แค่ Growth Mindset ไม่พอ เพราะยุคนี้ต้อง Mobility Mindset

ปกติเราได้ยินคำว่า Growth Mindset จนคุ้นหูและน่าจะรู้ความหมายกันแล้ว แต่ตอนนี้มีคำใหม่คำนึงที่เริ่มถูกพูดถึงกันมากขึ้นในวงการ Career/HR นั่นคือคำว่า “Mobility Mindset”

Mobility Mindset มีความเปิดกว้างและยืดหยุ่นกว่า Growth Mindset เราอาจไม่ต้องเก่งที่สุดในสายงานนี้ก็ได้ในเมื่อมีตำแหน่งงานอื่นที่อื่นที่ดีและเหมาะสมกว่า เราเชื่อว่าโอกาสดีๆ ไม่ได้มีอยู่แค่ที่เดียว เราเชื่อว่าสกิลความรู้ที่ต้องมีจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการตลาดและเทคโนโลยีในแต่ละยุค 

 

พนักงานที่มี Mobility Mindset จะไม่ได้มองการโยกย้ายงานแค่ด้านกายภาพ เช่น ย้ายสถานที่ทำงาน นั่งทำออฟฟิศ นั่งทำที่บ้าน หรือนั่งที่รีสอร์ทชายหาด และไม่ได้โฟกัสว่าจะต้องได้รับการโปรโมตเลื่อนขั้นเสมอไป 

 

แต่มันคือ Mobility ที่เริ่มมาจากข้างในลึกถึงระดับจิตวิญญาณ ไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ท้าทายเรื่องที่ไม่คุ้นเคย กล้าเปิดรับโอกาสใหญ่ๆ แม้ยังไม่พร้อมสมบูรณ์

 

คาแรคเตอร์ของ Mobility Mindset?

 

หัวใจของ Mobility Mindset คือ ความรวดเร็วและความยืดหยุ่น (Agility & Resilience) เปรียบได้กับเวลาเราเปิด Google Maps แล้วดันขับรถเลยซอย ระบบจะ Re-route ปรับเส้นทางให้เราใหม่ทันที 

 

ในการทำงานก็เช่นกัน คนที่มี Mobility Mindset จะปรับตัวและหาทางออกให้กับปัญหาใหม่ที่ไม่คาดคิด ณ ตอนนั้นเลย เราจะไม่จมปลักกับความผิดพลาดในอดีตว่าทำไมเปิดแมพแล้วแต่ยังขับเลย พนักงานที่มี Mobility Mindset จะคอยมองหาโอกาสน่าสนใจใหม่ๆ (Growth opportunities) อยู่ตลอด ไม่ยึดติดกับความก้าวหน้าเดิมๆ เพราะแม้จะนำพาความสำเร็จมาให้คุณได้ระดับนึงแล้ว แต่ไม่สามารถทำให้คุณไปต่อได้สเกลใหญ่กว่านี้ 

 

เช่น การมาถึงของ ChatGPT-4 ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเวอร์ชั่นเก่าถึง 500 เท่า คนที่มี Mobility Mindset จะสละทิ้งการใช้งานเดิมๆ ที่เคยมีและรีบเปิดใจรับเวอร์ชั่นใหม่นี้ด้วยความตื่นเต้น

 

ในระดับของจิตใจ Mobility Mindset จะมองว่าทุกสิ่งที่ได้รับหรือเกิดขึ้นเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” และพร้อมไปต่อเสมอ ไม่รอแล้วนะ…ชีวิตคือการเดินทางเคลื่อนที่อยู่เสมอ

 

เทรนตัวเองให้มี Mobility Mindset

 

มีอยู่เทคนิคนึงเรียกว่า “LAVERR” ที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการคิดแบบ Mobility Mindset ในตัวเรา


  • Lateral – เริ่มจากสิ่งใกล้ตัว

เป็น Mobility ขั้นแรกที่เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวก่อน ด้วยการโยกย้ายไปทำงานอื่นๆ ภายในทีม การหมุนเวียนได้เรียนรู้งานต่างๆ ในทีมช่วยสร้างความรู้สึก Interdependence ให้เราคิดอยู่เสมอว่า ความสำเร็จของเรามาจากเพื่อนร่วมทีมเสมอ ไม่มีใครคนทำงานคนเดียวได้ ทุกคนต้องพึ่งพากัน 

 

แถมเป็นวิธีสร้าง Empathy ที่ดีเยี่ยม เช่น สมัยก่อน Content Creator อาจไม่รู้เลยว่า Graphic Designer ทีมเดียวกันทำงานหนักหนักแค่ไหนกว่าจะได้ภาพสวยๆ ออกมาแต่ละภาพ พอตัวเองต้องมาทำเองบ้างด้วย Canva ถึงได้รู้ว่ามันมีขั้นตอนกระบวนการคิดไม่น้อยกว่าจะได้ภาพผลงานดีๆ ออกมาซักชิ้น


  • Enrichment – ให้แวลูกับตัวเอง

เป็นการเลือกทำงานที่รัก ที่มี Passion ที่รู้สึกว่าได้ Contribute สร้างคุณค่าบางอย่างให้ลูกค้าและสังคม นอกจากนี้ ยังเป็นหมายถึงการเก่งให้ลึก เป็น Specialist ในสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด และสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้นกว่าเดิมเสมอ


  • Vertical – โตช้าๆ แต่โตต่อเนื่อง

เส้นทางอาชีพของคนเรา อาจไม่ได้เป็นกราฟบวกเส้นทางชันขนาดนั้นเสมอไป เราอาจจะมีขึ้นๆ ลงๆ บ้างเป็นธรรมดา แต่เมื่อเขยิบออกมา ในภาพรวมขอให้เราต้องรักษาเส้นกราฟให้เป็นขาขึ้น (Upward moves) ให้ได้


  • Exploratory – ออกค้นหา

เป็นเหมือนการ ลองก่อนซื้อ (Try before you buy) ให้คุณลองก้าวออกจาก Comfort zone ไปลองทำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยยังไม่ต้องทุ่มเทแบบหมดหน้าตักขนาดนั้นก็ได้ เพราะเดี๋ยวจะเครียดหรือเกิดความเสียหายหนักเกินไป ให้เราลองแค่พื้นฐานและเรียนรู้โครงสร้างภาพรวมดูก่อนว่าเหมาะสมกับตัวเองรึเปล่า


  • Realignment – ปรับจูน

การจะเข้าใจภาพรวมได้ บางทีเราต้องเขยิบถอยออกมาซักก้าวบ้าง เพื่อสำรวจตัวเอง ทบทวน มองหาทางอื่นๆ ไม่ต่างจากรถยนต์ที่จะเร่งเครื่องทำความเร็วสูงสุด เราต้องผ่อนคันเร่งเป็นระยะๆ รถถึงจะค่อยๆ ทำความเร็วต่อเนื่องขึ้นไปได้


  • Relocation – ลงมือทำ!

ทดลองทำสิ่งใหม่ที่ไม่เคยทำ ที่ไม่เคยมั่นใจมาก่อน บางทีอาจพบกับโอกาสใหม่ที่ไม่เคยมองข้ามมาก่อน เราอาจต้องก้าวออกจาก Comfort zone ออฟฟิศเดิมที่ทำมา 10 ปี  เปลี่ยนสายไปทำอาชีพอื่น หรือตัดสินใจย้ายงานไปต่างประเทศ 

 

อย่างเช่น แทนที่จะกลัว AI ก็หาทางคุยกับมันให้รู้เรื่องไปซะเลยจนเกิดอาชีพใหม่ที่คนเริ่มทำกันในวงการเทคโนโลยีที่สหรัฐอเมริกา นั่นคือ “Prompt Engineer” ซึ่งจะทำหน้าที่ทำความเข้าใจระบบภาษาของ AI (เช่น ChatGPT) ค้นหาข้อบกพร่องและหาทางแก้ไข รวมถึงเขียนคำบรรยายเพื่อป้อนระบบให้แสดงผลลัพธ์แบบตรงจุดมากที่สุด

 

Mobility Mindset ดูจะเป็นหลักคิดที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นๆ จากคนทำงานในยุคนี้ เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกระดับและเกิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นมาพร้อมโอกาสสายอาชีพใหม่ๆ อีกเพียบที่เราคาดไม่ถึง!

 

อ้างอิง : https://www.linkedin.com/pulse/mobility-mindset-opportunity-abound-bev-kaye

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

productivity

5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productivity ใน 30 วัน

Productivity คือความสามารถในการทำงานหรือผลิตผลงานได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักวัดจากผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาหรือความพยายามที่ใช้

หัวหน้าที่ดี

วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง

นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

Presentation

Masterful Presentation : วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

1. Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย 2. หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น 3. ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน