HR ดูแลคนอื่น…แล้วใครดูแล HR?!!

หนึ่งใน Pain point ทางด้านสภาพจิตใจของคนเป็น HR คือ ความรู้สึกถูกโดดเดี่ยว-ถูกกระทำ-ถูกทอดทิ้ง ในบางครั้ง

กล่าวคือ จากการที่ตัวเองมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักในการหากลยุทธ์เทคแคร์คนอื่นในทีม เมื่อมีเรื่องทุกข์ร้อนใจ คนในทีมก็มักมานั่งระบายปรึกษาด้วย ซึ่ง HR ต้องรับเรื่องทุกข์ร้อนต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง และเมื่อพนักงานคนนั้นสบายใจแล้วก็กลับไปทำงานต่อ หรือกรณีถ้านโยบายที่เกิดจากความคิดของ HR ออกมาไม่เวิร์ค HR ก็มักเป็นคนแรกๆ ที่ถูกชี้นิ้วใส่

 

HR ทำหน้าที่อยู่ตรงกลาง แต่เจอสภาพ…ข้างบนก็กด-ข้างล่างก็ดัน แต่สุดท้ายแล้ว HR ก็เป็นคน…ที่ต้องการการเทคแคร์ใส่ใจ การยอมรับจากเพื่อนร่วมทีม ไม่ต่างจากคนอื่นที่ HR ดูแลนั่นแหล่ะ

 

คำถามคือ “HR ดูแลคนอื่น…แล้วใครล่ะดูแล HR?”

 

อันดับแรก HR ต้องมี Self-Care ที่สตรองให้ได้ก่อน ต้องทำความเข้าใจสถานะตัวเองก่อนว่า การจะไปดูแลคนอื่นได้ เราต้องดูแลตัวเองให้ได้ก่อน! เปรียบเปรยเหมือนกรณีฉุกเฉินบนเครื่องบิน ที่มีประกาศแจ้งว่า ให้คุณสวมหน้ากากออกซิเจนให้ตัวเองก่อน…ถึงค่อยไปสวมให้ผู้อื่นได้!



จากนั้น HR ควรมองว่า วิสัยทัศน์ที่ดีหรือผลงานของตัวเองที่มีประสิทธิภาพ จะย้อนกลับมาทำให้ HR ทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้นตามไปด้วย! เช่น เรียกร้องให้องค์กรเปลี่ยนมาใช้ ระบบติดตามผู้สมัคร (Applicant Tracking System – ATS) ได้สำเร็จ ซึ่งช่วยในขั้นตอนหาพนักงาน ลด pipeline การทำงานที่ซ้ำซ้อนและเสียเวลา เรียกว่าเพิ่มโอกาสการเจอพนักงานที่ใช่ได้มาก

 

HR ควรออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงานที่ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายแบบ “วิน-วิน” ทั้งคู่ ทั้งฝั่ง HR และฝั่งทีม เช่น HR นำศาสตร์ Biophilic Design ที่นิยมทำกันในออฟฟิศสมัยใหม่ที่สิงคโปร์ มาประยุกต์ใช้ในออฟฟิศเมืองไทย ที่ระบุจำนวนพื้นที่สีเขียวหรือจุดที่มองเห็นสีเขียวของต้นไม้ธรรมชาติ ซึ่งผลวิจัยบอกว่าช่วยเพิ่ม Productivity 8% และ Well-being ของพนักงาน 13% นอกจากช่วยให้สมาชิกทีมทำงานได้ดีขึ้นแล้ว ตัว HR ยังมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ตามไปด้วย

 

นอกจากนี้ ทีมเองก็ต้องช่วยกันด้วย หัวหน้าทีมควรสร้างวัฒนธรรมการเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุข ความรู้สึกเป็น Owner ร่วมกัน ถ้าเกิดคนอื่นมีปัญหาการทำงาน แม้เราไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง ก็ควรยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออย่างเต็มใจ คัลเจอร์นี้จะทำให้ทุกคนรู้สึกว่าไม่มีใครถูกทอดทิ้ง พร้อมมีคนช่วยอยู่ห่างๆ ทำงานอย่างมีความสุขและอยู่กับองค์กรนานขึ้น

 

เรื่องที่จะมองข้ามไม่ได้เลยคือการ “บริหารความคาดหวัง” กับเพื่อนร่วมทีม เปิดอกคุยกันตรงไปตรงมาเลยว่า เรื่องไหนคือขั้นต่ำที่คุณเทคแคร์ให้ได้ และเรื่องไหนมีเพดานที่คุณจะไปต่อไม่ได้แล้ว

 

แปลกแต่จริง เมื่อเรามีความหวังที่สมเหตุสมผลและแฟร์กับทุกฝ่าย ความสุขเล็กๆ ก็มักเกิดขึ้นตามมาเอง..

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง