Baby Boomer (เกิดปี 1946-1964, ปัจจุบันอายุ 59-77 ปี)
- สไตล์การเรียนรู้ – Baby Boomer จำเป็นต้องมี “ผู้สอน” ตัวเป็นๆ และจะดีมากๆ ถ้าสอนแบบตัวต่อตัว เจอหน้าตัวเป็นๆ ไม่ใช่ออนไลน์ผ่านจอคอม นอกจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดแล้ว ยังรู้สึกเป็นการให้เกียรติได้รับความสำคัญ
- ขั้นตอนการเรียน – ชอบเทรนแบบ “ผ่อนคลาย” ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบเร่ง ไม่ต้องมีแต่เนื้อๆ แต่มีไขมันแทรกได้ พูดคุยเล่นกับผู้สอนกันได้
- คติการ Training – “ถ้าเยอะไปก็ขอบาย”
- เนื้อหาความต้องการ – ข้อมูลแบบ Fact-based มีการทดลองจนพบข้อเท็จจริง มีอ้างอิงงานวิจัยและเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง เช่น ถ้าเป็นการตีพิมพ์วารสารทางการแพทย์ ก็มีต้องเป็นแบบ peer-reviewed
- สภาพแวดล้อม – แบบห้องเรียน Classroom ผู้สอนอยู่หน้าชั้น มีกระดานจด ตัวเองนั่งเรียนลงตรงหน้า ซึ่งเป็นบรรยากาศการเรียนแบบที่ Baby Boomer เติบโตมา
- ความคาดหวัง – ตามทันยุคสมัยให้ทัน เช่นเรื่อง AI จะได้คุยกับคนเจนอื่นรู้เรื่อง และเพื่อนำไป assign ให้ลูกน้องต่ออีกที
Gen X (เกิดปี 1965-1980, ปัจจุบันอายุ 43-58 ปี)
- สไตล์การเรียนรู้ – Gen X ชอบ “ความอิสระ” ในการเทรนมากกว่า มีพื้นที่พักให้ได้คิดวิเคราะห์ มีความยืดหยุ่นมากพอ กดดันแต่พอเหมาะได้ แต่ต้องไม่เยอะจนเกินไป
- ขั้นตอนการเรียน – ชื่นชอบความ “ต่อเนื่อง” แบบ seamless experience มองว่าการฝึกฝนสกิลใหม่ๆ ต้องทำอย่างต่อเนื่องมากพอ จนกลายเป็น habit อุปนิสัยติดตัว Gen X จะทุ่มเทเวลากับการเทรนสูงมากเพราะเข้าใจดีว่าเป็นเรื่องที่ใช้เวลา
- คติการ Training – “ขอแต่เนื้อๆ ข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น”
- เนื้อหาความต้องการ – มองหา Case Studies รอบด้านไม่ว่าจะคู่แข่งทางโดยหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ Gen X จะถูกจริตกับความ pratical ที่นำไปใช้ได้จริง ใช้ทฤษฎีแค่พื้นฐาน แต่ไม่ยึดติดจนเกินไป แต่มองหาแนวทาง apply มากกว่า
- สภาพแวดล้อม – แบบโต๊ะกลม Roundtable ดูไม่เป็นทางการจนเกินไป สามารถเทรนนิ่งไปด้วยพร้อมทานอาหารไปด้วยได้ รับฟังความเห็นของทุกคนได้และรู้สึกถึงความเท่าเทียม
- ความคาดหวัง – เป็นการ reskill-upskill-unlearn ไปพร้อมกัน เพื่อนำมาใช้โดยตรงกับตัวเอง พร้อมกับเพิ่มภาวะความเป็นผู้นำ
Gen Y (เกิดปี 1981-1996, ปัจจุบันอายุ 27-42 ปี)
- สไตล์การเรียนรู้ – Gen Y ชอบ “การมีส่วนร่วม” เป็นที่สุด ชอบความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของร่วม คุ้นเคยกับการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ ป่าวประกาศความคิดเห็นของตัวเองให้ผู้อื่นได้ยิน
- ขั้นตอนการเรียน – เป็นแบบ Two-Way Communication สื่อสารแบบโต้ตอบกลับไปกลับมา เป็นลักษณะการดีเบต โอบกอดเหตุผลที่เห็นด้วย-โต้แย้งเรื่องที่มีช่องโหว่ ไม่ได้มองว่ามีแค่ ผู้ให้ข้อมูล-ผู้รับข้อมูล แต่ทั้งคู่สามารถสวมหมวกทั้งสองใบได้ในเวลาเดียวกัน
- คติการ Training – “มองหาจุดเชื่อมโยงกับทุกสิ่ง”
- เนื้อหาความต้องการ – เน้น Storytelling เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงโดยตรง เพราะได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางอารมณ์ที่มากกว่าแค่ตรรกะเหตุผล ไม่ยึดติดกับทฤษฎี และชอบมองผลกระทบรอบด้านที่เกิดขึ้น
- สภาพแวดล้อม – สไตล์เหมือนนั่งอยู่ในร้าน Cafe เก๋ๆ เท่ๆ น่ารักๆ แบบไม่เป็นทางการ เพราะเป็นบรรยากาศที่คุ้นเคยเติบโตมา สามารถนั่งจิบกาแฟไปและเทรนนิ่งไปได้ด้วยในตัว
- ความคาดหวัง – นำมาพัฒนาศักยภาพตัวเองรอบด้าน ปูทางสู่การเป็นหัวหน้างานหรือผู้บริหารระดับสูง
Gen Z (เกิดปี 1997-2012, ปัจจุบันอายุ 11-26 ปี)
- สไตล์การเรียนรู้ – Gen Z ไร้พรมแดน ขอแค่มี “Internet” ก็เข้าถึงข้อมูลทุกอย่างได้แล้ว การเทรนนิ่งเลยไม่จำเป็นต้องเจอตัวเป็นๆ เสมอไป แต่ทำผ่านออนไลน์ได้อย่างสะดวกใจ
- ขั้นตอนการเรียน – ยึดที่ตัว “ผู้เรียน” เป็นศูนย์กลาง เช่น ตัวอย่างเนื้อหาต้องถูกปรับแต่งให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์หรือชุดความคิดของ Gen Z มาระดับหนึ่ง
- คติการ Training – “มองหาอะไรสนุกๆ ตื่นเต้น ท้าทาย น่ามันส์!”
- เนื้อหาความต้องการ – เนื้อหาที่ไม่ได้มองมุมเดียวแค่เรื่องธุรกิจ แต่ใส่ใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน จรรยาบรรณวิชาชีพ หรือหลักสากลอื่นๆ รวมถึงมองหาเนื้อหาใหม่ๆ ที่เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของโลกในศตวรรษที่ 21
- สภาพแวดล้อม – สไตล์ Living Room เหมือนนั่งโซฟาอยู่บ้านสบายๆ แต่งตัวง่ายๆ ทุกอย่างไม่ควรเป็นทางการ มีมุมเครื่องดื่มและของทานเล่นให้ได้พักผ่อนไปในตัว
- ความคาดหวัง – เร่งพัฒนาสกิลตัวเองให้ได้เร็วที่สุดเพราะการแข่งขันสูงรอบด้าน Training แต่ละอย่างที่ได้มา ต้องทำให้ตัวเองมีแต้มต่อเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่ง
การออกแบบเทรนนิ่งแบบ Tailor-Made Training ที่ปรับจูนให้เข้ากันกับพนักงานแต่ละวัย นอกจากจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแบบปกติแล้ว ยังแสดงออกถึงความประณีต แคร์ความต้องการ และการใส่ใจความสุขของพนักงานผู้เข้ารับการเทรนเป็นสูงสุด!
อ้างอิง