หัวหน้า 6 ประเภทที่ลูกน้องเข้าขั้นเกลียด

หัวหน้า
ณ จุดหนึ่งของชีวิตการทำงาน เราล้วนต้องเจอกับหัวหน้าที่มีข้อบกพร่อง และเรามักบอกตัวเองว่า อนาคตเราจะไม่มีวันเป็นหัวหน้าแบบนั้นแน่นอน อย่างไรก็ตาม หัวหน้าที่แย่กลับถูกพบเจอได้เกลื่อนกลาดในที่ทำงาน 

ผลสำรวจหนึ่งที่จัดทำขึ้นโดย Barna Group (ร่วมกับ Leadercast) เผยว่า 40% ของพนักงานชาวอเมริกันคิดว่าตัวเองกำลังทำงานให้กับ”หัวหน้า”ที่เข้าขั้น “แย่”

ซึ่งนำไปสู่คำถามที่น่าขบคิดต่อว่า “หัวหน้าที่แย่” นั้นเป็นอย่างไร?

(และถ้าคุณเป็นหัวหน้า จะหลีกเลี่ยงยังไงได้บ้าง?)

1. The Buddy – หัวหน้า ที่ทำตัวเหมือนเป็นเพื่อนสนิท

หัวหน้าประเภทนี้อยากจะเป็นเพื่อนกับทุกคน แม้ความเฟรนลี่จะเป็นเรื่องน่าอภิรมย์ แต่ The Buddy มักสุดโต่งเกินไป จนสูญเสียความเคารพนับถือจากเหล่าลูกน้องในที่สุด

The Buddy มักเกิดกับ “หัวหน้ามือใหม่” ที่พึ่งเคยถูกโปรโมทขึ้นระดับนี้เป็นอย่างครั้งแรก โดยมีอดีตเพื่อนร่วมงานกลายสภาพเป็นลูกน้องในสังกัด (อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุม) นั่นเอง

หลีกเลี่ยงการเป็น The Buddy ยังไง ?

เหล่าหัวหน้าต้องเข้าใจว่า “ระยะห่าง” เป็นสิ่งจำเป็นในการทำงาน ตั้งแต่แรกเริ่มควรเรียกทุกคนมาพูดคุยและขีด “เส้นแบ่ง” ความสัมพันธ์ให้ชัดเจนแต่เนิ่นๆ

2. The People Pleaser – หัวหน้าที่ต้องการเป็นที่รักของทุกคน

คืออยากเป็นที่รักและพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทุกวิถีทาง ซึ่งนำไปสู่การไม่สามารถ “ปฏิเสธ” (Say No) ใครได้เลย หรือไม่สามารถตัดสินใจอะไรยากๆ ที่กระทบผู้อื่นได้เลย

หลีกเลี่ยงการเป็น The People Pleaser ยังไง ?

ให้นำผลประโยชน์ส่วนรวมของทีมเป็นที่ตั้ง ระลึกเสมอว่าการ “Say No” ไม่ใช่จุดจบของโลก อันที่จริง หัวหน้ามักได้รับความเคารพนับถือเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ถ้าตัดสินใจอะไรยากๆ ที่สุดท้ายย้อนมาส่งผลดีต่อกลุ่มโดยรวม

3. The Dictator – หัวหน้าจอมเผด็จการ

หัวหน้าประเภทนี้มักขู่คุกคามลูกน้องให้ทำในสิ่งที่ตนต้องการ และชอบบริหารจุกจิกในทุกเรื่อง (Micromanage) คนนอกอาจมองว่าอย่างน้อย The Dictator ก็ทำงานให้เสร็จได้ แต่เชื่อเถอะ หัวหน้าสไตล์นี้ไม่เวิร์คในระยะยาวแน่นอน 

หลีกเลี่ยงการเป็น The Dictator ยังไง ?

หัวหน้าที่ดีจะไม่บงการ “บังคับ” ลูกน้องให้ทำในสิ่งที่ต้องการ ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ความกดดันและการออกคำสั่งอันเข้มงวดที่ถาโถมใส่ลูกน้อง ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการให้ความร่วมมือ แถม “ซื้อใจ” ไม่ได้ด้วย

4. The Sleeper – หัวหน้าที่ทำตัวเฉยชา

หัวหน้าประเภทนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่สถานการณ์บริษัทเป็นไปด้วยดีอย่างต่อเนื่องจน “เคยชิน”

จนเมื่อปัญหาเกิดขึ้น The Sleeper จะรู้สึกกลัวการทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง ซึ่งบางครั้งนำไปสู่การไม่ตัดสินใจหรือลงมือทำ

หัวหน้าประเภทนี้ยังมีทัศนคติทำนองว่า “ถ้ามันยังไม่เสีย…แล้วจะซ่อมทำไม?”
(ถ้าปัญหายังไม่เกิด แล้วจะหาทางแก้ไขเตรียมไว้ทำไม?)

หลีกเลี่ยงการเป็น The Sleeper ยังไง ?

หน้าที่ของหัวหน้าคือการเป็น “ผู้นำ” ให้แก่ผู้อื่น ต้องหมั่นสอนงาน ชี้แนะ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมเพื่อเพิ่ม Productivity และแรงจูงใจในการทำงานด้วย

และแม้ทุกอย่างจะราบรื่น แต่ก็ควรหา Plan B รองรับ หรือหาทางปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ

5. The Administrator – หัวหน้าที่ควบคุมทุกอย่าง

หัวหน้าประเภทนี้มักวุ่นตลอดวันกับงานธุรการยิบย่อยทั้งของตัวเองและผู้อื่น จะไม่มอบหมายงานให้ใครทำ (เพราะกลัวทำผิดพลาด) โต๊ะล้นไปด้วยเอกสารกองโต

The Administrator บางคนยังใช้งานยิบย่อยกองเท่าภูเขามา “ปิดบัง” งานหลักที่สำคัญที่สุดของตัวเอง (ที่ยังทำไม่เสร็จ) เพื่อไม่ให้ใครรู้ สุดท้ายปัญหาก็จะปรากฏอยู่ดี

หลีกเลี่ยงการเป็น The Administrator ยังไง ?

เชื่อเถอะ งานเอกสารกองเท่าภูเขามีมาให้คุณทำไม่หยุดหรอก แต่คุณสามารถบาลานซ์มันได้ ลองมอบหมายให้คนที่ไว้ใจและมีความสามารถไปทำแทน และเอาตัวเองไป “โฟกัส” กับงานสำคัญภาพใหญ่ของบริษัทแทน

6. The Alarmist – หัวหน้า จอมวิตก

หัวหน้าประเภทนี้มักตื่นตระหนกตกใจอยู่ตลอดเวลากับเรื่องอะไรก็ตามที่เข้ามา (แม้บางทีไม่ได้ซีเรียสเลย) ทุกอย่างดูเหมือนเร่งด่วนไปหมด และลูกน้องทุกคนต้องทำอะไรบางอย่าง “เดี๋ยวนี้”

The Alarmist มักกระโดดเข้าหาข้อสรุปเร็วเกินไปและตั้งความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง (Unrealistic Expectation) แน่นอนว่าลูกน้องทุกคนที่รายล้อม “เครียด” ไปตามๆ กัน

หลีกเลี่ยงการเป็น The Alarmist ยังไง ?

การตื่นตระหนกบ้างเป็นเรื่องดี…แต่ก็ควรพอประมาณ ถ้ามากไปกลับส่งผลร้ายเพราะมันไม่ได้ช่วยสร้าง Creativity และ Productivity ที่ดีเลยในระยะยาว

The Alarmist ควรรู้ว่าเมื่อไรควรตื่นตกใจหรือ “เร่งด่วน” จริงๆ และเรื่องไหนที่ไม่สลักสำคัญนักก็ควรปล่อยผ่านเสียบ้าง

นอกจากนี้ การ “ตั้งเป้าหมาย” และเตรียมแผนสำรองไว้จะช่วยลดความวิตกกังวลจุดนี้ไปได้มากทั้งตัวหัวหน้าและลูกน้อง

และนี่ก็คือหัวหน้า 6 ประเภทที่ลูกน้องไม่ปรารถนา

แต่เราจะสังเกตได้ว่า หัวหน้าบางประเภทก็อาจเหมาะสมกับบาง “สถานการณ์”

บางครั้งต้องใจดี บางครั้งต้องออกคำสั่ง บางครั้งต้องปล่อยวาง บางครั้งวิตกกังวล 

สิ่งสำคัญคือการ “ทบทวน” ตัวเองและสถานการณ์รอบด้านอยู่บ่อยๆ และหาทางพัฒนาขึ้นทุกวัน ก็ทำให้เราเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นได้แน่นอน

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...