ถ้าลาออกมันง่ายนัก? ป่านนี้ก็ลาออกไปแล้ว!

สิ้นปี เบื่องาน รอโบนัส หว่านเรซูเม่ เซ็นสัญญา…แล้วค่อยลาออก! นี่คงเป็นสิ่งที่คนทำงานหลายคนคิดอยู่ในใจโดยเฉพาะช่วงสิ้นปีที่รู้สึกอยากเริ่มเปลี่ยนงาน แต่การลาออกสำหรับใครหลายคนเป็นสิ่งที่ “พูดง่าย…แต่ทำยาก”

จะดีกว่าไหม? ถ้าเราลอง “ยืดการลาออก” (Delayed resign) ออกไปอีกหน่อย แล้วใช้เวลาตรงนั้นลองมาพิจารณาปัจจัยตัวแปรต่างๆ ก่อนถึงวันลาออก ก่อนถึงวันที่เราพร้อมลาออกไปเติบโตอย่างสตรองจริงๆ 

 

ภาระอันหนักอึ้ง

 

ก่อนลาออก ให้คุณลิสท์ภาระความรับผิดชอบที่คุณต้องแบกอยู่ทุกเดือนออกมาให้หมดเพื่อพิจารณาว่า ลาออกไปแล้วเราจะยังพอรับผิดชอบไหวไหม? สาเหตุที่ต้องแตกย่อยเป็นรายเดือนก็เพื่อให้คุณเห็นภาพมากขึ้น เข้าถึงง่ายขึ้น รู้สึกเป็นเรื่องใกล้ตัวขึ้นนั่นเอง

  • ภาระคอนโดที่ต้องผ่อน
  • ค่าใช้จ่ายไลฟ์สไตล์ที่คุณต้องการ
  • ค่าเสียโอกาสในช่วงที่ยังหางานไม่ได้

 

บางคนเมื่อ breakdown ค่าใช้จ่ายแล้วกลับพบว่าไฟในการทำงานกลับมาลุกโชนขึ้นอีกครั้งเลย! เพราะพบว่ามีหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระอีกเพียบ ถ้าลาออกไปแล้วพบเจอกับความไม่แน่นอน ชีวิตยิ่งไม่แน่นอนเข้าไปใหญ่

 

ท่องตัวเลขนี้ไว้

 

ถ้าลาออกไปแล้วตกงาน…คุณจะมีเงินพอกินพอใช้ไปได้อีกนานกี่เดือน? นี่คือคำถามพื้นฐานที่คนทำงานต้องถามก่อนวางแผนลาออก โดยทั่วไปแล้ว ทางการเงินแนะนำให้เงินสำรองเผื่อไว้ใช้ “6 เดือน” 

 

โดยค่าใช้จ่ายใน 6 เดือนนี้ต้องไม่ไปกระทบไลฟ์สไตล์เดิมที่มีอยู่ กล่าวคือ เราต้องไม่ลดคุณภาพชีวิตลง ไม่ลดทอนความต้องการลง ยังคงรักาากิเลสที่เป็นตัวของตัวเองไว้ได้อยู่ใน 6 เดือนนี้

 

แต่สำหรับกูรูทางการเงินที่เข้มงวดในวินัยการเงินแนะนำให้เพิ่มไปเลยเป็น 12 เดือน! ถ้าคุณลาออกแล้วตกงาน 1 ปีเต็ม คุณจะต้องใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข อย่างน้อยถ้ามีตัวเลขเหล่านี้ในใจ เราจะได้วางแผนต้นทางตั้งแต่วางแผนการลาออก วางแผนการเงิน และการหางานได้ถูกต้อง

 

ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้น

 

บางทีคนเราอยากลาออกเพราะได้ทำสิ่งที่ต้องการแล้ว ทำมันครบแล้ว ทำมันสำเร็จแล้ว เมื่อเป้าหมายความฝันบรรลุระดับหนึ่งแล้วก็รู้สึกกลายเป็นไร้เป้าหมาย จึงอยากลาออกไปทำอย่างอื่น

 

กรณีนี้คนเป็นหัวหน้างานสามารถช่วยได้โดยตรง ด้วยการ assign งานที่มีความหมายขึ้น สร้าง impact ต่อผู้คนมากขึ้น พร้อมช่วยออกแบบตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิมโดยจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ต้องมีพนักงานคนนี้ร่วมทีมอยู่ด้วยกัน 

 

วิธีนี้อาจไม่ได้แค่ช่วยรั้งให้พนักงานอยู่ต่อแค่นั้น แต่อาจยกเลิกความคิดการลาออก มีไฟลุกโชนอีกครั้ง และพร้อมกลับมาสู้ใหม่

 

ทัศนคติบวก

 

เนื้อแท้แล้วบางทีคุณอาจไม่ได้อยากลาออกจริงๆ? บางทีคนทำงานก็แค่เบื่องาน เหนื่อย หมดอาลัยตายอยาก ไร้ความครีเอทีฟในหัว ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คนทำงานทุกคนสามารถเจอได้แม้คุณจะเก่งแค่ไหนก็ตาม

 

ทัศนคติเชิงบวกช่วยเรื่องนี้ได้เหมือนกัน เช่น ให้ลองคิดว่า…ดีแค่ไหนแล้วที่ยังมีงานทำ? ขณะที่คนอื่นในสายอาชีพนี้ตกงานกัน ถูกลดเงินเดือน ถูก AI แทนที่ไปเยอะแล้ว

 

แม้ทำงานเหนื่อยๆ ท้อแท้ใจบ้าง แต่อย่างน้อยสิ้นเดือนก็ยังมีเงินเด้งเข้า! เงินเพิ่ม รายรับเพิ่ม เงินหมุนเวียนเพิ่ม มันอาจน้อยไม่ได้เยอะ ไม่ได้หวือหวา แต่ถ้าค่อยๆ เก็บ ความมั่งคั่งสุทธิก็เพิ่มอยู่ดี

 

การเก็บตามอ่าน Quote คำคมโดนใจ ก็ช่วยปลอบใจหรือช่วยเยียวยาจิตใจคนทำงานได้โดยตรง ต้องไม่ลืมว่าหลายคนชีวิตเปลี่ยนก็เพราะประโยคคำพูดโดนใจเหล่านี้นี่แหล่ะ

 

  • ในวันที่ยอมแพ้ ให้ระลึกถึงเหตุผลวันแรกทำไมคุณถึงตัดสินใจลงมือทำหรือเลือกเดินเส้นทางอันแสนยากลำบากนี้ (Remember why you started.)
  • ผู้ชนะไม่ใช่คนที่ไม่เคยล้มเหลว แต่คือคนที่ไม่เคยตัดใจล้มเลิกต่างหาก (Winners are not people who never fail, but people who never quit.)
  • ถ้าคุณเหนื่อยอาลัยตายอยาก ให้เรียนรู้ที่จะพักอย่างจริงจัง แต่ไม่ใช่ล้มเลิกเอาดื้อๆ  (If you get tired, learn to rest, not to quit.)
  • “เป้าหมายคือความฝันที่มี Deadline” เตือนเราว่าทุกวินาทีมีค่า ถ้าเราล้มเลิกตอนนี้ ความฝันก็จะถูกดีเลย์ออกไปเรื่อยๆ ในอนาคต
  • “คนเราเติบโตอย่างแท้จริงจากคำวิจารณ์…ไม่ใช่คำชม” เตือนเราให้ไม่ท้อแท้เมื่อถูกตำหนิวิพากษ์วิจารณ์

 

และนี่เป็นสิ่งที่หัวหน้างานควรเตือนลูกน้องให้คิดดีๆ ก่อนลาออก หัวหน้าไปบังคับให้ลูกน้องฝืนอยู่ต่อไม่ได้หรอก แต่สามารถแจกแจงเหตุผลเหล่านี้ให้ลูกน้องคิดหน้าคิดหลังได้ 

 

ท้ายที่สุดแล้ว การรักษาพนักงานเก่าไว้ย่อมดีกว่าการเฟ้นหาพนักงานใหม่ เพราะการหาพนักงานใหม่มีต้นทุนสูงกว่า เหนื่อยในขั้นตอนการหากว่า ใช้เวลาปรับตัวนานกว่าจะเข้ากับทีม หนึ่งในหน้าที่หลักของหัวหน้าจึงเป็นการยืดการลาออกของลูกน้องออกไปให้ได้นานที่สุดเช่นกัน

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 66