4 ขั้นตอนจัดการความเครียดใน 7 นาที ด้วย Free Writing

เครียดอยู่เหรอ? เขียนลงไปในกระดาษดูสิด้วยเทคนิค Free Writing เพราะการเขียนช่วยให้หายได้

เทคนิค Free Writing คืออะไร?

  • เทคนิค Free Writing เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนาโดยนักเขียนหลายคน เช่น Dorothea Brande หรือ Peter Elbow ซึ่งในทีแรกเป็นเทคนิคให้นักเขียน เขียนงานออกได้โดยไม่ต้องหยุดคิดหรือกังวล แต่ในภายหลังเริ่มถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เขียนสงบใจและจัดระเบียบความคิดของตัวเองได้ด้วย

Free Writing ช่วยเรายังไง?

  • ช่วยให้ความคิดในหัวเป็นระเบียบและชัดเจนมากขึ้น ช่วยลดความกังวลและอาการตื่นตระหนกได้นั่นเอง

4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการทำ Free Writing

  1. หาสถานที่สงบๆ พร้อมกระดาษปากกา นั่งลงจับเวลา 7 นาที
  2. เขียนทุกสิ่งที่อยู่ในหัวออกมา พยายามเขียนให้ต่อเนื่องอย่าหยุด
  3. เขียนไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกังวลอะไร ถ้าคิดไม่ออก ให้เขียนว่าคิดไม่ออก
  4. สามารถเปลี่ยนเรื่องราวที่เขียนไปได้ เรื่อยๆ ตามสิ่งที่อยู่ในหัวของเรา

การเขียน Free Writing มีจังหวะให้เลือกใช้ได้หลากหลายมาก เช่น

  • ตอนที่กำลังเครียด
  • ก่อนเข้านอน
  • หลังตื่นเช้า
  • ก่อนจะพรีเซนต์งาน ฯลฯ

ยิ่งถ้าทำให้เป็นนิสัยทุกวันยิ่งดีเลย (เช่น บางคนชอบนั่งสมาธิก่อนเข้านอน) ส่วนถ้าใครมีเวลาว่างมากกว่าหรือน้อยกว่า 7 นาที ก็สามารถทำได้นะ เลือกเอาที่เหมาะสมกับตัวเองได้เลย

ช่วงเวลาไหนที่รู้สึกว่าความคิดในสมองไม่ค่อยเป็นระเบียบ มีความฟุ้งซ่าน
การทำ Free Writing ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ความคิดของเรา
กลับมาเป็นระเบียบมากขึ้นได้นะ

อ้างอิง http://peterelbow.com/about.html

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

generation
จะทำอย่างไร? หากต้อง "ทำงานกับคนต่าง Generation" ที่คิดไม่เหมือนกัน
Generation กับความคิดที่ไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไร?ความท้าทายของการทำงานร่วมกับคนที่ต่างอายุ ต่างช่วงวัย หลายครั้งไม่ใช่ความสามารถในการทำงานหรือประสบการณ์ที่มากกว่ากัน...
Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...