Work From Home ยังไงให้ Productivity โตระเบิด

Work From Home
WFH ยังไงให้ Ultra Productive  เนื้อๆ สั้นๆ ตรงประเด็น…รีบตามไปดูกัน ก่อนคนอื่นจะรู้!

ตื่นเช้าตรู่

มีการสำรวจผู้บริหารใหญ่ 20 ท่าน พบว่ากว่า 90% ตื่นนอนก่อน 6 โมงเช้า (CEO ระดับโลก หลายคนก็เปิดเผยว่าเป็นคนตื่นเช้า เช่น Tim Cook มักตื่นนอนตี 4:30 เป็นประจำ) จากนั้น ให้ทำงานเฉพาะที่ “ใช้สมอง” หนักที่สุด เพราะ 3-4 ชม.แรกหลังตื่นนอน สมองเราจะมีสมาธิ มีไฟ มีความคิดสร้างสรรค์สูงสุด 

สอดคล้องกับ “Biological Prime Time” หรือ ช่วงเวลาที่มีพลังงานสูงสุดของมนุษย์ส่วนใหญ่ เราสามารถทำงานโดยไม่ต้องพะวงเลย เพราะประหยัดเวลาเดินทาง ประหยัดเวลาแต่งตัวต่างๆ นานา ซึ่งปกติ 3-4 ชม.แรกหลังตื่นนอน มักเป็นเวลาที่ผู้คนส่วนใหญ่กำลังเดินทางอยู่บนท้องถนนนั่นเอง

แต่งชุดทำงาน

สิ่งหนึ่งที่หลายคนพลาดคือ ทำงานที่บ้านก็ใส่ชุดนอน-ชุดอยู่บ้านนั่งทำงาน สบายดี ไม่ต้องแคร์ใคร ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร…แต่จะดีกว่ามากถ้าแต่งกายแบบชุดทำงานปกติเข้าออฟฟิศ

เป็นไปตามหลักจิตวิทยา “Enclothed Cognition” หรือ การที่เรามีแนวโน้มประพฤติตนเปลี่ยนแปลงไปตามการแต่งตัวของเรา (ไม่เชื่อไปทดลองดู) การใส่ชุดทำงานเพื่อทำงาน เป็นบริบทที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งสะท้อนออกมาทั้งความมั่นใจ อารมณ์ ทัศนคติ การให้เกียรติ ความเป็นมืออาชีพ

แบ่งพื้นที่

การแบ่งพื้นที่สอดคล้องในเรื่อง “Psychological Boundary” หรือ เส้นแบ่งทางจิตวิทยาว่านี่คือพื้นที่ทำงาน นั่นคือพื้นที่พักผ่อน โน่นคือพื้นที่รับประทานอาหาร เวลาคุณเครียด โมโห หรือล้มเหลวในการทำงานใดๆ อารมณ์ด้านลบจะถูก ‘จำกัดบริเวณ’ อยู่แค่โซนพื้นที่ทำงานเท่านั้น 

เมื่อเดินก้าวออกมาจากโซนทำงานเข้าสู่โซนพักผ่อน สมองจะเข้าใจไปว่าได้เอาตัวเองออกมาจากปัญหานั้นแล้ว (แม้จะห่างกันแค่ 10 ก้าว) ส่งผลให้ความเครียดลดลง หัวใจเต้นช้าลง ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ

สร้างวินัย

ถ้าทำงานวันละ 10 ชม. ก็กำหนดไว้เลยว่า เริ่มงาน-เลิกงานกี่โมง (แม้จะยืดหยุ่นได้ก็ตาม) ระหว่างทำงานคือทำงานจริงๆ ไม่เล่นเรื่อยเปื่อย

ตั้ง Deadline กับทุกเรื่อง เช่น ประชุมอัพเดท 9 โมงทุกเช้ากับเพื่อนร่วมงาน / เขียนคอนเทนต์วันละ 3 บทความ /  ส่งมอบงานภายในศุกร์นี้ 3 โมง / พักกินข้าวเที่ยงไม่เกินบ่าย 1 (ทำงานหนักร่างกายต้องไม่อดข้าว)

วินัยยังรวมถึงการจำกัดเวลาประชุม เพราะไม่ได้เจอหน้า พนักงานหลายคนเลยต้องโทรประชุมกันบ่อยขึ้น อย่างไรก็ตาม การประชุมมักไม่ได้ทำให้เนื้องานเดินนัก…

Customization

บ้านคือที่ของเรา ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงานมากที่สุด อะไรที่ออฟฟิศทำไม่ได้ แต่บ้านเราทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดห้อง วางของตกแต่ง อุณหภูมิห้อง การจัดโต๊ะ เพิ่มแสงไฟ หากต้อง Work From Home ไปอีกนาน อย่างน้อยควรพิจารณาซื้อเก้าอี้ทำงานมืออาชีพ เพื่อรักษาสภาพหลังของเรา

สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือ “Biophilic Design” หรือ การออกแบบโดยเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ ทั้งต้นไม้นานาพรรณ วิวสีเขียวสดชื่นสบายตา ผลวิจัยเผยว่า Biophilic Design ในพื้นที่ทำงาน ช่วยเพิ่ม Productivity ได้ 8% และ Well-being ของพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 13%

เอาเวลาที่ประหยัด…ไปนอนซะ

ถ้าวันนึงเราใช้เวลาเดินทางไปที่ทำงานไป-กลับ 2 ชม. (ไป 1 ชม. กลับ 1 ชม.) หลายคนอาจคิดว่า ในเมื่ออยู่บ้าน Work From Home ถ้าจะทำงานให้ได้เยอะ ก็เอา 2 ชม.ตรงนี้(และเวลาเตรียมตัวแต่งตัว) มาใช้ให้หมดสิ?

ผลสำรวจจาก GFK Thailand เผยว่า คนไทยทำงานเฉลี่ยสัปดาห์ละ 50.9 ชม. หรือประมาณวันละ 10 ชม. ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในเอเชีย 10 ชม. + 2 ชม. = 12 ชม./วัน เราน่าจะทำอะไรได้เยอะ แต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจตรงกันข้าม เพราะร่างกายคนเรามีขีดจำกัด การทำงานที่โหมหนักเกินไปขนาดนี้ คุณภาพงานที่ได้มีแนวโน้มลดลงมาก ให้เอาเวลาที่เซฟไปได้ตรงนี้ มาเป็นเวลา “พักผ่อน” ไม่ว่าจะงีบกลางวัน-นอนกลางคืนก็ตาม เป็นการทำน้อย-ให้ได้มาก อีกเคล็ดลับคือการ “งีบพักเป็นระยะ” (Rest)

ขี้เกียจ? แอบอู้งานป่ะเนี่ย?!! เปล่าเลย แต่เป็นการพักแบบคุณภาพ R.I.P. “Rest in Productivity” ต่างหากโดยสมองและร่างกายจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อได้รับการพักเป็นระยะๆ (เหมือนตอนยกเวท เราเล่นเป็น ‘เซ็ท’ ต้องมีการพักหายใจระหว่างเซ็ท)

เหนือสิ่งอื่นใด คนเราจะทำงานได้ Ultra Productive จริงๆ ก็ต่อเมื่อเป็นงานที่เรารักด้วย 

มาลองทำ “แบบประเมินอาชีพ” ฟรีกับ CareerVisa เพื่อค้นหาเส้นทางอาชีพที่ใช่ สนุกไปกับมัน แล้วทำออกมาให้ Ultra Productive กันดีกว่า >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

productivity

5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productivity ใน 30 วัน

Productivity คือความสามารถในการทำงานหรือผลิตผลงานได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักวัดจากผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาหรือความพยายามที่ใช้

หัวหน้าที่ดี

วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง

นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

Presentation

Masterful Presentation : วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

1. Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย 2. หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น 3. ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน