตั้งคำถามย้อนกลับให้เราได้ขบคิดจน “ตกผลึก” ด้วยตัวเอง กว่า 80% ของการโค้ช คือการรับฟัง อีก 20% ที่เหลือ คือการตั้งคำถามปลายเปิดสะท้อนกลับ ในระหว่างกระบวนการนี้ ผู้ถูกโค้ชยังอาจได้ค้นพบตัวเองในมิติที่ลึกซึ้ง เขาอาจถูกโค้ชถึงทักษะการปิดการขาย แต่สุดท้ายก็อาจรู้ด้วยว่าความสุขในการทำงานนี้คืออะไร? คุณค่าที่แท้จริงอะไรกันแน่ที่ส่งมอบให้แก่สังคม?

5. Coaching always works.

ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป การโค้ชที่ปราศจากการวางแผนที่ดี เน้นปริมาณแต่ไร้คุณภาพ…ล้วนประสบความล้มเหลวมานักต่อนักแล้ว การโค้ชที่ได้ผล สิ่งแรกต้องมาจาก “ระดับบน” จากผู้บริหารที่วางกรอบนโยบายชัดเจน จัดตั้งเป็นวาระสำคัญ ประเมินผลได้ และทำอย่างต่อเนื่องนานพอจนเห็นผล จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง หางจะตามได้…หัวต้องนำก่อน แต่ก่อนจะ Coach คนอื่นได้…ต้องรู้จักตัวเองให้ลึกซึ้งเสียก่อน

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” ฟรี! จาก CareerVisa ได้ที่ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...