Search
Search

เทรนด์ธุรกิจ E-commerce ที่มาแรงและเติบโตขึ้นทุกปี แต่จะทำยังไงเมื่อ Talent ในตลาดกลับ Shortage

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อ Covid-19 เข้ามาทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ในเมื่อทุกวันนี้เราอาจจะยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะออกไปทานข้าวนอกบ้าน ออกไปจับจ่ายใช้สอยได้อย่างเป็นปกติเหมือนเดิม จริงๆ เทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่แล้วในทุกๆ ปี

ยิ่งด้วยโควิดเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้กลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ๆ หันมาให้สั่งสินค้าผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น โดยมูลค่าตลาด E-Commerce ในปี 2020 ที่ผ่านมา มีมูลค่ากว่า 294,000 ล้านบาท เติบโตสูงขึ้นถึง 81% เมื่อเทียบกับปี 2019

เราเลยอยากพาทุกคนมาร่วมพูดคุยกับธุรกิจขาขึ้นอย่าง E-Commerce ที่ยังคงเติบโตและมาแรงท่ามกลางวิกฤต ซึ่งทางคุณไมเคิล ศิริกุล Human Resources and Corporate PMO Director จากบริษัท JD CENTRAL จะมาร่วมแชร์มุมมองด้านการบริหารคนกับเราในบทความนี้

ความท้าทายของตลาด (แรงงาน) E-commerce ในไทย

แม้ว่านักช้อปเมืองไทยจะคุ้นเคยกับการซื้อของผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์กันมาสักพักแล้ว แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรม E-commerce ยังคงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่มากๆ สำหรับประเทศไทย ทำให้คนที่มีประสบการณ์หรือคุณสมบัติในสายงานนี้มีไม่มากนักในตลาดแรงงาน สวนทางกับกระแสธุรกิจ E-commerce ที่มีความเติบโตและขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี จึงเกิดเป็นภาวะ “Talent Shortage” ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ ด้วยความที่เป็นธุรกิจ E-commerce นั้นจริงๆ ค่อนข้างมีความ challenge ที่แตกต่างจากบริษัทเทคทั่วๆ ไป ตรงที่เน้นการทำ Commercial ที่อยู่บน Digital platform กล่าวคือ จุดที่ drive business ให้โตคือเรื่องของ Commercial ส่วนเทคโนโลยีเป็นเพียง feature หรือ function ที่มา support เท่านั้น ดังนั้นคนที่มองหาจะไม่ใช่คนที่มี Tech savvy เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจในเรื่องของกลไกการทำธุรกิจด้วย 

ทำยังไงให้รุ่งในสายงาน E-commerce?

โจทย์ที่ท้าทายในยุคนี้คือ จะทำยังไงให้คนรุ่นใหม่ที่เป็น High Flyer/High Potential ถูกยกระดับสกิลด้าน Commercial จาก Conventional หรือ Offline ไปสู่โลก Online ซึ่งคุณไมเคิลแชร์ว่า สิ่งที่จะทำให้คน transform มาได้อย่างประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ

ความเร็ว (Speed) และความยืดหยุ่น (Flexibility)

เพราะในโลกของออนไลน์นั้นไม่มีขอบเขต (boundary) หรือรูปแบบ (pattern) ที่แน่ชัด การยึดติดกรอบการขายแบบ Offline เดิมๆ อาจจะไม่เวิร์คแล้วในยุคนี้ ดังนั้นการมีโครงสร้างการทำงานที่ Agile สามารถปรับเปลี่ยนได้ บวกกับคนที่มี High level of Business acumen, Learning agility และสามารถ Embrace change ได้ค่อนข้างที่จะได้เปรียบในอุตสาหกรรมนี้ 

คุณไมเคิล กล่าวเสริมว่า “เด็กรุ่นใหม่ที่เป็น Next wave generation โดยธรรมชาติพวกเขาเรียนรู้เร็วอยู่แล้ว เพราะพวกเขาเติบโตมากับสภาพแวดล้อมที่ dynamic มากๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เรียนรู้เร็วเท่านั้น ต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ทัน speed ที่อยู่รอบตัวด้วย เราสังเกตได้ว่า เด็กรุ่นใหม่เรียนรู้ได้เร็วแต่เปลี่ยนได้ช้า การเปิดรับสิ่งใหม่ไม่ใช่เรื่องอยากสำหรับพวกเขา แต่เมื่อใดที่เขาอินกับอะไรบางอย่างแล้ว พอเมื่อจะให้ปรับเปลี่ยนก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากไม่ได้ต่างกับคนรุ่นเก่า เป็นเรื่องที่ประหลาดใจอยู่เหมือนกัน”

ข้อคิดและวิธีการแก้เกมสำหรับคนที่กำลังหางานอยู่ในช่วงนี้

คุณไมเคิลได้ยกตัวอย่างสถานการณ์โดยแบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม 

กลุ่มที่ 1 คนที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน

สำหรับคนกลุ่มนี้ที่ไม่มีประสบการณ์มากก่อน เพิ่งจะเริ่มนับหนึ่งในโลกการทำงาน สิ่งแรกที่คุณจะต้องทำเลยคือ การทำการบ้านให้หนัก (Hard working on homework) ต้องรู้จักวิธีการอธิบาย How และมี Market information ในหัวนิดนึงว่า จุดที่คุณต้องการไปอยู่ตรงจุดไหน Landscape คร่าวๆ ของธุรกิจเป็นยังไง เพราะเมื่อใดที่คุณถูกเลือกในการสัมภาษณ์งาน คุณจะได้ไม่ไปแบบที่หัวว่างๆ ยิ่งมีข้อมูลในหัวที่เยอะมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งมี possibility ในการได้งานเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

กลุ่มที่ 2 คนที่มีประสบการณ์ทำงาน

สำหรับคนที่มีประสบการณ์มาแล้ว เป็นที่น่าแปลกใจมากว่า บางคนตอบคำถามในการสัมภาษณ์ด้อยมากกว่าคนจบใหม่เสียอีก บางคนมีประสบการณ์ทำงานเยอะมาก แต่พวกเขาไม่รู้ว่าจะหยิบอะไรที่ดีที่สุดที่จะทำให้เขาดูได้สร้าง Impact ในงานที่ผ่านๆ มา ช่วงหลังๆ สังเกตได้ว่าบางคนแค่พูดไปเรื่อยๆ ว่าเขาทำงานอะไรมาบ้าง แต่จุดสำคัญคือ การขาด “Why & What” วิธีในการทำ วิธีในการคิด สิ่งที่เห็น กับ สิ่งที่ทำ สิ่งเหล่านี้เราควรจะดึงออกมาเป็นจุดขายมากกว่า ว่าทำไมเราถึงทำสิ่งนี้ บริบทคืออะไร สิ่งที่เป็น insights คืออะไร และสิ่งที่เป็น learning หรือ takeaway คืออะไร 

อีกเรื่องนึง คือ คนชอบพูดเรื่องที่ success ที่สุด แต่กลายเป็นว่าสิ่งที่ success ที่สุดที่ทำนั้น พวกเขาเป็นแค่ part of it เท่านั้น ไม่ใช่เป็นคนที่ Lead project จริงๆ หรือไม่ได้เข้าใจมันลึกๆ ขนาดนั้น กลับกันถ้าเราไม่ขายสิ่งที่ดีที่สุด แต่ขาย “สิ่งที่ยากที่สุดที่เคยทำ” แล้วอธิบายให้ฟังได้ว่าสิ่งที่เจอปัญหา เราได้แก้ไขมันอย่างไร แม้แต่เรื่องที่ล้มเหลวก็ตาม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ฉลาดที่จะตอบมากกว่า เพราะคุณไมเคิลเชื่อว่า “คนเราเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากความผิดพลาด”

จริงๆ แล้วคนที่มีประสบการณ์การทำงานนั้นดูเหมือนจะได้เปรียบกว่าคนที่จบใหม่ แต่ถ้าเราไม่รู้จักวิธีการที่จะถ่ายทอด (express) ออกมา และไม่รู้ว่าจะดึงดูด (attract) ผู้สัมภาษณ์หรือนายจ้างยังไง ก็อาจจะทำให้เราเสียเปรียบในงานนั้นๆ สรุปสั้นๆ เลยก็คือในห้องสัมภาษณ์นั้นคุณจะต้องตอบให้ได้ว่า “Value” ของคุณคืออะไร แล้วอะไรคือจุดเด่น (uniqueness) ที่ทำให้คุณแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่นๆ

สำหรับใครที่สนใจอยากก้าวมาในธุรกิจ E-commerce ที่กำลังเติมโตมาแรงแซงโควิด ตอนนี้ทาง JD CENTRAL กำลังมองหาเพื่อนๆ มาร่วมงานด้วยกันอยู่นะ สามารถเข้าไปติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ https://www.facebook.com/JDCcareer  หรือส่ง Resume ภาษาอังกฤษ พร้อมแจ้งตำแหน่งงานที่สนใจ มาถึงทีม Talent Acquisition ได้เลยทาง Email: [email protected]

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

หนังสือพัฒนาองค์กร

4 หนังสือพัฒนาองค์กร จาก 4 ผู้นำระดับโลก

เรารู้ดีว่าองค์กรขับเคลื่อนด้วย “คน” แล้วสงสัยไหมว่า องค์กรชั้นนำของโลกที่มีพนักงานมหาศาล…เค้ามีวิธีการบริหารคน-บริหารองค์กรกันอย่างไร?

Feedback การทำงาน

ให้ Feedback การทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย “C-O-I-N” Model

จะทำอย่างไรเมื่อต้องให้ Feedback การทำงานกับ
เพื่อนร่วมทีม หัวหน้า หรือลูกน้อง มาลองดูกันว่ามี Model อะไรที่สามารถช่วยให้การให้ Feedback มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริงมากยิ่งขึ้น