Search
Search

หลีกเลี่ยงการตัดสินใจผิดพลาด เพราะชอบด่วนสรุป ด้วยการรู้ทัน Conjunction Fallacy กับดักทางความคิด

Conjunction Fallacy คือ การที่มนุษย์เราชอบด่วนสรุป โดยเชื่อขัอมูลที่ละเอียดมากกว่าข้อมูลตื้นๆ จนทึกทักไปเองว่า ข้อมูลที่มีรายละเอียดมักจะเป็นจริงมากกว่าจนนำไปสู่ความเข้าใจที่บิดเบือนหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาด

Emma อายุ 32 ปี เป็นผู้หญิงฉลาด มั่นใจ พูดจาตรงไปตรงมา จบด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกาตั้งแต่เป็นนักศึกษา เธอสนใจความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาเชิงโครงสร้าง และเรียกร้องสิทธิสตรีอยู่หลายครั้ง

คำถาม: ปัจจุบัน Emma ทำงานอะไรอยู่? A และ B คุณคิดว่าข้อไหนมีโอกาสถูกมากกว่ากัน?

  • A: Emma เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
  • B: Emma เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และ เป็นแกนนำด้านสิทธิสตรี (Feminist movement)

เมื่อเรารู้ข้อมูลมาขนาดนี้ คนส่วนใหญ่มักตอบ B พร้อมติดกับดัก Conjunction Fallacy ทันที!!

ปี 1982 คุณ Daniel Kahnerman และ Amos Tversky ได้เสนอทฤษฎี Conjunction Fallacy ว่า สมองมนุษย์เราแบ่งการคิดออกเป็น 2 แบบ

1. สมองคิดช้า – ใช้เหตุผล เกิดการขบคิดวิเคราะห์ จะไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

2. สมองคิดเร็ว – ใช้อารมณ์ เกิดขึ้นอัตโนมัติ สัญชาตญาณ

สมองคิดเร็วนี่แหละ คือตัวการที่กระโดดเข้าหา Conjunction Fallacy ก่อนใครเพื่อน และติดกับดักในที่สุด จากตัวอย่าง Emma พอเราเปลี่ยนมาใช้ “ตรรกะเหตุผล” คิดวิเคราะห์ สุดท้ายจะหันมาตอบ A ซึ่งมีโอกาสถูกต้องมากกว่า

จากตัวอย่าง Emma เมื่อเราลองนั่งลง และใช้เวลาขบคิด จะพบว่าตัวเลือก A ประกอบเพียงอาชีพเดียว (อาจารย์) ขณะที่ตัวเลือก B จะต้องประกอบอาชีพมากถึง 2 บทบาทในเวลาเดียวกัน (อาจารย์ + แกนนำ) ตามหลักการ จำนวนคนที่เป็น A น่าจะมากกว่า B โอกาสที่จะเกิด A จึงมากกว่า B ตามไปด้วยนั่นเองถ้า B ถูก…ยังไง A ก็ต้องถูกตามด้วยแต่ถ้า A ถูก…B อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ไม่มีใครรู้

แต่การตัดสินใจหลายครั้งของมนุษย์ในทุกเรื่อง ทั้งการลงทุนในหุ้น การเลือกอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ การออกกำลังกาย การตัดสินใจต่างๆ ที่นำไปสู่ความสุขล้วนแต่ถูกอิทธิพลของข้อมูล ณ เวลานั้นมาโน้มน้าวให้เราคล้อยตาม กระตุ้นสมองคิดเร็วให้ทำงานและเข้าครอบงำสมองคิดช้า จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือ อาจเรียกว่าเรา “ด่วนสรุป” ไปก่อนเอง และใช้ “อารมณ์” อยู่เหนือเหตุผลนั่นเอง

Conjunction Fallacy เกิดขึ้นรอบตัวเราทุกวัน และผู้นำองค์กรหลายคนก็มักเผลอพลั้งตกหลุมพรางอยู่บ่อยๆ

  • การพิจารณาลงทุนในหุ้น เมื่องบการเงินบริษัทในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเป็นบวก พร้อมกับผู้บริหารออกมาประกาศวิสัยทัศน์ชัดเจน อาจทำเราคล้อยตามเกิดสนใจในหุ้นบริษัท ณ เวลานั้น จนไม่ได้วิเคราะห์ผลประกอบการบริษัทย้อนหลังหลายปี หรือ มองข้ามปัจจัยอื่นนอกเหนือจากตัวเลขคุณ

Daniel Kahnerman ยังเสริมด้วยว่า คนเรามักหลงกลไปกับเรื่องเล่าที่รื่นหู หรือ Harmonious Story ที่ปะติดปะต่อกันได้อย่างไหลลื่น แถมฟังดูมีเหตุมีผล หรือพูดง่ายๆ ว่าคนเรามักถูกจริตชอบเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความรู้สึกมากกว่าข้อมูล จนบางครั้งมองข้ามตรรกะเหตุผลในเชิงสถิติไปเลย

หากคุณได้ฟังเรื่องราวหรือโฆษณาเชิญชวนต่างๆ ที่ใส่ข้อมูลละเอียดยิบเพิ่มเข้ามาโน้มน้าวจิตใจ ขอให้ระวังไว้ ดึงสติตัวเองให้กลับมาใช้ “สมองคิดช้า” ขบคิดวิเคราะห์ ก่อนตัดสินใจ

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

หนังสือพัฒนาองค์กร

4 หนังสือพัฒนาองค์กร จาก 4 ผู้นำระดับโลก

เรารู้ดีว่าองค์กรขับเคลื่อนด้วย “คน” แล้วสงสัยไหมว่า องค์กรชั้นนำของโลกที่มีพนักงานมหาศาล…เค้ามีวิธีการบริหารคน-บริหารองค์กรกันอย่างไร?

Feedback การทำงาน

ให้ Feedback การทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย “C-O-I-N” Model

จะทำอย่างไรเมื่อต้องให้ Feedback การทำงานกับ
เพื่อนร่วมทีม หัวหน้า หรือลูกน้อง มาลองดูกันว่ามี Model อะไรที่สามารถช่วยให้การให้ Feedback มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริงมากยิ่งขึ้น