เปลี่ยนตัวเองจากคนขี้ลังเล เป็นคนตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ด้วย 12 Tips เหล่านี้

ทุกสถานการณ์ในชีวิตไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตทั่วไปหรือการทำงาน ย่อมมีเรื่องให้เราต้องตัดสินใจอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้ตัดสินใจได้ดีที่สุด เมื่อถึงเวลาที่เราต้องเลือก

เลิกกลัวการตัดสินใจ 

เปลี่ยนตัวเองจากคนที่ขี้ลังเลให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นคงมากยิ่งขึ้นได้ไม่ยาก

 

เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะทำอะไรเราก็ต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราควรหมั่นฝึกฝนการตัดสินใจและหา Tips & Tricks ที่เหมาะกับตัวเองอยู่เสมอ

 

12 Tips ช่วยให้ทุกการตัดสินใจง่ายยิ่งขึ้น

 

อย่าคิดมากจนเกินไป

หากคิดมากมากไป อาจจะทำให้เราไม่กล้าตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้ เพราะฉะนั้นอย่าใช้เวลามากเกินไปในการได้ข้อสรุปแต่ละครั้ง

 

ดูแลตัวเองและพักผ่อนให้เพียงพอ

ยิ่งเรารู้ว่าวันนี้จะต้องใช้สมองในการคิดหรือตัดสินใจหนัก ๆ ก็ยิ่งควรที่จะต้องพักผ่อนให้พอเพื่อให้สมองปลอดโปร่ง และคิดอะไรออกได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องตัดสินใจ

 

เป็นกลางให้ได้มากที่สุด

สิ่งสำคัญในการตัดสินใจคือความเป็นกลาง ยิ่งเราเป็นคนต้องคิด ต้องสรุปการตัดสินใจ ยิ่งควรที่จะต้องเอาตัวเองออกมาจากสถานการณ์ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด

 

อย่ากลัวความผิดพลาดของตัวเอง

หากเคยมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมาก่อน อย่าไปกลัวมัน ให้เอามันมาเป็นแรงผลักดันให้การตัดสินใจครั้งหน้าดีขึ้นจะดีกว่า

 

ตรวจสอบอีกทางเลือกของตัวเอง

ก่อนจะสรุปการตัดสินใจ อย่าลืมวนกลับไปเช็กว่าทางเลือกอื่น ๆ ที่เราไม่ได้เลือกนั้นเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้รอบคอบกับการตัดสินใจมากที่สุด

 

สอบถาม Feedback จากคนอื่น

อย่าพึ่งเชื่อตัวเองมากขนาดนั้น บางทีเราอาจจะได้ข้อสรุปที่ดีกว่าหลังจากได้รับฟังความคิดเห็นจากคนอื่นก็ได้

 

คิดแง่บวกและให้คำแนะนำกับตัวเอง

เหมือนการให้คำแนะนำคนอื่น เพียงแค่เปลี่ยนมามองโลกในแง่ดี และให้คำแนะนำกับตัวเองในแง่บวก เพื่อให้การตัดสินใจออกมาเหมาะสมที่สุด

 

จัดการกับอารมณ์ให้ดี

อย่าลืมบาลานซ์การตัดสินใจระหว่างเหตุผลกับอารมณ์ให้ดี ถ้าเลือกจากการใช้เหตุผลมากไปก็อาจจะไม่ดีขนาดนั้น ในขณะเดียวกัน หากใช้อารมณ์มากเกินไปก็อาจจะทำให้ข้อสรุปคลาดเคลื่อนได้

 

ชั่งน้ำหนักผลกระทบระยะสั้นและระยะยาว

ลองนึกถาพสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากได้ข้อสรุปว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างทั้งข้อดีและข้อเสีย ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือยาว เพื่อที่จะได้ตั้งรับ และกล้าที่จะตัดสินใจในที่สุด

 

ยอมรับผลกระทบเชิงลบให้ได้

ไม่ใช่ทุกการตัดสินใจจะได้ผลกระทบที่ดีเสมอไป แต่ว่าเราต้องฝึกที่จะยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจให้ได้ด้วยเช่นกัน

 

ยึดมั่นใจความเชื่อและความคิดของตัวเอง

อย่าลังเลกับการตัดสินใจ ให้ยึดมั่นข้อสรุปโดยอิงจากความเชื่อหรือเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ

 

ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเสมอ

อย่าลืมว่าทุกการตัดสินใจควรมีข้อมูลประกอบเสมอ เพื่อที่จะทำให้ข้อสรุปออกมาแม่นยำและลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น

 

อ้างอิง: https://www.indeed.com/career-advice/career-development/how-to-make-better-decisions

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 38