หัวหน้าไม่ดี ลูกน้องเลยพร้อมใจกันลาออก

“ลาออกเพราะนายไม่ดี” คือหนึ่งในเหตุผลการลาออกที่พบเจอเป็นประจำของเหล่าลูกน้องที่อดทนอดกลั้นมานาน แต่สุดท้ายทนไม่ไหวจำใจต้องยื่นใบลาออก หรืออย่างน้อยที่สุดก็นำไปสู่ Quiet Quitting ขึ้น ฉุดรั้งศักยภาพของทีมโดยรวมเข้าไปอีก

สาเหตุไม่ใช่เพราะเรื่องเนื้องาน หรือเพื่อนร่วมทีม…แต่มาจากหัวหน้าผู้นำทีมต่างหาก!

 

ความน่ากระอักกระอ่วนใจคือ หัวหน้าบางคนดันไม่รู้ตัวว่าตัวเองไม่ดีพอหรือแสดงออกพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เฮลตี้จนทำให้พนักงานลาออกดีกว่า

 

เรามาดูคาแรคเตอร์อุปนิสัยของเหล่าหัวหน้าที่ไม่ดี จนลูกน้องพากันลาออกยกทีมกัน

 

ทำตัวเป็น Messenger

 

หัวหน้าหลายคนลืมว่าตัวเองสวมหมวกตำแหน่ง Manager ที่ต้องบริหารคนและดึงศักยภาพของลูกน้องออกมา แต่ดันประพฤติตัวเสมือนเป็น “Messenger “คนส่งสาร” แค่รอรับคำสั่งมาจากเบื้องบน รับคำสั่งมาจากซีอีโอหรือผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปอีกทีนึง ก่อนส่งต่อให้ลูกน้องเป็นคนลงมือทำ

 

ลักษณะที่พบเห็นคือ “โยนงาน” ให้ลูกน้อง โดย brief ผิวเผินว่า ผู้บริหารสั่งมาอีกทีนึง เราจะเห็นประโยคโต้ตอบทำนองว่า


  • “นายสั่งมาอีกทีนึง”
  • “ทำๆ ให้มันจบๆ ไป”
  • “อย่าจี้ถามให้มากเลย ก้มหน้าทำไป”

 

อุปนิสัยนี้คืออัตราเร่งชั้นดีที่ทำให้ลูกน้อลาออก เหตุเพราะพวกเขาทำงานแบบไม่มี Why ไม่รู้ว่าทำไปทำไม พอถามไปก็ถูกสวนกลับไม่ได้รับคำตอบที่สมเหตุสมผล

 

ยึดตัวเองเป็นใหญ่

 

โดยทั่วไปแล้ว หัวหน้ามักมีอายุมากกว่าลูกน้องอยู่บ้างพอสมควร และมักใช้อายุตรงนี้เองมาตีความว่า “ประสบการณ์” เยอะกว่า 

  • “อาบน้ำร้อนมาก่อน”
  • “พี่เคยผ่านจุดนั้นมาแล้ว”
  • “เอาเป็นว่า พี่รู้แล้วๆๆๆๆ” ก่อนรีบตัดบทจบ



ซึ่งในการทำงานยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยี นับว่าไม่เป็นความจริงเลย เพราะมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นทุกวัน-ทุกเดือน-ทุกปี 

 

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การมาของ ChatGPT ที่ไม่ว่าจะหัวหน้ารุ่นเก๋า หรือ ลูกน้องรุ่นใหม่ ก็ต้องเริ่มต้นเรียนรู้ใช้งานจาก 0 ไม่ต่างกันนัก และถ้าลูกน้องรู้จักเทคนิคการ Prompt ที่ปลดล็อคศักยภาพของระบบออกมาได้ ก็อาจได้คำตอบที่มีตรรกะเหตุผลได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้้หัวหน้าผู้มากประสบการณ์เลยทีเดียว 

 

หรือการที่ลูกน้องคนรุ่นใหม่ รู้จักใช้เครื่องมือ Data Tools ต่างๆ เช่น Mandala Analytics ในการทำ Social Listening จนค้นหาต้นตอคอนเทนต์ไวรัลได้สำเร็จ ซึ่งช่วยให้คิดกลยุทธ์ได้เฉียบคมพร้อมมีข้อมูลซัพพอร์ตได้ไม่แพ้ผู้บริหารรุ่นเก๋าเลยทีเดียว

 

ไม่ดี & ไม่เก่งจริง

 

ต้องยอมรับว่า คนทำงานในฐานะลูกน้องหลายคนต้องการเติบโตในเส้นทางอาชีพ อยากเก่งมากกว่านี้ อยากอัพสกิลมากกว่านี้ แต่เรียนรู้ด้วยตัวเองไม่เก่ง หลายคน “ต้องการ senior ในทีม” เช่น หัวหน้าที่ดีและเก่งจริงเพื่อช่วยสอนงาน

 

แต่ความจริงพบว่า ลูกน้องบางคนเก่งกว่าหัวหน้าซะอีก และไม่ใช่เก่งกว่าแค่เนื้องาน แต่เก่งกว่าทั้งในแง่ทักษะการบริหาร การวางแผนจัดการ ตรรกะความคิด พอเป็นเช่นนี้ คนที่อยู่เหนือเราไม่ได้เก่งกว่าจริง การลาออกเพื่อไปโตที่อื่นอย่างยั่งยืนก็กลายเป็นทางเลือกที่ดีขึ้นมา

 

ทัศนคติบางอย่าง

 

หัวหน้าไม่ดีที่ลูกน้องอยากลาออกให้จบๆ ไป มักมีชุดความคิด Mindset บางอย่างที่ชวนถกเถียงโต้แย้ง ทั้งนี้ อาจเพราะมาจากยุคสมัยเจเนอเรชั่นที่หัวหน้าเติบโตมา หรือแบคกราวด์การทำงานที่พบเจอมาส่วนตัวจน shape ให้เป็นคนมีความคิดลักษณะนี้

 

  • อย่างเช่น หัวหน้าอาจมีทัศนคติว่า “การลาออกเป็นเรื่องของพนักงานส่วนบุคคล ไม่ได้เกี่ยวกับหัวหน้า” 

 

พอมีชุดความคิดแบบนี้ กลายเป็นว่าเอาตัวเองออกจากสมการ อยู่เหนือปัญหาทั้งหลาย และโยนการลาออกให้เป็นปัญหาของตัวพนักงานรายบุคคลเอง

 

ทั้งหมดนี้คือคาแรคเตอร์เด่นชัดของเหล่าหัวหน้าไม่ดี…ที่ลูกน้องเลยพร้อมใจกันลาออก เป็นอีกประเด็นที่ซีอีโอหรือผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญ เพราะท้ายสุดแล้ว พนักงานคือคนที่ลงมือทำงานจริงๆ และองค์กรขับเคลื่อนได้ด้วยคนเหล่านี้ ถ้าคนเก่งลาออกไปกันหมด องค์กรย่อมกระทบในระยะยาวแน่นอน

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

generation
จะทำอย่างไร? หากต้อง "ทำงานกับคนต่าง Generation" ที่คิดไม่เหมือนกัน
Generation กับความคิดที่ไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไร?ความท้าทายของการทำงานร่วมกับคนที่ต่างอายุ ต่างช่วงวัย หลายครั้งไม่ใช่ความสามารถในการทำงานหรือประสบการณ์ที่มากกว่ากัน...
Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...