ทำงานที่ POMELO ดีไหม? เมื่องานสายแฟชั่นต้องมาเจอกับงานเทคฯ

ทุกวันนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก POMELO แบรนด์แฟชั่นสัญชาติไทย ที่เคาะรายได้หลักพันล้าน และเติบโตจนมีสาขากระจายอยู่ทั่วอาเซียน เราเห็นเบื้องหน้าการออกแบบร้านที่โดดเด่นฉีกแนว การทำการตลาดที่มีสีสันน่าติดตาม

เบื้องหน้าว่าสนใจแล้ว…แต่ถ้าได้รู้ “เบื้องหลัง” การทำงานอาจจะหลงรักกว่าเดิม เพราะนี่คือแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับคน เทใจกับการปั้นทีมสูงมากๆ จนไม่น่าแปลกใจกับผลลัพธ์ความสำเร็จแบบก้าวกระโดดเลย

 

Chief People Officer

 

โดยอันดับแรก ความสำคัญเรื่องคนถูกสะท้อนออกมาจากระดับบริหาร โดยหัวหน้าทีม HR ของ POMELO มีชื่อตำแหน่งว่า Chief People Officer (CPO) มองคนเป็น “คน” ไม่ใช่ทรัพยากรที่ต้องถูกใช้งานให้คุ้มแบบเก่า

 

การให้ความสำคัญกับคนในองค์กรอย่างแท้จริงจากฝ่ายบริหาร จะค่อยๆ ถูกถ่ายทอดออกมาในเรื่องต่างๆ

 

New Blood

 

POMELO วางตัวเองเป็น Fashion Tech บริษัทเทคโนโลยีด้านแฟชั่น ซึ่งเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ต้องการคนรุ่นใหม่ Gen Y & Gen Z ในการขับเคลื่อน แบรนด์จึงโฟกัสที่การเฟ้นหาพนักงานรุ่นใหม่ที่อายุน้อย ชอบเรียนรู้ ปรับตัวได้เร็ว

 

ปัจจุบัน พนักงาน POMELO มีอายุเฉลี่ยเพียง 27 ปี ทุกคนมีความเปิดกว้าง คล่องตัว ยืดหยุ่น คนรุ่นใหม่เติบโตมากับออนไลน์ มีความเป็น Digital natives อยู่ในตัวเป็นทุนเดิม 

 

เรื่องนี้แบรนด์ตัดสินใจถูก เพราะปัจจุบันเมื่อ AI หลายตัวออกสู่ตลาดกระแสหลัก เช่น ChatGPT, Midjourney, Scholarcy, หรือ Uizard ก็พบว่าพนักงานส่วนใหญ่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและสามารถตามทันเทคโนโลยีได้อย่างไม่ยากนัก

 

Dynamic Workforce

 

แบรนด์ต้องการสร้าง “มาตรฐานใหม่ของการทำงาน” ที่พนักงานมีสิทธิ์เลือก ต้องทำงานได้เยี่ยมโดยบาลานซ์ได้ดีกับความสุข

 

ในช่วงวิกฤติโควิด POMELO เป็นออฟฟิศไทยแรกๆ ที่ประกาศ Work From Home แบบเต็มตัว เบื้องหลังคือความว่องไวและขั้นตอนการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเป็นระบบ เช่น จะคุยผ่านอะไร ส่งงานทางไหน ติดตามงานอย่างไร รักษาความสัมพันธ์กับทีมอย่างไร

 

ช่วงเวลานั้นวิกฤติมากอย่างที่หลายคนรู้กัน แต่ CPO ประกาศชัดเจนให้พนักงานทุกระดับทั้งหน้าบ้าน-หลังบ้าน รู้สึกถึง Job Security ว่าบรษัทไม่มีนโยบายปลดพนักงานนะ อาจมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดงาน แต่ทุกคนยังมีงานนี้ให้ทำอยู่

 

เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ปีต่อๆ มา ก็ยังเป็นเจ้าแรกๆ ที่ประกาศนโยบาย Hybrid Work ทำงานที่บ้านสลับกับเข้าออฟฟิศ โดยนิยามคำว่า Hybrid คือ พนักงานมีอิสระในการเลือกจำนวนวันและวันในการเข้าออฟฟิศที่สอดคล้องกับความรับผิดชอบ 

 

โดยแบรนด์ยังให้ความสำคัญกับวันที่พนักงานได้มาเจอหน้า(ซึ่งมีจำนวนวันลดน้อยลง) โดยจะมีการ “Optimize เวลาที่ได้อยู่ด้วยกัน” โดยนอกเหนือจากมิตติ้งทำงานตามมาตรฐานแล้ว ยังพยายามจัดให้มี Workshop ข้ามแผนกไปมา และจัดงานกึ่ง Mini Party ละลายพฤติกรรม ให้พนักงานแต่ละคนได้เปิดเผยบุคลิกตัวตนอีกด้าน เข้าใจมุมมองชีวิตด้านอื่นๆ ที่หลากหลาย


ความน่าสนใจอีกอย่างคือ เราอาจเรียกได้ว่า POMELO มี “ประชาธิปไตยในที่ทำงาน” โดยในแต่ละประเด็นสำคัญๆ ที่ต้องการความคิดเห็นพนักงานหมู่มาก จะมีการทำ Comprehensive Survey สเกลใหญ่ครอบคลุมพนักงาน ทุกคนมีสิทธิ์โหวต อนุญาตให้ส่งเสียง voice up ออกมาได้เลย การทำ Comprehensive Survey ยังเปิดเผยทัศนคติ Insights ของพนักงานด้วย เช่น เป็นคนหัวครีเอทีฟชอบโยนไอเดียแล้วสนุกกับการไฟท์กันไปมา จึงต้องการพื้นที่และเวลาให้พนักงานมาพบเจอกันที่ออฟฟิศเป็นระยะ



Employee-Oriented

 

POMELO มีทัศนคติปฏิบัติกับพนักงานเสมือนเป็นลูกค้า โดยมีหลักคิดง่ายๆ คือให้ “ถามย้อนกลับ” 

  • เช่น ลูกค้าอยากให้เราเทคแคร์ดี…แล้วหัวหน้าเทคแคร์ลูกน้องตัวเองดีพอไหม?
  • อยากให้ลูกค้ามีส่วนร่วมเยอะๆ…แล้วเราได้สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ลูกน้องในทีมได้แชร์ไอเดียความคิดเห็นหรือไม่?

 

ในส่วนของสวัสดิการ นอกจากจัดให้มีอาหารการกินในออฟฟิศแล้ว ยังส่งเสริมการเรียนรู้ People Development เช่น ไปจับมือพันธมิตรกับ Udemy ให้พนักงานเอนจอยคอร์สเรียนที่สนใจ ซึ่งมีให้เลือกกว่า 6,000 คอร์สเป็นเวลา 1 ชั่วโมงเต็มทุกๆ วันพุธ 

 

อีกประเด็นที่บ่งบอกถึงความมี Empathy สูงมากๆ ขององค์กรคือความ “ใจกว้าง” กล่าวคือ พนักงานบางคนอาจมีบางโมเมนต์ในชีวิตที่มีภาระความรับผิดชอบส่วนตัวหรือจากทางบ้านที่หนักอึ้งจนกระทบการทำงาน แบรนด์ก็ได้เปิดโอกาสให้เปลี่ยนสถานะจาก Full-Time ไปเป็น Part-Time แบบชั่วคราว เงินลดน้อยลงไปบ้าง แต่ยังได้สวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพเหมือนเดิม พอเป็นแบบนี้ งานจึงลดลงไปมาก เหลือเวลามากขึ้น เพื่อให้พนักงานคนนั้นกลับไปเคลียร์ปัญหาตัวเอง เมื่อเสร็จแล้วก็สามารถกลับมาเป็น Full-Time เหมือนเดิมได้

 

แม้ POMELO จะเป็นสตาร์ทอัพที่มีการทำ Digital Transformation ในหลายเรื่องอย่างที่เราเห็นกัน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำควบคู่ไปกับ Humanized Transformation พลิกโฉมแบรนด์โดยยังรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ได้สูงมากๆ 

 

เมื่อพนักงานรู้สึกได้รับการปฏิบัติแบบมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี จึงทำงานอย่างมีความสุข และพร้อมปั้นแบรนด์ให้โตระเบิด

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

generation
จะทำอย่างไร? หากต้อง "ทำงานกับคนต่าง Generation" ที่คิดไม่เหมือนกัน
Generation กับความคิดที่ไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไร?ความท้าทายของการทำงานร่วมกับคนที่ต่างอายุ ต่างช่วงวัย หลายครั้งไม่ใช่ความสามารถในการทำงานหรือประสบการณ์ที่มากกว่ากัน...
Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...