How to ทำงานกับ “ลูกน้องที่ไม่ชอบ” แบบมือโปร

ในมุมลูกน้อง…ถ้าเจอหัวหน้าดี ก็ทำงานแฮปปี้ ในมุมหัวหน้า…ถ้าเจอลูกน้องดี ก็ทำงานแฮปปี้ไม่แพ้กัน

ในฐานะหัวหน้าแบบเราๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ลูกน้องในทีม” มีผลต่อความสุขในการมาทำงานและการเติบโตไปพร้อมกันในฐานะทีม

 

แต่การที่ 2 คนนี้จะมา match ตรงกันเป๊ะๆ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาก เพราะในชีวิตจริงย่อมเกิด conflict กระทบกระทั่งกันอยู่แล้ว เพราะคนเรามาจากแบคกราวด์ต่างกัน ไม่มีทางที่เราจะคิดเหมือนกัน ไม่มีทางที่จะโอเคกับเราทุกเรื่องหรอก และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของลูกน้องที่เราอาจจะรู้สึก “ไม่ถูกจริต” 

 

นอกจากจัดการเรื่องงานแล้ว เป็นหน้าที่ของหัวหน้าแบบเราๆ ที่ต้องจัดการความสัมพันธ์กับลูกน้องแบบมืออาชีพด้วย!

 

ให้ มากกว่า รับ

ขึ้นชื่อว่าหัวหน้า ตำแหน่งนี้มาพร้อมความเป็นผู้นำ เป็นฝ่ายรุก ฝ่ายเปิดในแก้ conflict ความไม่ลงรอยกันกับลูกน้อง

 

เรื่องนี้เริ่มได้ที่ตัวเรา หัวหน้าต้องเป็นคนที่ยื่นหน้า “รับผิด” เมื่อเกิดปัญหาขึ้น แสดงให้เห็นว่าตัวเองคือผู้นำที่พร้อมปกป้องลูกน้อง

 

ขณะเดียวกัน เมื่อเกิดความสำเร็จร่วมกัน หัวหน้าก็ต้องนำเอา “รับชอบ” ไปแบ่งให้ลูกน้องด้วย! วิธีนี้ถึงจะซื้อใจลูกทีมในระยะยาวได้ต่างหาก

 

คุยแบบเปิดอก

 

Conflict หลายอย่างแก้ได้ด้วยการพูดคุยกันก่อนที่มันจะบานปลาย หัวหน้าต้องมีสกิล Deep listening เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ด่วนตัดสิน ทำยังไงก็ได้ให้ลูกน้องรู้สึกว่าคุณคือพื้นที่ปลอดภัยที่แชร์อะไรให้ได้

 

ให้หัวหน้าลองเปิดการทำ Deep conversation คุยกันแบบเปิดอกแบบลุ่มลึก ที่ถ้าเป็นไปได้ อาจไม่ได้จำกัดแค่เรื่องงาน แต่ครอบคลุมเรื่องส่วนตัวบางเรื่องด้วยที่สร้างแดมเมจ

 

ผลวิจัยเผยว่า การที่คนเราจะ Trust ไว้วางใจกันได้นั้น มักเกิดจากการผ่าน deep conversation มาก่อนบ้างแล้ว เปิดใจกัน รู้ใจกัน รู้ไส้ในกัน

 

มี Empathy เข้าไว้ 

 

หัวหน้าต้องเก่งคนไม่แพ้เก่งงาน แต่การจะเก่งเรื่องคนได้ต้องมีสกิล Empathy หรือความเห็นอกเห็นใจ

 

ลูกน้องไม่ชอบ? บางทีไม่ใช่เพราะลูกน้องไม่ใช่คนไม่ดีหรือทำงานแย่ คุณอาจแค่ไม่ชอบบุคลิก สไตล์การพูดจาบางอย่างของเขา หรือแม้แต่เขาแค่มีคาแรคเตอร์ไม่ตรงตามที่ใจคุณหวังก็เท่านั้นเองรึเปล่า?

 

ให้ลองคิดว่าถ้าคุณต้องเป็นลูกน้องคนนั้นล่ะ…คุณจะรู้สึกหรือประพฤติตัวยังไง?

 

ลองเอาใจเขามาใส่ใจเราดู บางทีลูกน้องคนนี้มีปัญหาครอบครัวที่กระทบการทำงานรึเปล่า? งานหนักเกินไปแบบไม่แฟร์รึเปล่า?  หรือได้รับผลตอบแทนไม่เป็นธรรมรึเปล่า?

 

หัวหน้าที่มี Empathy เท่านั้นถึงจะรู้เรื่องนี้ ก่อนลงมือหา Solutions ให้

 

อย่า Micro Management

 

หัวหน้ามีบทบาทออกคำสั่งและ assign งานก็จริง แต่บางเคสที่คุณรู้สึกไม่ชอบลูกน้อง (และลูกน้องก็ไม่ชอบคุณ) อาจมีสาเหตุจากตัวหัวหน้าเองรึเปล่า? ที่มักเผลอไป Micro manage จุกจิก

 

หัวหน้าควรมองแค่ภาพกว้าง วางวิสัยทัศน์ คอยซัพพพอร์ตอยู่ห่างๆ แต่ต้องไม่ลงลึก จ้ำจี้จุกจิกให้ทำตาม 1-2-3-4 ไปซะทุกเรื่อง เพราะนอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้เกิดบรรยากาศ Toxic ในที่ทำงานด้วย 

 

ต้องฟาดซะบ้าง

 

สำหรับลูกน้องที่มีปัญหา ถ้าคุณพยายามทำดี พยายามปลุกปั้นสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรไปหมดแล้ว แต่ลูกน้องคนนี้ยังไม่มีท่าทีเปลี่ยนพฤติกรรม บางทีอาจถึงเวลาที่คุณต้อง exercise power ออกคำสั่งแบบเด็ดขาด หรือมีบทลงโทษที่เข้มงวด แต่ก็ต้องเป็นไปอย่าง make sense มีความชอบธรรม มีเหตุผลรองรับ 

 

เพราะบางทีการที่คนเราถูกลงโทษไปดอกนึงแบบจุกๆ ก็เป็นบทเรียนที่ชวนกลับตัวกลับใจได้เช่นกัน

 

ไปขอคำแนะนำจากลูกน้อง

 

เทคนิคนี้เผยว่า ตัวหัวหน้าเองไม่มีอีโก้ในการไปขอคำแนะนำ และเป็นการสร้างความรู้สึก Open-minded ไปในตัวให้ลูกน้องเห็น

 

นอกจากนี้ในทางจิตวิทยา เมื่อคนเราให้คำแนะนำ เมื่อลูกน้องให้คำแนะนำหัวหน้า ลูกน้องจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า voice ของตัวเองถูกได้ยินถูกมองเห็น และจะเยี่ยมไปมากกว่านี้ ถ้าหัวหน้านำคำแนะนำของลูกน้องไปต่อยอดเป็นไอเดียเจ๋งๆ และให้ credit กลางที่ประชุมต่อหน้าคนอื่นในทีม เชื่อเลยว่าจากคนที่ไม่ชอบหน้า อาจเปลี่ยนมาเป็นพันธมิตรที่ดีที่สุดเลยก็ได้!

 

การบริหารความสัมพันธ์ในทีม โดยเฉพาะลูกน้องที่ไม่ถูกจริตกัน เป็น Art & Science ที่ถ้าหัวหน้าแบบคุณทำได้ล่ะก็ ทั้งทีมก็คงโตระเบิด และที่แน่ๆ ทุกคนมาทำงานแบบแฮปปี้ 

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ดูยังไงว่าคนสัมภาษณ์งานกำลังพูดไม่จริง

ผลวิจัยเผยว่า คนเรา “โกหก” ซึ่งๆ หน้าเวลาสัมภาษณ์งานมากกว่าที่คิด เพื่อปกปิดเรื่องที่ไม่อยากให้รู้ หรือให้รู้แค่บางส่วนเท่าที่อยากให้รู้พอ หลายคนทำไปเพราะสถานการณ์บังคับ คือพื้นฐานเป็นคนดีมีจรรยาบรรณ แต่จังหวะสำคัญนี้ก็ต้องขอซักหน่อย เพราะใครๆ ก็อยากได้งาน

คนแบบไหนที่ไม่น่าอยู่ในอำนาจได้นาน 

การไต่เต้าขึ้นมาเป็นหัวหน้ามีอำนาจในมือ vs. การรักษาตำแหน่งหัวหน้าและอำนาจในมือ เป็น 2 สิ่งที่ดูเผินๆ เหมือนกัน แต่ถ้าดูลึกๆ จะพบว่าต่างกันสิ้นเชิง