เผยเคล็ดลับ! ปรับแนวคิดในการทำงาน เปิดโหมด Growth Mindset เพื่อเพิ่มโอกาสเติบโตในสายงานให้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยกลยุทธ์แบบ Agile เพียงวางกลยุทธ์ทางความคิดและการทำงานให้สามารถปรับตัวต่อสิ่งต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างฉับพลัน มาดูกันว่า เราจะมีวิธีสร้างกลยุทธ์ด้วย Agile ให้เราสามารถเติบโตในสายงานได้อย่างไรบ้าง
“Agile Mindset” หรือแนวคิดการบริหารจัดการงานที่มีความคล่องตัวสูง มีความว่องไว และยืดหยุ่น พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงรอบตัวอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ร่วมกัน ภายใต้สถานการณ์การทำงานที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
รวมถึงยังเป็น Mindset ที่ปลูกฝังให้ทุกคนรับผิดชอบงานในส่วนของตัวเองให้ดีที่สุด ไม่เกี่ยงงานที่ได้รับมอบหมาย ทำงานควบคู่ไปกับวินัยเพื่อให้เสร็จทันเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการของการทำงานแบบ Agile คือการรวมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน และทำงานส่วนที่ตัวเองถนัดให้ออกมาสมบูรณ์แบบ โดยลดขั้นตอนการทำงานหรือตัดส่วนที่ไม่สำคัญออกให้มากที่สุด
เป็นการทำงานที่ต้องเน้นการสื่อสารกันและกันอย่างต่อเนื่อง เพราะทำงานร่วมกันหลายภาคส่วน และเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
คราวนี้ลองมาดูกันว่า ถ้าเราอยากปรับใช้ Agile เพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตในสายงานและเลื่อนขั้น จะมีวิธีอย่างไร?
4 วิธี สร้างกลยุทธ์ด้วย Agile ให้เราเลื่อนขั้นได้เร็วยิ่งขึ้น
1. ยกระดับทักษะของตัวเอง เพื่อให้พร้อมรับโอกาสใหม่ ๆ ตลอดเวลา : แนวคิดนี้เน้นให้เราพัฒนาทักษะรอบตัวอยู่เสมอ โดยเฉพาะทักษะใหม่ ๆ บอกเลยว่าเราก็ไม่ควรพลาดที่จะเรียนรู้มัน เพื่อต่อยอดให้ตัวเองเติบโตทันโลกที่ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา อีกอย่าง ทักษะที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะช่วยให้ความสามารถของเราพัฒนาและเติบโตได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างช่องทางออนไลน์สำหรับการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด เช่น Coursera, Udemy และ skillLane เป็นต้น ทุกคนสามารถเข้าไปหาคอร์สเรียนที่สนใจและสมัครเรียนด้วยตัวเองได้เลย
2. มองเห็นปัญหาและผลลัพธ์ตั้งแต่เริ่มทำ : เราควรที่จะต้องวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่น่าจะเกิดจากการลงมือทำออกมาได้ มี Critical Thinking เพื่อที่จะได้พร้อมรับมือและหาวิธีการแก้ไขปัญหาหรือการกระทำขั้นตอนต่อไปอยู่ตลอดเวลา และต้องสามารถสื่อสารออกมาให้คนรอบตัวเข้าใจเพื่อที่จะได้ Align วิธีการทำงานและแนวคิดให้เห็นเป้าหมายเดียวกัน
3. สร้างความน่าไว้วางใจ และขยายคอนเนกชันอย่างสม่ำเสมอ : ในยุคที่พวกเราหลายคนต้องทำงานแบบ Hybrid Working หรือ มีการสลับสับเปลี่ยนระหว่างการทำงานในรูปแบบ Onsite และ Online หรือ Work From Home การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ที่สามารถพึ่งพากันได้ มีความสำคัญมากกว่าที่คิด เพราะสิ่งนี้คือตัวขับเคลื่อนโอกาสการทำงานของเราให้เติบโตขึ้นไปอีกได้ จากความไว้วางใจของคนรอบตัวเรา ตัวอย่างช่องทางง่าย ๆ สำหรับใช้ขยายคอนเนกชัน และทำความรู้จักคนในแวดวงอาชีพเดียวกัน หรือต่างวงการ ก็คือ Linkedin
4. เรียนรู้จากความผิดพลาด และใช้เป็นหนทางสู่โอกาสใหม่ ๆ : เปลี่ยนความผิดพลาดเป็นบทเรียน และปรับใช้เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกันในอนาคต วิธีนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ และเป็นกลยุทธ์ที่ผู้นำหลายคนยึดถือ เพราะการเติบโตได้ดี ต้องมีการ Bounce Back หรือมองปัญหาเป็นโอกาสได้อยู่ตลอดเวลา และไม่ปิดตัวเองที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ จากปัญหาเหล่านั้น
อ้างอิง :
– https://tinyurl.com/47sn8zrj
– https://tinyurl.com/3mwtasck
4 เทคนิคแค่ปรับวิธีการ “สื่อสารในงาน HR” ก็สำเร็จได้มากกว่าเดิม
ในหลาย ๆ ตอนที่ผ่านมา จากการที่ได้ศึกษาเรื่องกลยุทธ์ ระบบ โครงสร้าง หรือเทคโนโลยีในงานบุคคลอย่างต่อเนื่อง ในบทความนี้จะขอพูดถึงจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญไม่แพ้กัน คือ “การสื่อสาร” ในงานบุคคล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก ๆ ที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ หากมีของดีแต่ไม่สื่อสาร หรือสื่อสารแล้วทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ก็สามารถทำให้เรื่องราวเปลี่ยนไปได้มาก หรือหากมีระบบหรือนโยบายที่ดีมาก ๆ แล้วสามารถใช้การสื่อสารสร้างแรงกระเพื่อม (amplify) ให้กว้างและมี impact มากขึ้นได้ก็จะทำให้งานมีคุณค่าเพิ่มมากกว่าเดิมที่จะช่วยพัฒนาชีวิตของพนักงานในองค์กรให้ดีขึ้นอย่างที่ HR Professionals ทุกท่านตั้งใจไว้ โดยเรารวบรวมมาให้ด้วยกันทั้งหมด 4 เทคนิคได้แก่ . 1. Communication Needs ต้องมาก่อน เรื่องโครงสร้างหน้าที่ใครไว้ทีหลัง คำแนะนำนี้เป็นจริงอย่างยิ่งในองค์กรที่ทั้ง “มี” และ “ไม่มี” หน่วยงานที่ดูแลการสื่อสารภายในองค์กร (Internal Communication) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะ ในองค์กรที่ไม่มีหน่วยงานชัดเจน ก็ให้เป็นที่รู้กันว่า เป็นหน้าที่ของเจ้าของงานที่จะต้องโปรโมทสื่อสารผลงานชิ้นสำคัญของตนเองออกไปให้กับผู้ใช้งานหรือพนักงานกลุ่มเป้าหมาย แต่สำหรับในองค์กรที่มีหน่วยงานที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการแล้วนั้น ข้อดีคือคุณจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร มีเครื่องมือ ช่องางที่ได้รับการดูแลอย่างดี แต่กับดักชิ้นสำคัญที่ HR มักจะประสบก็คือการรอให้อีกฝ่ายดำเนินการ หรือกลัวจะไปทับเส้นกันจึงไม่แตะเรื่องการสื่อสารเลย ในฐานะที่เป็น expert หรือเป็น task owner ที่รู้ดีที่สุดในงานโครงการหรือโปรแกรมที่ลงแรงลงเวลาออกแบบมาหลายเดือนนั้น จะดีกว่ามากหากคุณสามารถมีส่วนร่วมหรือแม้กระทั่ง take lead ในการสื่อสารงานชิ้นสำคัญของคุณ โดยขอการสนับสนุนในเชิงเครื่องมือ ช่องทาง หรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการวางแผนและดำเนินการสื่อสาร ควรดูตาม “ความจำเป็นในการสื่อสาร (Communication Needs)” ซึ่งหมายถึงวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร เป้าหมาย และวิธีการที่ดีที่สุดมากกว่าโครงสร้างหรือระบบขององค์กร เพราะสุดท้ายทั้งสองอย่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด . 2. Storytelling ที่ดีต้องมี insight มาจากพนักงานคนฟัง งานบุคคลในยุคปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาด้วยเจตนาที่ดีที่จะทำให้ชีวิตของพนักงานในเส้นางการทำงานเติบโตก้าวหน้า และในขณะเดียวกันบริษัทก็เติบโต ในเมื่อมีแต่เรื่องดี ๆ เป็นส่วนใหญ่ การวางเรื่องและเนื้อหาที่ดีในงาน HR ซึ่งมักจะต้องทำเรื่องยาก ๆ ให้เป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบายพนักงาน เงินเดือน โปรแกรมการพัฒนาความรู้ การประเมินผลงาน การเติบโตก้าวหน้า ฯลฯ ต้องถูกถ่ายทอดด้วยเนื้อหา วิธีการ และการเล่าเรื่องที่โดนใจผู้รับสาร ส่งพลังบวก น่าติดตาม และทำให้พนักงานอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาชีวิตการทำงานของตนเองไปพร้อม ๆ กับองค์กร หากเปรียบเทียบงานของ HR เป็น ‘ข่าวเศรษฐกิจ’ ชิ้นหนึ่ง ผู้รับสารก็เหมือนผู้ชมทางบ้านที่สามารถเลือก ดู ฟัง หรือ อ่านจากสำนักข่าว ช่อง หรือนักข่าวที่ตนเองชื่นชอบ ถูกจริตในการรับสาร หรือเข้าใจง่าย เมื่อผู้ฟังซึ่งเป็นพนักงานในหลากหลายระดับที่มีภูมิหลังที่แตกต่างกันเกิดความเข้าใจและเปิดใจในการรับสาร โอกาสที่โครงการของ HR จะประสบความสำเร็จก็ย่อมมากตามไปด้วย ดังนั้นก่อนจะสื่อสาร ควรจะหาโอกาสในการ “ฟัง” เรื่องราวต่าง ๆ จากพนักงานและนำมาเสริมใส่ลงในเนื้อหาและวิธีการเล่าเรื่องให้โดนใจมากขึ้น และที่สำคัญต้องไม่ทำให้เกิด Winner และ Loser ในองค์กร โดยเฉพาะเวลาสื่อสาร Hero Stories หรือเรื่องราวดี ๆ จากตัวแทนพนักงาน . 3. เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Online Ecosystem ในชีวิตพนักงาน ในยุคที่ Social Media มีบทบาทกับชีวิตพนักงานมาก โดยพบว่า 98% ของพนักงานมีการใช้โซเชียลมีเดียส่วนตัวอย่างน้อยหนึ่งแพลตฟอร์ม และ 50% มีโพสต์ข้อความเกี่ยวกับงานและบริษัท และใช้เวลาเฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการเข้าถึงข้อมูลของบริษัทผ่านโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต นี่จึงเป็นโอกาสและโจทย์ใหม่สำหรับ HR ในการสื่อสารและเข้าถึงพนักงานมากขึ้น และเข้าปะปนเป็นส่วนหนึ่งของข่าวสารในชีวิตประจำวันและพฤติกรรมในการใช้สื่อใน online ecosystem ให้ได้ เหมือนกับโฆษณาที่ผ่านตาอยู่เสมอในทุกที่ทุกเวลาในเรื่องและปริมาณที่เหมาะสมกับความสนใจของพนักงาน . 4. ใช้การสื่อสารเป็นตัวช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วม ปรับรูปแบบการสื่อสารเป็นสองทางให้มากขึ้น อาจเป็นการกด Like, Share, Comment ง่าย ๆ กลับมาทางอีเมล หรือร่วมทำ survey เป็น open idea-sharing session เพื่อให้เกิดกิจกรรม นวัตกรรม หรือแนวคิดใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ที่เห็นได้ชัดอย่างเช่น กิจกรรม CSR หรือ กิจกรรมเพิ่ม Engagemnet ของพนักงาน ที่ปกติจะเป็นกิจกรรมที่ HR คิดและประกาศรับสมัครคนเข้าร่วมกิจกรรม แต่หากลองกลับกัน เป็นกิจกรรมให้พนักงานเสนอชื่อโครงการอาสาสมัครหรือกิจกรรมที่อยากหาเพื่อนไปทำร่วมกันมากขึ้นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ผ่านไลน์กลุ่มก็สามารถทำได้ ก็จะทำให้ได้โครงการตอบโจทย์โดนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่คนมีความสนใจที่หลากหลายที่อาจไม่สามารถหากิจกรรมที่ตอบโจทย์ทุกคนแบบ one size fits all ได้ วิธีการนี้สามารถขยายผลไปสู่การเรียนรู้และพัฒนา การนำเสนอคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ ที่พนักงานอาจมีแหล่งความรู้ใหม่ ๆ หรือทักษะแห่งอนาคตที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าการกำหนดมาโดยผู้บริหารหรือ HR Professionals เท่านั้น วิธีการนี้ยังช่วยสอดแทรกค่านิยมองค์กรและวัฒนธรรมที่อยากให้พนักงานเห็นได้อีกด้วย . ทำไม HR จึงควรปรับวิธีการสื่อสาร? ปรับแล้วได้อะไร? หลายครั้ง HR Professionals ที่ทำงานหนัก อาจเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าและฉุกคิดว่า การสื่อสารคือเรื่องที่ต้องช่วยกันทั้งสองฝ่าย และมักมีมุมคิดที่อยากให้ผู้อื่นปรับตัวเข้าหาเรา ความคิดที่ว่า “ถ้าพนักงานอยากก้าวหน้าก็ต้องหาทางอ่านหนังสือยาก ๆ ให้ได้เอง” หรือ “ถ้าอยากจะเบิกสวัสดิการ ก็ต้องมีความพยายามเข้าไปในระบบที่ซับซ้อนให้ได้” สองประโยคนี้ถ้าอ่านดี ๆ จะพบว่า ไม่ได้เกิดประโยชน์กับใครทั้งสิ้น ดังนั้นเป็นหน้าที่ของ HR มืออาชีพที่จะต้องสื่อสารให้สำเร็จเป็นส่วนหนึ่งของงานที่เราไม่อาจเลือกผู้รับสารได้ แต่ผู้รับสารคือกลุ่มเป้าหมายที่เราอยากให้เขาเปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรม ได้ใช้ระบบต่าง ๆ ที่จัดเตรียมไว้ให้ เกิดความก้าวหน้าในงาน หรือมีความรู้สึกผูกพันกับองค์กรนี้ ในปัจจุบัน (และอดีต) มีงานวิจัยและผล survey มากมายที่พูดถึงประโยชน์ของการสื่อสาร เรียกว่า การสื่อสารที่ดี จะไม่มีข้อเสียต่อตนเองและองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการ เชื่อว่าทุกองค์กรล้วนมีของดีและเจตนาที่ดีต่อพนักงานทุกคนในการเติบโตก้าวหน้าไปพร้อมกับองค์กร จึงอยากให้ในโค้งสุดท้ายของปีนี้และช่วงที่กำลังวางแผนงานในปีหน้านั้น ลองหันมาเพิ่มโฟกัสเรื่องการสื่อสารงาน HR ให้มากขึ้น เพื่อให้งานที่ดีอยู่แล้วสำเร็จได้มากกว่าเดิม Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 187