ต้องทำอย่างไร เมื่อลูกน้องขอลาออก

การลาออกเป็นเรื่องปกติ ใคร ๆ ก็ลาออกกันถ้าหากเริ่มรู้สึกว่างานที่ทำอยู่ไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองอยากทำแล้ว หรือว่ารู้สึกว่าสังคมในที่ทำงานไม่ใช่ที่ของตัวเอง มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนทำงานอยากลาออก ถ้ามองในมุมของหัวหน้า ก็คงไม่อยากมีใครให้ลูกน้องออกหรอก แต่แล้วเราควรจะต้องทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหานี้ได้

“การลาออก” เรื่องปกติที่ทุกบริษัทต้องเจอ ยิ่งในยุคที่ทุกคนล้วนขวนขวายหาการเติบโตอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งพนักงานหลายคนยังตัดสินใจที่จะออกจากงานได้ง่ายขึ้น หากรู้สึกว่างานไม่เข้ากับตัวเอง ก็จะเริ่มที่จะหาที่ทำงานอื่นทันที และเหตุผลการออกจากงานก็ยังมีหลากหลายอีกด้วย

 

ซึ่งในชั่วโมงนี้ที่ทุกคนสามารถสมัครงานได้ง่าย มีช่องทางการสมัครหลากหลาย และแหล่งหาความรู้ออนไลน์มากมาย โอกาสในการย้ายหรือเปลี่ยนงานก็ยิ่งทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นบริษัทหรือองค์กรหลาย ๆ ที่ ก็ย่อมมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นที่จะเสียบุคลากรคุณภาพไป หากไม่ได้รักษาเขาไว้ได้ดีมากพอ

 

และถ้าคุณต้องเป็นเจ้านาย หรือมีลูกทีมของตัวเอง ก็คงไม่มีใครอยากให้ลูกทีมลาออก ยิ่งเป็นลูกทีมที่เก่ง มีความสามารถและสามารถทำงานออกมาได้ดี เรายิ่งไม่อยากให้พวกเขาลาออกอย่างแน่นอน แต่บอกเอาไว้เลยว่า ถ้าไม่รักษาเอาไว้ให้ดี บุคคลคุณภาพเหล่านี้ก็สามารถถูกดึงตัวไปยังบริษัทอื่น ๆ ได้โดยง่าย

 

วันนี้ CareerVisa จึงอยากจะมานำเสนอวิธีที่หัวหน้าควรทำ เมื่อได้รับสัญญาณว่าลูกน้องของตัวเองอยากลาออก ลองมาดูตัวอย่างวิธีคร่าว ๆ กัน ว่าเราสามารถลองทำอย่างไรได้บ้าง

 

[5 วิธี ป้องกันไม่ให้ลูกน้องลาออก]

1) มอบโอกาสในหน้าที่การงานใหม่ ๆ : สาเหตุใหญ่ที่คนทำงานลาออกไปที่อื่น คือการได้รับโอกาสในหน้าที่การงานใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ หรือได้รับการเติบโตที่มากกว่า ด้วยเหตุผลนี้ หัวหน้าจึงควรเช็กลูกน้องอยู่เสมอว่า ลูกน้องเรามีความสุขกับการทำงานแบบไหน มีการวางแผน Career Path เอาไว้แบบไหน อยากเติบโตอย่างไร และเมื่อมีโอกาสการเติบโตในหน้าที่การงานใหม่ ๆ ในบริษัท ก็อย่าลืมที่จะเสนอหรือชักชวนลูกน้องของตัวเองให้ได้ทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ เพื่อเป็นการต่อยอดการเติบโตในบริษัทให้กับเขา

 

2) จ่ายเงินให้คุ้มค่ากับงานที่ลูกน้องทำ : ผลตอบแทนคือสิ่งสำคัญแทบจะเป็นอันดับต้น ๆ ของการเลือกงาน พนักงานหลายคนเลือกที่จะเลือกตำแหน่งหรือบริษัทที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า หรือคุ้มกับการทำงานมากกว่า เพราะฉะนั้นบริษัทควรจะต้องยุติธรรมกับการมอบผลตอบแทนหรือเงินที่ให้พนักงานคนหนึ่ง หากเรารู้ว่าพนักงานคนนี้มีความพยายามและทำงานหนัก ก็อย่าลืมมอบผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับเขา เพื่อเป็นการเคารพในความพยายามของพนักงานคนนั้น ๆ

 

3) ให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตของลูกน้อง : หมั่นคอยสังเกตลูกน้องของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะสุขภาพกายและจิต หากรู้ว่าลูกน้องมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือต้องการความช่วยเหลือด้านใดก็ตามเกี่ยวกับสุขภาพและอารมณ์ อย่ามองข้ามจุด ๆ นั้น แต่ให้มอบความช่วยเหลือให้ได้เท่าที่จะทำได้ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง และมีผลกระทบอย่างสูงในการทำงานในที่นั้น ๆ

 

4) ทำความเข้าใจลูกน้องให้ได้มากที่สุด : เจ้านายหรือหัวหน้าหลายคน มักจะไม่เข้าใจความคิดหรือมุมมองของลูกน้อง และพยายามมอบความคิดของตัวเองให้กับลูกน้องของตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้ก็จะทำให้การทำงานยิ่งยากขึ้นสำหรับลูกน้องคนนั้น ๆ สุดท้ายแล้วการที่ไม่ได้รับการเข้าใจจากหัวหน้า ก็จะทำให้ลูกน้องตัดสินใจที่จะลาออกไปหาทีมที่เข้าใจในตัวเองมากกว่านั่นเอง

 

5) มอบคำชมให้กับลูกน้อง : ไม่มีใครอยากทำงานโดยไม่ได้รับคำชมเลย ทุกคนล้วนอยากได้รับกำลังใจเพื่อที่จะได้สร้างสรรค์งานต่ออย่างมีคุณภาพและมีแรงผลักดันให้อยากทำงานมากขึ้น เพราะฉะนั้นการมอบคำชมเมื่อลูกน้องทำงานออกมาได้ดี หรือส่งมอบงานที่ตรงตามที่ต้องการ ก็คือเรื่องที่สำคัญที่หัวหน้าที่ดีควรทำเพื่อไม่ให้ลูกน้องคนหนึ่งหมดกำลังใจและลาออกไปในที่สุด

 

 

การลาออกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ถ้าเราไม่อยากเสียบุคลากรคุณภาพไปจากบริษัท อย่าลืมเรียนรู้ที่จะรักษาเขาเอาไว้ มีหลายวิธีมาก ๆ ที่เราจะสามารถสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรที่น่าอยู่ และมอบการเติบโตให้กับพนักงานได้ อย่าลืมรักษาคนที่มีความสามารถกันไว้ให้ดีนะ

 

 

อ้างอิง : https://www.jobvite.com/blog/employment-branding/how-to-prevent-your-employees-from-leaving/

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

productivity

5 คำแนะนำจากปาก Elon Musk สู่ Ultra Productivity ใน 30 วัน

Productivity คือความสามารถในการทำงานหรือผลิตผลงานได้มากขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมักวัดจากผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาหรือความพยายามที่ใช้

หัวหน้าที่ดี

วิธีง่าย ๆ สู่การเป็น “หัวหน้าที่ดี” ที่ใคร ๆ ก็รัก

ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา, ฟัง มากกว่า พูด, ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง, ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง

นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น?

Presentation

Masterful Presentation : วิธีนำเสนอ สำคัญกว่า เนื้อหาที่พูด

1. Steve Jobs หยิบ MacBook Air ออกมาจากซองจดหมาย 2. หน้าสไลด์ที่มีแค่ 3 หัวข้อเท่านั้น 3. ซูชิคำเล็กๆ ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างสวยงาม นี่คือตัวอย่างของ Masterful Presentation ศิลปะการนำเสนอขั้นเซียนที่สะกดใจผู้คน