สวัสดิการพนักงาน ปี 2025 : อัปเดตเทรนด์และไอเดียที่คนทำงานต้องการ

สวัสดิการพนักงาน

สวัสดิการพนักงาน คืออะไร ?

“สวัสดิการพนักงาน” หรือผลประโยชน์เพิ่มเติมที่พนักงานได้รับจากบริษัทนอกเหนือจากเงินเดือน ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ ค่าทำฟัน ค่ารักษาพยาบาล วันลาหลากหลายรูปแบบ ไปจนถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ทางบริษัทจัดเอาไว้ให้กับพนักงาน 

ซึ่งสวัสดิการเหล่านี้มีเอาไว้เพื่อดึงดูดพนักงานใหม่ๆ ให้มาสมัครทำงานกับทางบริษัท และมีเอาไว้เพื่อรักษาพนักงานที่ทำงานให้กับบริษัท ให้มีความสุขในการทำงานและอยากอยู่กับทางบริษัทไปนานๆ นอกเหนือจากนี้ยังสามารถสร้างประสิทธิภาพในการทำงานและหากสวัสดิการที่มีให้พนักงานนั้นค่อนข้างโดนใจคนส่วนใหญ่ ก็จะถือว่าเป็นภาพลักษณ์ที่ดีให้กับทางบริษัทอีกด้วย

ความสำคัญของ “สวัสดิการพนักงาน” ที่ดี

“ในมุมของพนักงาน” สวัสดิการถือว่าเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่จะช่วยให้พนักงานมีความสุขมากยิ่งขึ้นในการทำงาน อีกทั้งยังสามารถลดความเครียดและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

และ “ในมุมของบริษัท” สวัสดิการช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับพนักงานให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

สวัสดิการทั่วไปที่พนักงานควรได้รับ

  1. สวัสดิการสนับสนุนสุขภาพ ตัวอย่างเช่น ประกันสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาล และโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น
  2. สวัสดิการสนับสนุนการเงิน ตัวอย่างเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินสนับสนุนค่าครองชีพ เป็นต้น
  3. สวัสดิการสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น คอร์สเรียน และโปรแกรมอบรม เป็นต้น
  4. สวัสดิการด้านการบริหารเวลาและชีวิต ตัวอย่างเช่น วันลาพักร้อน และวันลาป่วย เป็นต้น

ผลสำรวจเกี่ยวกับความสำคัญของ สวัสดิการพนักงาน

  • จากผลสำรวจของ MetLife Employee Benefits Trends Study 2023 พบว่า 72% ของพนักงานระบุว่าสวัสดิการเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน
  • 85% ของพนักงาน ต้องการสวัสดิการที่ช่วยสนับสนุนสุขภาพจิต เช่น วันลาพักร้อนเพิ่มเติม และบริการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา

ผลลัพธ์จากการให้ Flexible Working

  • การศึกษาจาก Harvard Business Review ระบุว่า บริษัทที่มี Flexible Working เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ถึง 13% และลดการลาออกของพนักงานลงถึง 25%
  • ในงานวิจัยของ Gallup พบว่า 54% ของพนักงาน Gen Z ให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance และต้องการ Flexible Working มากที่สุด

ข้อมูลจาก Glassdoor เกี่ยวกับความสุขในที่ทำงาน

  • บริษัทที่ให้สวัสดิการที่ครอบคลุม (Comprehensive Benefits) จะมีคะแนนความพึงพอใจในงานเฉลี่ย 4.5/5 เทียบกับ 3.8 สำหรับบริษัทที่มีสวัสดิการพื้นฐานเท่านั้น
  • 88% ของพนักงานกล่าวว่า สวัสดิการช่วยให้รู้สึกผูกพันกับองค์กร และพร้อมแนะนำองค์กรให้กับคนรู้จัก

สวัสดิการพนักงาน ที่น่าสนใจที่คนรุ่นใหม่ต้องชอบ

สวัสดิการบริษัท ไม่ใช่เรื่องตายตัว และสามารถปรับลดหรือเพิ่มได้ตามยุคสมัยและเทรนด์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งในปี 2025 สิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการมากที่สุดคือการเน้นความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยสวัสดิการบริษัทควรที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลากหลายได้

ตัวอย่าง สวัสดิการพนักงาน” ยอดนิยมประจำปี 2025

1) การให้ความยืดหยุ่นในการทำงาน

– การทำงานระยะไกล (Remote Working) : สวัสดิการที่หลากหลายบริษัทมีมากขึ้นเพื่อให้อิสระพนักงานในการทำงานจากทางไกล และไม่จำเป็นต้องเข้าบริษัททุกวันเหมือนที่เคยเป็น

– การทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Working) : เป็นการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการเลือกเวลาทำงานที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยสามารถเลือกที่จะเข้าออฟฟิศช้าหรือเร็วก็ได้ตามเวลาที่ตัวเองสะดวก เพียงแต่ผลลัพธ์ของงานยังต้องออกมาอย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม

– การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) : รูปแบบการทำงานยอดฮิตในหลายบริษัทในไทย เป็นวิธีการผสมการทำงานในออฟฟิศกับการทำงานนอกสถานที่เข้าด้วยกัน โดยพนักงานสามารถจัดสรรเวลาการทำงานได้ด้วยตัวเอง

2) การดูแลสุขภาพเพิ่มเติมจากเดิม

– ประกันสุขภาพที่ครอบคลุมกว่าเดิม : ไม่ใช่แค่สุขภาพกาย แต่ต้องครอบคลุมเรื่องการตรวจสุขภาพจิตมากขึ้นอีกด้วย

– โปรแกรมเพิ่มเติมสงเสริมสุขภาพ : ไม่ใช่แค่ประกันสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพ แต่ถ้าหากบริษัทมีสวัสดิการเพิ่มเติมอย่างเช่น ฟิตเนสฟรี คลายโยคะ ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกมีความสุขในการทำงานและเข้ากับความต้องการในชีวิตส่วนตัวมากยิ่งขึ้น

– วันลาเพื่อสุขภาพจิต : เพราะสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นบริษัทควรคำนึงถึงสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้นและให้โอกาสพนักงานได้ลาพักใจในวันที่รู้สึกว่าสุขภาพจิตของตัวเองไม่ดี

3) การพัฒนาตัวเองเพิ่มเติม

– สวัสดิการวางแผนการเติบโตในสายอาชีพ: ช่วยวางแผนการเติบโตให้กับพนักงาน โดยการช่วยคิดแผนพัฒนาตัวเองตามสายงานหรือสายอาชีพที่พนักงานสนใจ

ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเพิ่มเติม : ไม่ว่าจะเป็นการให้คอร์สเรียนฟรีกับพนักงาน ไปจนถึงสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อหรือศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะในการทำงาน

4) สวัสดิการตามรูปแบบไลฟ์สไตล์พนักงาน

สวัสดิการสำหรับพ่อแม่ : ตัวอย่างเช่น วันลาในการคลอดบุตร ไปจนถึงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในเรื่องของการเลี้ยงลูกเป็นต้น

สวัสดิการเอื้ออำนวยการมีสัตว์เลี้ยง : มีหลายบริษัทที่ปรับรูปแบบเป็น Pet-friendly ออฟฟิศ และให้โอกาสพนักงานในการนำสัตว์เลี้ยงมาทำงาน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่แตกต่าง และสร้างความสุขในการทำงานมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมสันทนาการ : เป็นกิจกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อทำให้ความสัมพันธ์ของพนักงานซึ่งกันและกันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสร้างความสุขในการทำงานและทำให้ภาพลักษณ์บริษัทดีขึ้นอีกด้วย

5) สวัสดิการทางด้านการเงิน

โปรแกรมวางแผนการเงิน : เพราะคนรุ่นใหม่ใส่ใจด้านการวางแผนการเงินและการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น หากบริษัทมีตัวช่วยเหลือหรือสวัสดิการดีๆ ก็จะน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

สวัสดิการบำนาญ : เป็นการยืนยันถึงความมั่นคงในระยะยาวให้กับพนักงาน และเป็นการช่วยวางแผนเกษียณทำให้พนักงานไม่เดือดร้อนทางด้านการเงินหลังจากเกษียณจากงาน

กรณีศึกษาของบริษัทระดับโลก

Google: ผู้นำด้านสวัสดิการเพื่อพนักงาน

Google เป็นตัวอย่างบริษัทที่ให้ความสำคัญกับสวัสดิการพนักงานอย่างมาก โดยมีบริการครบวงจร เช่น

  • อาหารฟรี สำหรับพนักงานทุกมื้อ
  • พื้นที่ออกกำลังกายและกิจกรรมพักผ่อน เช่น โยคะ ห้องออกกำลังกาย และบริการนวด
  • สวัสดิการครอบครัว เช่น การสนับสนุนการลาคลอดและเลี้ยงดูบุตร รวมถึงเงินช่วยเหลือหากสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิต
  • การเรียนรู้และพัฒนา Google สนับสนุนให้พนักงานเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น การเข้าร่วมเวิร์กช็อปและทุนการศึกษา

ผลลัพธ์ที่ได้คือ Google ติดอันดับ “บริษัทที่พนักงานอยากทำงานด้วยมากที่สุด” จาก Glassdoor หลายปีติดต่อกัน

Salesforce: สร้างสุขภาพจิตและสมดุลชีวิตการทำงาน

Salesforce นำเสนอโปรแกรม “Wellness Reimbursement Program” ที่ให้พนักงานเบิกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้ เช่น ค่าใช้จ่ายฟิตเนส โยคะ หรือแม้แต่ค่าปรึกษานักจิตวิทยา

  • นอกจากนี้ Salesforce ยังมีโปรแกรม “Volunteer Time Off (VTO)” ที่ให้พนักงานลางานไปทำกิจกรรมอาสาสมัครโดยยังได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน

พนักงานของ Salesforce รายงานว่ารู้สึกพึงพอใจในงานและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

Unilever: ความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดี

Unilever มีโปรแกรม “Agile Working Policy” ซึ่งเปิดโอกาสให้พนักงานเลือกทำงานแบบ Remote หรือ Flexible Work ได้

  • มีการตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมทั้งให้ความรู้ด้านการพัฒนาสุขภาพจิตและร่างกาย
  • นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนการวางแผนการเงินระยะยาวสำหรับพนักงานเพื่อสร้างความมั่นคง

อย่างไรก็ตามความต้องการด้านสวัสดิการของบริษัทของพนักงานแต่ละคนค่างข้างหลากหลายและแตกต่างกัน บริษัทจึงควรจะทำความเข้าใจความต้องการของพนักงาน และหาตรงกลางในการให้สวัสดิการที่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน

สวัสดิการที่ดีไม่ใช่แค่การให้เงินเดือนสูง แต่เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อการเติบโตและพัฒนาของพนักงานทุกคน ทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมกับองค์กรและอยากทำงานอยู่ด้วยในระยะยาว

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...