Search
Search

เคยเจอมั้ย? Armchair Boss หัวหน้าที่นั่งเฉย ๆ ไปวัน ๆ แต่ติเก่ง จนอยากลาออก

ออฟฟิศคุณเป็นอีกที่รึเปล่า? ที่ลูกทีมพากันลาออก เพราะดันเจอคน Toxic คนเดียว หรือหัวหน้าเจ้าบงการ ชอบเสนอไอเดียบรรเจิดแก่ผู้บริหารให้ซื้อไอเดียนั้น ก่อนโยนให้ลูกน้องในทีมทำ ชอบสั่งงานมหึมาที่ไม่รู้จะทำให้เกิดขึ้นจริงได้ยังไง แถมตำหนิลูกน้องทุกจุดเมื่อเกิดความผิดพลาด แต่ไม่ช่วยหาโซลูชั่น

พฤติกรรมหัวหน้าแบบนี้เข้าข่าย Armchair Boss เป็นสิ่งที่องค์กรหวาดกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองเหลือเกินเพราะนำไปสู่ปรากฎการณ์ “ลาออกแบบยกทีม” จนบริษัทสั่นคลอนได้เลยทีเดียว!

 

คาแรคเตอร์ของ Armchair Boss

 

“เก่งแต่พูด…แต่ไม่ถนัดทำ” น่าจะเป็นคำจำกัดความที่สั้นกระชับแต่บ่งบอกนิยามของ Armchair Boss มากที่สุดแล้วก็ว่าได้

 

Armchair Boss เป็นคนที่เก่งในการวิพากษ์วิจารณ์รอบด้าน…แต่ไม่ได้มีรู้ลึกในเรื่องนั้น ชอบตัดสินคนอื่นโดยยึดความคิดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ชอบ Micromage สั่งการควบคุมทุกอย่างแต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับเนื้องานเลยด้วยซ้ำ บางคนถึงขั้นบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด จนกลายเป็น trigger ที่ทำให้ลูกน้องยื่นใบลาออกในวันต่อมา

 

เรียกว่า ทักษะด้าน Criticize แซงหน้าหัวด้าน Create ไปมากโข!

 

เปรียบเสมือนบอสที่นั่งพิงหลังสบายในโซฟาและวิพากษ์วิจารณ์เรื่องตรงหน้าอย่างออกรส โดยไม่ได้รู้บริบทหรือเข้าใจความรู้สึกของลูกน้องที่เป็นคนหน้างานเผชิญปัญหาจริงๆ

 

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ลีลาสไตล์ แต่รวมถึงความลึกของเนื้อหาที่พูดด้วย Armchair Boss สามารถโค้ชชิ่งร่ายยาวได้ทั้งวัน แต่สิ่งที่พูดมักมีความนามธรรม มีความ conceptual ที่จับต้องยาก เมื่อถึงเวลาต้องนำไป apply ประยุกต์ใช้จริง ลูกน้องก็ไม่รู้ควรเริ่มทำอะไรก่อนหลังดี หรือถึงขั้นนำไปทำแบบผิดๆ ถูกๆ จนเกิดความผิดพลาดเสียหาย เกิดเป็นประวัติเสีย สูญเสีย self-esteem นำไปสู่อัตราการลาออกที่เพิ่มขึ้น

ป้องกัน Armchair Boss ก่อนพนักงานยกขบวนลาออก

 

กลุ่มผู้บริหารระดับสูงในองค์กร ต้องคอยจับตาดู Armchair Boss เหล่านี้ให้ดี เพราะแม้พวกเขาจะมี performane ที่ดีในบางเรื่องจนได้ขึ้นเป็นหัวหน้างาน แต่ด้วยอุปนิสัยและการสื่อสารที่ไม่เป็นมิตร-ไม่เฮลตี้กับสมาชิกทีมโดยรวม ก็ทำให้ผู้คนต่างพากันลาออกได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ที่มักจะไม่ทนกับนิสัยอะไรแบบนี้

 

เพราะหางจะเปลี่ยนได้-หัวต้องเปลี่ยนก่อน! 

 

ผู้บริหารระดับสูงสามารถออกนโยบายการทำงานที่จัดโควต้าให้หัวหน้างานต้อง “ไปเห็นปัญหาที่หน้างาน” เช่น ไปเยือนโรงงานผลิตเพื่อหาปัญหาสินค้า defect มีชำรุดที่พบบ่อยในช่วงหลังจนชื่อเสียงแบรนด์ได้รับความเสียหาย

 

อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญไม่แพ้กัน ก่อนจะไปนึกถึงปลายทางการลาออก ผู้บริหารป้องกันได้เนิ่นๆ ด้วยการดีไซน์ให้เป็นองค์กรที่ “ขับเคลื่อนด้วย Data” (Data-driven company) จะตัดสินใจอะไรต้องทำบนพื้นฐานของข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีปริมาณมากพอ 

 

เมื่อทุกส่วนทุก unit ของบริษัทถูกไดรฟ์ด้วย data ต่อไปนี้เวลา Armchair Boss จะวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ต้องทำบนื้นฐานของ data ด้วยเช่นกัน เป็นการลดโอกาสตำหนิลูกน้องอย่างไม่เป็นธรรม ปิดประตูการวิจารณ์ผิดๆ

 

Armchair Boss เป็นเรื่องที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย เพราะไม่ได้แค่สร้างบรรยากาศ toxic ในออฟฟิศ หรือลด productivity ของคนทำงาน แต่เพราะมันบานปลายไปสู่การยกทีมลาออกของพนักงานเก่งๆ ได้เลยทีเดียว 

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

หนังสือพัฒนาองค์กร

4 หนังสือพัฒนาองค์กร จาก 4 ผู้นำระดับโลก

เรารู้ดีว่าองค์กรขับเคลื่อนด้วย “คน” แล้วสงสัยไหมว่า องค์กรชั้นนำของโลกที่มีพนักงานมหาศาล…เค้ามีวิธีการบริหารคน-บริหารองค์กรกันอย่างไร?

Feedback การทำงาน

ให้ Feedback การทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย “C-O-I-N” Model

จะทำอย่างไรเมื่อต้องให้ Feedback การทำงานกับ
เพื่อนร่วมทีม หัวหน้า หรือลูกน้อง มาลองดูกันว่ามี Model อะไรที่สามารถช่วยให้การให้ Feedback มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริงมากยิ่งขึ้น