วิธีค้นหา “คุณค่าในชีวิตทำงาน” ภายใน 10 สัปดาห์ เพื่อตอบตัวเองว่าทำงานไปเพื่ออะไร

ทุกวันนี้ตอบตัวเองได้รึยังว่าเราทำงานไปเพื่ออะไร? คุณค่าที่คุณยึดถือ หรือ Personal Core Values คือสิ่งที่เราให้คุณค่า ให้ความสําคัญที่สุดในชีวิต ถ้าเรารู้ว่าทำงานไปเพื่ออะไร หรือความสุขในการทำงานของเราคืออะไร ก็จะเป็นส่วนสำคัญมากๆ ที่ทำให้เราค้นหาและมุ่งไปสู่งานที่ใช่เพื่อตอบคุณค่าในชีวิตของเรา

สิ่งที่สําคัญที่สุดในชีวิตคุณ คืออะไร?

เราจะรู้ว่าสิ่งไหนสําคัญสําหรับเรา ก็ต่อเมื่อต้องเลือกระหว่างสองสิ่งที่เราต้องการท้ังคู่ หรือ ไม่ต้องการท้ังคู่ เช่น ระหว่างชื่อเสียงกับเงินทอง หรือ ชีวิตส่วนตัวกับความก้าวหน้าในงาน

วิธีที่ Harry Kraemer ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ Kellogg School of Management และ ผู้เขียนหนังสือชื่อ Value-based Leadership สอนให้ค้นหาคุณค่าที่ตัวเองยึดถือ คือ การสะท้อนความคิดตัวเองลงในบันทึกว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีอะไรที่เราได้ลงมือทําจริงๆ

1. อะไรที่เราทําแล้วภาคภูมิใจ เพราะอะไร
2. อะไรที่เราทําแล้วไม่ภูมิใจ เพราะอะไร
3. หากย้อนเวลากลับไปได้ เราจะแก้ไขสิ่งที่เราไม่ภาคภูมิใจอย่างไร.พอทําไปเรื่อยๆ

ทําซ้ำๆ สัก 10 สัปดาห์ จะเกิดเป็น Pattern ของต้นเหตุที่ทําให้เราภาคภูมิใจ ซึ่งแก่นของมันมักเป็น Personal core values ของเรา และต้นเหตุที่ทําให้เราไม่ภาคภูมิใจมักเกิดจากการทําอะไรที่ขัดกับ Personal core values ของเรา และการคิดวิธีการแก้ไขจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาตนเองได้นั่นเอง

ค้นหา Personal Core Values ของตัวเอง

ถ้าอยากทดสอบ Values ของตนเอง หรืออยากรู้ว่าอาชีพที่เราทำตอนนี้เหมาะกับ Values ของเรารึเปล่า ลองเข้าไปทำแบบประเมินอาชีพของ CareerVisa ได้ที่ www.careervisaassessment.com ได้เลย

อ้างอิง : หนังสือ From Values to Action: The Four Principles of Values-Based Leadership by Harry M. Kraemer Jr.

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

productivity

5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productivity ใน 30 วัน

Productivity คือความสามารถในการทำงานหรือผลิตผลงานได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักวัดจากผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาหรือความพยายามที่ใช้

หัวหน้าที่ดี

วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง

นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

Presentation

Masterful Presentation : วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

1. Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย 2. หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น 3. ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน